ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ดักลาส แมกอาเธอร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 26:
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1919 ถึง 1922 แมกอาเธอร์ได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนายการโรงเรียนการทหารสหรัฐที่เวสต์พอยต์ ซึ่งเขาได้พยายามปฏิรูปหลายครั้ง งานที่ได้รับมอบหมายต่อไปของเขาคือในฟิลิปปินส์ ซึ่งในปี ค.ศ. 1924 เขาได้มีส่วนช่วยในการปราบปรามพวกลูกเสือมูตินของฟิลิปปินส์ ในปี ค.ศ. 1925 เขาได้กลายเป็นพลตรีที่อายุน้อยที่สุดในกองทัพ เขาได้ทำหน้าที่ในศาลทหารของนายพลจัตวา Billy Mitchell และเป็นประธานคณะกรรมการโอลิมปินอเมริกันในช่วง[[โอลิมปิกฤดูร้อน 1928|โอลิมปิกฤดูร้อน ค.ศ. 1928]] ใน[[กรุงอัมสเตอร์ดัม]] ในปี ค.ศ. 1930 เขาได้กลายเป็นเสนาธิการของกองทัพบกสหรัฐ ด้วยเหตุนี้ เขาจึงได้มีส่วนร่วมในการขับไล่กองทัพโบนัสผู้ประท้วงให้ออกไปจากรุงวอชิงตัน ดี ซี ในปี ค.ศ. 1932 และการจัดตั้งและจัดระเบียบของกองทัพน้อยอนุรักษ์พลเรือน เขาได้ลาออกจากกองทัพในปี ค.ศ. 1937 เพื่อกลายเป็นที่ปรึกษาทางทหารของรัฐบาลเครือจักรภพแห่งฟิลิปปินส์
 
แมกอาเธอร์ได้ถูกเรียกตัวให้เข้าปฏิบัติหน้าที่ในปี ค.ศ. 1941 ในฐานะผู้บัญชาการกองกำลังกองทัพบกสหรัฐในตะวันออกไกล ได้เกิดหายนะที่ตามมาหลายครั้ง โดยเริ่มจากกองทัพอากาศของเขาได้ถูกทำลายลงในวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1941 และญี่ปุ่นบุกครองฟิลิปปินส์ ในไม่ช้า, กองกำลังของแมกอาเธอร์ได้ถูกบังคับให้ล่าถอยไปที่บาตาอัน ซึ่งพวกเขาติดอยู่ที่แห่งนั้นจนถึงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1942 ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1942 แมกอาเธอร์ ครอบครัวของเขา และทหารลูกน้องของเขาได้ออกจากเกาะคอร์เรจิดอร์ด้วยเรือตอร์บิโดขนาดเล็ก และลี้ภัยไปยังออสเตรเลีย ที่ซึ่งแมกอาเธอร์ได้กลายเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด ในพื้นที่แปซิฟิกตะวันตกเฉียงใต้ เมื่อเขาได้เดินทางมาถึง แมกอาเธอร์ได้กล่าวสุนทรพจน์ซึ่งเขาได้ให้คำมั่นสัญญาว่า "ข้าพเจ้าจะกลับมา" ที่ฟิลิปปินส์ ภายหลังจากการสู้รบในแปซิฟิกมายาวนานกว่าสองปี เขาก็ได้ทำตามคำมั่นสัญญานั้น สำหรับการป้องกันฟิลิปปินส์ของเขา แมกอาเธอร์ก็ได้รับเหรียญมีเดล ออฟ ฮอนเนอร์ เขาได้ยอมรับ[[การยอมจำนนของญี่ปุ่น]]อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1945 บนเรือ[[ยูเอสเอส มิสซูรี (BB-63)|ยูเอสเอส มิสซูรี]] ซึ่งจอดทอดสมออยู่ที่อ่าวโตเกียว และเขาได้ควบคุมดูแล[[การยึดครองญี่ปุ่น]] ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1945 ถึง ค.ศ. 1951 ในฐานะผู้ปกครองที่มีประสิทธิภาพของญี่ปุ่น เขาได้ควบคุมดูแลการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมอย่างกว้างขวางของญี่ปุ่น เขาได้เป็นผู้นำใน[[กองบัญชาการสหประชาชาติ]]ใน[[สงครามเกาหลี]]ด้วยประสบความสำเร็จครั้งแรก อย่างไรก็ตาม การบุกครองเกาหลีเหนือที่ซึ่งเป็นที่ถกเถียงกัน ได้กระตุ้นให้เกิดการแทรกแซงของจีนและความพ่ายแพ้ครั้งใหญ่หลายต่อหลายครั้ง แมกอาเธอร์จึงถูกประธานาธิบดี [[แฮร์รี เอส. ทรูแมน|แฮร์รี่ เอส ทรูแมน]] ปลดออกจากกองบัญชาการซึ่งเป็นที่ถกเถียงกัน เมื่อวันที่ 11 เมษายน ค.ศ. 1951 ต่อมาเขาได้กลายเป็นประธานคณะกรรมของ[[เรมิงตัน แรนด์]]
 
{{birth|1880}}{{death|1964}}