ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อัตถิภาวนิยม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tmd (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''อัตถิภาวนิยม''' ('''Existentialism''') คือแนวคิดทาง[[ปรัชญา]]ที่พิจารณาว่า[[ปัจเจก]] ตัวตน ประสบการณ์ของปัจเจกแต่ละคน และความพิเศษอันเป็นหนึ่งเดียวของสิ่งที่กล่าวมา เป็นสิ่งที่สำคัญและเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจกับธรรมชาติของการมีอยู่ของมนุษย์   ปรัชญาแนวนี้โดยทั่วไปจะแสดงให้เห็นถึง[[ความเชื่อในอิสรภาพ]] และยอมรับในผลสืบเนื่องจากการกระทำของปัจเจก และยังเชื่อว่าปัจเจกจะต้องรับผิดชอบกับทางเลือกที่ได้เลือกไว้ด้วย   นักคิดแนวอัตถิภาวนิยมนั้น ให้ความสำคัญกับ[[อัตวิสัย]] (subjectivity) และมองว่ามนุษย์นั้นเป็นสิ่งที่ดำเนินชีวิตอยู่ในโลกที่ไม่ได้มีอะไรพิเศษ และมักเต็มไปด้วยความไม่ชัดเจน
ปรัชญาลัทธิอัตถิภาวนิยม
 
ความสำคัญ ของลัทธิอัตถิภาวนิยม แปลจากศัพท์ภาษาอังกฤษว่า existentialism ปรัชญาลัทธินี้กำลังมีอิทธิพลอย่างกว้างขวางในวงวรรณกรรมทั่วโลก เป็นเหตุให้หนุ่มสาวมีความตื่นตัวและเรียกร้องเสรีภาพและความเป็นธรรม โดยเรียนร้องให้ทบทวนหลักเกณฑ์และมาตรการต่าง ๆ ที่ใช้กันอยู่ในสังคมนั้น ว่าได้รับอิทธิพลจากทางอื่น เป็นเหตุให้มีปัญหาเกิดขึ้นในสังคมโดยไม่จำเป็น และการแก้ปัญหาดำเนินไปอย่างไม่ถูกเป้าหมาย ลัทธิอัตถิภาวนิยมจึงเป็นลัทธิปรัชญาที่น่าสนใจศึกษามากที่สุดลัทธิหนึ่ง ในปัจจุบันคำว่า “อัตถิภาวะ” สารานุกรรมปรัชญา กล่าวไว้ว่า มาจากศัพท์มคธ อัตถิ = เป็นอยู่ + ภาวะ = สภาพ ตรงกับศัพท์ภาษาอังกฤษ existence ซึ่งแปรรูปมาจากศัพท์ ภาษาลาตินว่า existential (ex = จาก + stare = ยืน ) แปลว่า ความมีอยู่ ปรัชญาลัทธิอัตถิภาวนิยมจึงเป็นลัทธิที่เน้นเรื่องความมีอยู่ สารนุกรมปรัชญา ให้คำอธิบายว่า “ลัทธิที่ถือว่าการค้นคว้าหาสารัตถะ ทำให้ผู้คิดออก งจากความเป็นจริง ความเป็นจริงที่แท้ก็คือ อัตถิภาวะ ของแต่ละบุคคลซึ่งมีสิ่งแวดล้อมและสภาพซึ่งตนเองได้สะสมไว้โดยการตัดสินใจเลือก ตั้งแต่ต้นมาจนถึงปัจจุบัน ปรัชญาที่มีประโยชน์จริง ๆ ก็คือ ปรัชญาที่ศึกษาอัตถิภาวะของตนเอง นักปรัชญาที่สำคัญของลัทธินี้ คีร์เคกอร์ด,(Kierkegaard). ยัสเปิร์ส,(Jaspers) ไฮเด็กเกอร์,(Heideggre) ชาร์ตร์,(sartre) มาร์เซ็ล,(Marcel) เป็นต้น”ดังนั้นนักปรัชญาอัตถิภาวนิยมจึงไม่ตั้งใจเสนอคำสอนให้ใครยอมรับเป็นสัจธรรม แต่เสนอเพื่อปลุกใจและกระตุ้นให้ผู้อ่านคิดสร้างปรัชญาของตนขึ้นมาเอง มีวิธีการมองเห็นปัญหาของตนเอง และมีวิธีการหาคำตอบให้แก่ตนเอง รวมความว่าผู้เขียนปรัชญาอัตถิภาวนิยมเขียนอย่างเป็นตัวของตัวเอง เพื่อให้ผู้อ่านรู้จักเป็นตัวของตัวเองด้วย
 
หลักคิดของปรัชญา
 
สาเหตุที่บันดาลให้เกิดท่าที่อัตถิภาวนิยม และสาเหตุที่บันดาล ให้เกิดขบวนการอัตถิภาวนิยม คือ
๑. สาเหตุที่บันดาลให้เกิดท่าที่อัตถิภาวนิยม กล่าวได้ว่าท่าที่อัตถิภาวนิยมมียูอยู่ประจำใจของอัจฉริยบุคคลของมนุษยชาติ มาตลอดทุกยุคทุกสมัยนับตั้งแต่เริ่มมีมนษย์มาจนทุกวันนี้ ดังนั้นสาเหตุที่บันดาลให้เกิดท่ทีอัตถิภาวนิยมก็คือ อัจฉริยภาพ ซึ่งทำให้อัจฉริยบุคคลไม่รู้สึกพอใจกับสถานภาพของมนุษย์ชาติร่วมสมัย จึงอดตั้งปัญหาถามตัวเองไม่ได้ว่า ค่านิยมที่ยอมรับกันอยู่ในสังคมร่วมสมัยของตนนั้นสมบูรณ์ที่สดแล้วหรือ น่าจะแก้ไข หรอปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ในแง่ใดบ้าหรือไม่ เมื่อตั้งอกตั้งใจอุทิศชีวิตเพื่อความก้าวหน้าของมนุษยชาติ ก็มักจะมองเห็นแง่ที่ควรปรับปรุงหรืแก้ไข บางท่านก็สามารถจูงใจให้มีผู้เลื่อมใสจนเกิดขบวนการปฏิรูป จนเปลี่ยนทรรศนคติเดิมไปได้ แต่ก็มีความคิดสร้างสรรค์จึงถูกฝังดินไปพร้อมกับอัฐิของท่านเหล่านี้เสียมากต่อมาก ต้องรอจนกว่าคนทั่วไปจะมีความพร้อมมากขึ้น และมีผู้เสนอการปฏิรูปขึ้นมาใหม่จึ่งจะประสบความสำเร็จ แต่ก็นั้นแหละ เรายืนยันได้อย่างเต็มปากว่า มนุษยธรรมก้าวหน้าขึ้น มาได้เรื่อย ๆ ก็เพราะอุตสาหะของท่านเหล่านี้ ทั้งที่กระทำการได้สำเร็จงดงามและที่ไม่ปรากฏผลสำเร็จในชั่วอายุของท่าน
๒. สามเหตุดที่บันดาลให้เกิดขบวนการอัตถิภาวนิยม ขบวนการอัตถิภาวนิยมไม่มีวันที่จะจดทะเบียนถือกำเนิดเป็นทางการตามกฎหมาย แต่ทว่าเป็นขบวนการที่ค่อยๆ เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติโดยที่ผู้ก่อตั้งและสมาชิกของขบวนการมิได้มีความสำนึกว่าเป็นขบวนการ สาเหตุจึ่งอาจจะมีได้ต่าง ๆ กันสำหรับนักปรัชญาแต่ละท่าน และแต่ละท่านอาจจะมีความบันดาลใจหลายอย่างผสมกัน สาเหตุจึ่งคาบเกี่ยวและล้ำแดนกันอย่างยากที่จะแบ่งออกเป็นประเภทได้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม เมื่อพิเคราะห์ดูสามเหตุของขบวนการอัตถิภาวนิยมทั้งขบวนการแล้ว ก็พอจะรวบรวมได้เป็นข้อ ๆ ดังนี้
๒.๑ สาเหตุจากปรัชญาของค้านต์ จากปรัชญาของค้านต์ (Immanues Kant,1724-1804) ที่ว่ามนัสของเรามีกลไกแปรสภาพความเป็นจริงมาเป็นความรู้ ทำให้ความรู้เป็นเพียงปรากฏการณ์เท่าที่ปรากฏแก่มนัสของเรา ส่วนความเป็นจริงนั้นเราไม่อาจจะรู้ได้ ทำให้นักปรัชญาปัจจุบันมีความจำเป็นต้องเสนอหลักยึดเหนี่ยวไปพลาง ๆ ก่อน ลัทธิอัตถิภาวนิยมเสนอว่า ในเมื่อเรายังไม่อาจจะรูว่าอะไรจริงอย่างเด็ดขาดเนื่องจากยังไม่รู้ฌครงสร้างของมนัสเช่นนี้ หลักที่ควรยึดถือนเนไม่มีอะไรดีกว่าการส่งเสริมเสรีภาพส่วนบุคคล ทั้งน้ก็เพราะว่า แม้เราจะไม่แน่ใจว่าอะไรจริงเลยก็ตาม แต่ก็มีความจริงข้อหนึ่งที่เราไม่อาจจะปฏิเสธได้ นั่นคือ เสรีภาพเป็นแก่นแท้ของความเป็นมนุษย์ เสรีภาพไม่อาจจะแยกออกจากความเป็นมนุษย์ได้ เราอาจจะปฏิเสธหรือสละอะไรในตัวเราได้ทุกอย่างเว้นแต่เสรีภาพ เช่น อาจจะสละความสุข สละโลหิต สละดวงตา สละได้แม้กระทั่งชีวิต แต่ไม่มีใครจะสามารถสละเสรีภาพอยู่นั่งเอง ผู้ที่ถูกจับตัวไปกักกันไว้ในป่าก็มีเสรีภาพที่จะยอมถูกกักขังหรือกลั้นใจตาย ในเมื่อเขาเลือกที่จะไม่กลั้นใจตายก็แสดงว่าเขาใช้เสรีภาพเลือกการถูกกักขัง ซาร์ตร์กล่าวเป็นคำคมว่า “มนุษย์ถูกสาปให้มีเสรีภาพ” (Man is condemned to be free.)
๒.๒ ความไม่พอใจในปรัชญาที่เป็นระบบ จากการที่ลัทธิอัชฌัตติกญาณนิยม (intuitionism) แก้ปัญหาโครงสร้างของมนัสของค้านต์ด้วยการเสนอหลักยึดเหนี่ยวว่า มนัสของคนธรรดมาต้องคิดและเข้าใจโดยผ่านโครงสร้างของมนัสตามที่ค้านต์สอน จึ่งต้องเชื่อตามผู้ที่ฝึกมนัสจนถึงขั้นญาณวิเศษ สามารถรู้ความเป็นจริงโดยตรง ผู้ที่อ้างว่าบรรลุถึงขั้นญาณวิเศษได้สร้างระบบความคิดขึ้นอย่างสลับซับซ้อนจนยากที่คนทั่วไปจะเข้าใจได้ และเรียกร้องให้คนอื่นยอมรับและเชื่อตามด้วยศรัทธา อย่างเช่น ระบบปรัชญาของเฮเก็ล (Hegel, 1770-1831) เป็นตัวอย่าง ขบวนการอัตถิภาวนิยมเห็นว่าระบบปรัชญาของลัทธิอัชฌัตติญาณนิยม ไม่อาจจะเป็นปรัชญาของชีวิต ยิ่งคิดเรื่องนามธรรมและสร้างระบบทำให้ผู้คิดออก งจากความเป็นจริงในชีวิต ยิ่งคิดเรื่องนามธรรมและมโนภาพสากลมาเพียงใดก็ยิ่งออก งจากความเป็นจริงในชีวิตมากเท่านั้น นอกจากนั้น การชักจูงให้ผู้เข้าไม่ถึงยอมรับเชื่อด้วยศรัทธาทำให้ผู้เชื่อเคยตัวกับการเลี่ยงความรับผิดชอบ จนทำให้เกิดโรคอัมพาตทางจิตใจ ไม่รู้จักเป็นตัวของตัวเอง วางตัวไม่สมกับศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ เมื่อเป็นเช่นนี้ การเสนอปรัชญาให้เป็นระบบตายตัวและเป็นมาตรการสากลทุกแบบเป็นการสูญเสียเปล่า นอกจากจะไม่เป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติแล้วยังเป็นภัยต่อผู้รู้เท่าไม่ถึงการณ์ หลงใหลยอมรับเป็นหลักยึดเหนี่ยวด้วยศรัทธาด้วย
๒.๓ ความไม่พอใจในลัทธิปฏิบัตินิยม ลัทธิปฏิบัตินิยม (Pragmatism) ซึ่งแก้ปัญหาโครงสร้างของมนัสของค้านต์ โดยใช้ประสิทธิภาพเป็นหลักยึดเหนี่ยวนั้น ขบวนการอัตถิภาวนิยมเห็นว่าเป็นไปสู่การทำลายเสรีภาพาของมวลมนุษย์ และการเอารัดเอาเปรียบกันด้วยกลวิธีสลับซับซ้อนนับวันแต่จะมากขึ้น ทั้งนี้โดยฝ่ายถูกเอาเปรียบมักจะรู้ไม่ถึงเสียด้วย
 
 
 
 
 
 
ความเป็นมาและวิวัฒนาการของลัทธิอัตถิภาวนิยม
 
เป็นลัทธิปรัชญา ที่พึ่งเกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 แรกเริ่มทีเดียวเป็นเพียงกลุ่มนักปรัชญาที่มีความคิดแนวเดียวกัน เริ่มต้นกำเนิดจากแนวคิดของ Soren Kierkegaad (1813 – 1855 ) นักการศาสนา และนักปรัชญาชาวเดนมาร์กและ Friedrich Nietzche ( 1844 – 1900) ชาวเยอรมันมีความเห็นคล้อยตาม ความคิดนี้ได้เปิดเผยขึ้นประมาณ ค.ศ. 1930 โดยมีนักปรัชญาในยุโรปหลายคนนำมาเผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น บทละคร นวนิยาย และบทความทาง ปรัชญา และบทความทางปรัชญา
ปรัชญาอัตถิภาวนิยมจัดได้ว่าเป็นปรัชญาของปัจเจกบุคคล ซึ่งมุ่งเน้นให้บุคคลได้แสวงหา ความหมายให้แก่ชีวิตของตนโดยการไตร่ตรอง และหาเหตุผลให้กับตัวเองว่าตัวเขานั้นมีชีวิตอยู่เพื่ออะไร กิรติ บุญเจือ กล่าวว่าปรัชญาแบบอัตถิภาวนิยมมีมานานแล้ว แต่ไม่ได้รับความสนใจ จึงเป็นแนวคิดที่ไม่สำคัญเรื่อยมาจนถึงสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อซาเรน (Jean – Paul Satre) เผยแพร่ลัทธินี้ด้วยวรรณกรรม จึงเป็นที่รู้จักและมีอิทธิพลต่อคนรุ่นใหม่อย่างกว้างขวาง บุคคลผู้ได้รับยกยองว่าเป็นนักอัตถิภาวนิยมที่สำคัญคนแรกได้แก่ นักเทววิทยาชาวเดนมาร์ก ชื่อ เคอร์คการ์ด หรือที่ตำราบางเล่มอ่านว่า คีร์เคกอร์ด (Soren Kierkegaad 1831 - 1855) นอกจากนั้นก็มีนักปราชญ์ และนักเขียนที่จัดได้ว่าเป็นนักอัตถิภาวนิยมที่สำคัญ ๆ อีก ได้แก่ นิทเช่ (Friedrich Nietzche 1883 – 1969) ไฮเดกเกอร์ (Martin Heidegaad) กามูส์(Albert Camus) มาเซล ( Gabriel Marcel) บูเบอร์ ( Martin Buber) และ ซาร์ทร์ (Jean – Paul Satre)เป็นต้น และผู้ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไปก็น่าจะได้แก่ ซาร์ทร์ผู้ที่ตั้งชื่อลัทธิปรัชญานี้ว่า Existentialism คือ Jean – Paul Satre
 
1. ภวัถวิทยา ลัทธินี้เชื่อในสิ่งที่มีอยู่จริง (Exis) : aworld of Existing.
สิ่งที่มีอยู่จริง คือ มนุษย์และเสรีภาพการมีอยู่ของมนุษย์มีมาก่อน “ ความเป็นมนุษย์”Satre ให้อรรถาธิบายว่า “….. มนุษย์ต้องมีชีวิตอยู่ ต้องเผชิญหน้ากับตนเอง…..มนุษย์เกิดมามีแต่ความว่างเปล่า เขาจะเป็นอะไร เป็นสิ่งที่เขาต้องการให้ตัวเองเป็น เราจึงถือว่า มนุษย์ไม่มีธรรมชาติของมนุษย์ เพราะไม่มีพระเจ้าที่สร้างความคิดเช่นนี้ขึ้นมามนุษย์จะเป็นอะไรก็ได้ตามที่เขาต้องการจะเป็น……..มนุษย์คือสิ่งที่เขาสร้างให้แก่ตัวเอง…..”
มนุษย์จะกระทำดังนั้นได้จึงต้องมี “เสรีภาพ” เสรีภาพนั้นเป็นเสรีภาพในการเลือกและการตัดสินใจในทุกกรณี รวมทั้งเสรีภาพในการที่จะไม่เลือกสิ่งสำคัญที่คู่กับ เสรีภาพ คือความรับผิดชอบ ต่อการกระทำในสิ่งที่ตนเลือก จึงกระตุ้นให้คนเป็นตัวของตัวเอง รับผิดชอบต่อชีวิตของตนเองเต็มที (เลือกสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับตนเอง) แต่ไม่ได้หมายความว่า รับผิดชอบเฉพาะตนเองเท่านั้นจะต้องรับผิดชอบต่อทุก ๆ คนด้วยอุดมคติ ในสังคมจะมีแต่สิ่งที่ดีที่สุดที่ทุกคนเลือกแล้ว
 
สรุป 1. ความเป็นจริงคือ สภาวะที่มีอยู่จริง
1. ความเป็นจริง เป็นสิ่งที่มนุษย์กำหนดขึ้นจากสภาวะที่มีอยู่
2. ญาณวิทยามนุษย์แต่ละคนจะเป็นผู้เลือกว่า “ ความรู้ของตนจะเป็นอย่างไร”
การเรียนรู้ตามแบบวิธีต่าง ๆ หรือความรู้ประเภทต่าง ๆ มีลักษณะเป็น “ของส่วนตัว” สำหรับแต่ละคน เมื่อนำความรู้มารวม ๆ กันไว้จึงเป็นหน้าที่ของแต่ละคนที่จะต้องเลือก เชื่อและยอมรับความรู้นั้นโดยตนเอง ไม่มีการชี้นำหรือการบังคับ หรืออาจจะเลือกที่จะไม่เชื่อและไม่ยอมรับอันใดเลยก็ได้ เป็นเสรีภาพส่วนบุคคลนั่นคือ มีเสรีภาพเลือกที่จะไม่เลือกก็ได้มนุษย์แต่ละคนรับผิดชอบในความรู้ของตนเอง ความรู้ของเอกัตบุคคลเป็นความรู้ประเภท “หยั่งรู้เอง” ความรู้เกิดขึ้นและเป็นไปตามความรู้สำนึกของแต่ละคน เป็นไปตามประสบการณ์และแนวทางดำเนินชีวิตที่แต่ละบุคคลได้เลือกและวางแผนไว้แล้วสำหรับตนเอง
3. คุณวิทยา
ก. จริยศาสตร์ แนวทางจริยธรรมของอัตถิภาวนิยม คือ
1. ปฏิเสธที่จะประพฤติปฏิบัติตามกฎสมบูรณ์ (absolute law) ใด ๆ เพราะจะทำให้เสียเสรีภาพในการเลือก
2. คุณค่าของจริยธรรม คือ คุณค่าทีเราเลือกขึ้นมาเอง การกระทำใด ๆ ลงไปเป็นการเลือกของเราเอง
 
ข. สุนทรียศาสตร์
ให้เสรีภาพของเอกัตบุคคลที่จะเลือกและกำหนดสุนทรียะของตนเองซึ่งคุณค่านั้นมิได้มาจากปัจจัยหรือข้อกำหนดภายนอกตัวบุคคล
 
ความเป็นมาและวิวัฒนาการของลัทธิอัตถิภาวนิยม
 
เป็นลัทธิปรัชญา ที่พึ่งเกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 แรกเริ่มทีเดียวเป็นเพียงกลุ่มนักปรัชญาที่มีความคิดแนวเดียวกัน เริ่มต้นกำเนิดจากแนวคิดของ Soren Kierkegaad (1813 – 1855 ) นักการศาสนา และนักปรัชญาชาวเดนมาร์กและ Friedrich Nietzche ( 1844 – 1900) ชาวเยอรมันมีความเห็นคล้อยตาม ความคิดนี้ได้เปิดเผยขึ้นประมาณ ค.ศ. 1930 โดยมีนักปรัชญาในยุโรปหลายคนนำมาเผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น บทละคร นวนิยาย และบทความทาง ปรัชญา และบทความทางปรัชญา
ปรัชญาอัตถิภาวนิยมจัดได้ว่าเป็นปรัชญาของปัจเจกบุคคล ซึ่งมุ่งเน้นให้บุคคลได้แสวงหา ความหมายให้แก่ชีวิตของตนโดยการไตร่ตรอง และหาเหตุผลให้กับตัวเองว่าตัวเขานั้นมีชีวิตอยู่เพื่ออะไร กิรติ บุญเจือ กล่าวว่าปรัชญาแบบอัตถิภาวนิยมมีมานานแล้ว แต่ไม่ได้รับความสนใจ จึงเป็นแนวคิดที่ไม่สำคัญเรื่อยมาจนถึงสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อซาเรน (Jean – Paul Satre) เผยแพร่ลัทธินี้ด้วยวรรณกรรม จึงเป็นที่รู้จักและมีอิทธิพลต่อคนรุ่นใหม่อย่างกว้างขวาง บุคคลผู้ได้รับยกยองว่าเป็นนักอัตถิภาวนิยมที่สำคัญคนแรกได้แก่ นักเทววิทยาชาวเดนมาร์ก ชื่อ เคอร์คการ์ด หรือที่ตำราบางเล่มอ่านว่า คีร์เคกอร์ด (Soren Kierkegaad 1831 - 1855) นอกจากนั้นก็มีนักปราชญ์ และนักเขียนที่จัดได้ว่าเป็นนักอัตถิภาวนิยมที่สำคัญ ๆ อีก ได้แก่ นิทเช่ (Friedrich Nietzche 1883 – 1969) ไฮเดกเกอร์ (Martin Heidegaad) กามูส์(Albert Camus) มาเซล ( Gabriel Marcel) บูเบอร์ ( Martin Buber) และ ซาร์ทร์ (Jean – Paul Satre)เป็นต้น และผู้ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไปก็น่าจะได้แก่ ซาร์ทร์ผู้ที่ตั้งชื่อลัทธิปรัชญานี้ว่า Existentialism คือ Jean – Paul Satre
 
 
1. ภวัถวิทยา ลัทธินี้เชื่อในสิ่งที่มีอยู่จริง (Exis) : aworld of Existing.
สิ่งที่มีอยู่จริง คือ มนุษย์และเสรีภาพ
การมีอยู่ของมนุษย์มีมาก่อน “ ความเป็นมนุษย์”
Satre ให้อรรถาธิบายว่า “….. มนุษย์ต้องมีชีวิตอยู่ ต้องเผชิญหน้ากับตนเอง…..มนุษย์เกิดมามีแต่ความว่างเปล่า เขาจะเป็นอะไร เป็นสิ่งที่เขาต้องการให้ตัวเองเป็น เราจึงถือว่า มนุษย์ไม่มีธรรมชาติของมนุษย์ เพราะไม่มีพระเจ้าที่สร้างความคิดเช่นนี้ขึ้นมามนุษย์จะเป็นอะไรก็ได้ตามที่เขาต้องการจะเป็น
……..มนุษย์คือสิ่งที่เขาสร้างให้แก่ตัวเอง…..”
มนุษย์จะกระทำดังนั้นได้จึงต้องมี “เสรีภาพ” เสรีภาพนั้นเป็นเสรีภาพในการเลือกและการตัดสินใจในทุกกรณี รวมทั้งเสรีภาพในการที่จะไม่เลือก
สิ่งสำคัญที่คู่กับ เสรีภาพ คือความรับผิดชอบ ต่อการกระทำในสิ่งที่ตนเลือก จึงกระตุ้นให้คนเป็นตัวของตัวเอง รับผิดชอบต่อชีวิตของตนเองเต็มที (เลือกสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับตนเอง) แต่ไม่ได้หมายความว่า รับผิดชอบเฉพาะตนเองเท่านั้นจะต้องรับผิดชอบต่อทุก ๆ คนด้วยอุดมคติ ในสังคมจะมีแต่สิ่งที่ดีที่สุดที่ทุกคนเลือกแล้ว
 
สรุป 1. ความเป็นจริงคือ สภาวะที่มีอยู่จริง
 
2. ความเป็นจริง เป็นสิ่งที่มนุษย์กำหนดขึ้นจากสภาวะที่มีอยู่
 
2. ญาณวิทยา
 
มนุษย์แต่ละคนจะเป็นผู้เลือกว่า “ ความรู้ของตนจะเป็นอย่างไร”
 
การเรียนรู้ตามแบบวิธีต่าง ๆ หรือความรู้ประเภทต่าง ๆ มีลักษณะเป็น “ของส่วนตัว” สำหรับแต่ละคน เมื่อนำความรู้มารวม ๆ กันไว้จึงเป็นหน้าที่ของแต่ละคนที่จะต้องเลือก เชื่อและยอมรับความรู้นั้นโดยตนเอง ไม่มีการชี้นำหรือการบังคับ หรืออาจจะเลือกที่จะไม่เชื่อและไม่ยอมรับอันใดเลยก็ได้ เป็นเสรีภาพส่วนบุคคลนั่นคือ มีเสรีภาพเลือกที่จะไม่เลือกก็ได้
 
มนุษย์แต่ละคนรับผิดชอบในความรู้ของตนเอง ความรู้ของเอกัตบุคคลเป็นความรู้ประเภท “หยั่งรู้เอง” ความรู้เกิดขึ้นและเป็นไปตามความรู้สำนึกของแต่ละคน เป็นไปตามประสบการณ์และแนวทางดำเนินชีวิตที่แต่ละบุคคลได้เลือกและวางแผนไว้แล้วสำหรับตนเอง
 
3. คุณวิทยา
 
ก. จริยศาสตร์ แนวทางจริยธรรมของอัตถิภาวนิยม คือ
 
1. ปฏิเสธที่จะประพฤติปฏิบัติตามกฎสมบูรณ์ (absolute law) ใด ๆ เพราะจะทำให้เสียเสรีภาพในการเลือก
2. คุณค่าของจริยธรรม คือ คุณค่าทีเราเลือกขึ้นมาเอง การกระทำใด ๆ ลงไปเป็นการเลือกของเราเอง
 
ข. สุนทรียศาสตร์
 
ให้เสรีภาพของเอกัตบุคคลที่จะเลือกและกำหนดสุนทรียะของตนเองซึ่งคุณค่านั้นมิได้มาจากปัจจัยหรือข้อกำหนดภายนอกตัวบุคคล
 
{{โครงนามธรรม}}