ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐประหารในประเทศพม่า พ.ศ. 2564"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
DMS WIKI (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
ย้อนกลับไปรุ่นที่ 9235538 โดย Miwako Sato: ขาดอ้างอิงด้วยสจห.
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 1:
{{current|date=กุมภาพันธ์ 2564}}
{{ปรับภาษา}}
{{Infobox military conflict
| conflict = รัฐประหารในประเทศเมียนมา พ.ศ. 2564
เส้น 46 ⟶ 45:
ต่อมา กองทัพแถลงการณ์ผ่านทางโทรทัศน์ที่ทหารควบคุมว่า กองทัพจะควบคุมประเทศเป็นเวลาหนึ่งปี<ref>{{Cite web|date=2021-02-01|title=Myanmar military says it is taking control of the country|url=https://apnews.com/article/aung-san-suu-kyi-myanmar-dda3d013897e14d5d0bd44d19eac9cd1|access-date=2021-02-01|website=AP NEWS}}</ref>
 
== เหตุการณ์ก่อนหน้า ==
หากย้อนดูไทม์ไลน์แล้ว ความตึงเครียดระหว่างกองทัพเมียนมาและพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลของ ออง ซาน ซูจี นั้นมีมาตั้งแต่ก่อนการเลือกตั้งแล้ว เราไปดูกันว่ามีเหตุการณ์สำคัญอะไรเกิดขึ้นบ้างในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา โดยอ้างอิงจากรายงานข่าวของสื่อชั้นนำเมียนมาอย่างอิรวดี
 
14 สิงหาคม 2020: พลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย ประกาศในที่ประชุมร่วมระหว่างพรรคสหสามัคคีและการพัฒนา (USDP) กับอีก 34 พรรคที่มีจุดยืนหนุนกองทัพว่า “ผมกล้าที่จะทำทุกอย่าง หากเกิดเหตุการณ์ที่จะมีผลด้านลบต่อประเทศชาติ ประชาชน และอนาคตของกองทัพ”
 
2 พฤศจิกายน 2020: ก่อนการเลือกตั้งทั่วไปเพียง 6 วัน กองทัพออกแถลงการณ์ว่าคณะกรรมการการเลือกตั้ง ‘บกพร่อง’ ในการเตรียมการลงคะแนน พร้อมเตือนว่าหากเกิดความผิดพลาดอะไร รัฐบาลจะต้องรับผิดชอบ
 
3 พฤศจิกายน 2020: พลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย ออกสื่อโดยแสดงความกังวลถึงการทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้ง และต้องการให้การเลือกตั้งทั่วไปเป็นไปอย่างอิสระและเป็นธรรมอย่างแท้จริง ขณะที่สำนักประธานาธิบดีเมียนมาตอบโต้ว่าการกระทำของกองทัพเข้าข่ายละเมิดรัฐธรรมนูญ เพราะถือเป็นความพยายามแทรกแซงการเลือกตั้ง
 
5 พฤศจิกายน 2020: กองทัพสวนกลับคำเตือนของสำนักประธานาธิบดีเมียนมาว่ารัฐบาลเพิกเฉยและเลี่ยงความรับผิดชอบต่อการทำงานของ กกต. ทั้งนี้ รัฐบาลให้คำสาบานไว้ว่าดำเนินงานใต้รัฐธรรมนูญอย่างสุจริต พร้อมขู่ว่า “รัฐธรรมนูญอนุญาตให้เพิกถอนประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีได้ หากพบว่าขาดคุณสมบัติ” นอกจากนี้ยังชี้ว่าสิ่งที่กองทัพกำลังกระทำเป็นไปตามหลักรัฐธรรมนูญในฐานะ ‘ผู้พิทักษ์’ ประเทศ
 
8 พฤศจิกายน 2020: พลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย แถลงการณ์ในวันเลือกตั้ง โดยสัญญาว่าเขาจะยอมรับผลการลงคะแนน ‘ที่สะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชน’
 
30 พฤศจิกายน 2020: กองทัพประกาศจะตรวจสอบกระบวนการเลือกตั้งว่าดำเนินการถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ หลัง ‘อ้าง’ ว่าได้รับแจ้งการโกงคะแนนเลือกตั้งอย่างกว้างขวางทั่วประเทศ ขณะที่พรรค USDP เองอ้างว่าเกิดการทุจริตเลือกตั้ง และเรียกร้องให้ตรวจสอบกระบวนการลงคะแนน
 
กองทัพเรียกร้องให้ กกต. สั่งการให้คณะกรรมการย่อยในเขตเลือกตั้ง ‘218 แห่งที่เจ้าหน้าที่ทหารและครอบครัวได้ไปลงคะแนน’ จัดส่งเอกสารให้กองทัพตรวจสอบ โดยอ้างอิงข้อมูลความผิดปกติที่เกิดขึ้นจาก ‘ทีมข้อมูลข่าวจริงแห่งกองทัพ’ (Tatmadaw True News Information Team)
 
10 ธันวาคม 2020: กกต. ปฏิเสธจะส่งมอบเอกสารเกี่ยวกับการเลือกตั้งตามที่ร้องขอ พร้อมชี้ว่าการกระทำของกองทัพ ‘ขัดต่อกฎหมาย’ แม้ว่ากองทัพจะอ้างรัฐบัญญัติว่าด้วยหลักฐาน (Evidence Act) ว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งย่อยต้องส่งสำเนาเอกสารเพื่อตรวจสอบ หากประชาชนมีข้อสงสัยต่อผลการลงคะแนน
 
23 ธันวาคม 2020: แม้ กกต. จะไม่ยอมจัดส่งเอกสารให้ แต่กองทัพได้ดำเนินการตรวจรายชื่อผู้มีสิทธิลงคะแนนใน 314 เมืองทั่วประเทศด้วยตัวเอง และประกาศผลการตรวจสอบถึง ‘ความผิดปกติ’ ในการเลือกตั้ง เริ่มจากเขตเลือกตั้ง 4 แห่งที่พรรค USDP แพ้การเลือกตั้งอย่างขาดลอย
 
ในรายงาน กองทัพพบว่าอาจเกิด ‘การลงคะแนนซ้ำซ้อน’ และ ‘การโกงคะแนน’ มากกว่า 7.6 ล้านเสียง ทั้งนี้ คณะกรรมการการเลือกตั้งย่อยปฏิเสธข้อกล่าวหาและตั้งคำถามกับแหล่งที่มาของข้อมูล เพราะ กกต. ไม่ได้จัดส่งเอกสารให้ทางกองทัพเลย
 
8 มกราคม 2021: พลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย กล่าวหาว่าเกิดการทุจริตเลือกตั้งเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ถือเป็นการทำลายภาพลักษณ์ของประเทศ
 
11 มกราคม 2021: สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการแต่งตั้งของกองทัพและ ส.ส. จากพรรคที่หนุนกองทัพรวม 203 คน ยื่นญัตติต่อประธานสภาให้จัดการประชุมสภาพิเศษขึ้นเพื่อแก้ปัญหาข้อกล่าวหาทุจริตการเลือกตั้ง ก่อนรัฐสภาชุดใหม่จะเริ่มทำงานในวันที่ 1 กุมภาพันธ์
 
12 มกราคม 2021: ประธานสภาปฏิเสธญัตติดังกล่าว โดยระบุว่าความพยายามของกองทัพและพรรค USDP ที่จะหยิบยกข้อกล่าวหาการทุจริตต่อสภา ‘ขัดกับอำนาจของสภา’ เพราะเป็นหน้าที่ กกต. ที่จะชี้ขาดผลการเลือกตั้ง
 
วันเดียวกัน พลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย แสดงความกังวลต่อการทุจริตเลือกตั้งระหว่างหารือกับ หวังอี้ รัฐมนตรีต่างประเทศจีน พร้อมให้คำมั่นว่ากองทัพจะดำเนินการเพื่อพิทักษ์ระบอบประชาธิปไตย แต่ไม่แน่ชัดว่าหวังอี้แสดงความเห็นอย่างไรต่อเรื่องนี้
 
14 มกราคม 2021: กองทัพพยายามกดดันประธานสภาที่ ‘ปัดตก’ ญัตติจัดการประชุมสภาวาระพิเศษ โดยอ้างว่าประธานสภาอาจทำผิดรัฐธรรมนูญ แต่ฝ่ายกฎหมายยืนกรานว่าการตัดสินใจของประธานสภาถูกต้องตามกฎหมายและเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ
 
20 มกราคม 2021: กองทัพเรียกร้องให้รัฐบาล กกต. หรือสมาชิกรัฐสภาพิสูจน์ให้ได้ว่าการเลือกตั้งเป็นไปอย่างเสรีและยุติธรรม เพื่อนำประเทศชาติก้าวข้าม ‘สภาวะทางการเมืองที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก’
 
29 มกราคม 2021: สถานทูตต่างชาติ 16 แห่ง รวมถึงสหรัฐฯ ผู้แทนจากสหภาพยุโรป รวมถึงสหประชาชาติ ได้ออกแถลงการณ์ร้องขอให้เมียนมายึดมั่นในบรรทัดฐานแห่งประชาธิปไตย และแสดงท่าทีคัดค้านความพยายามใดๆ ที่จะเปลี่ยนแปลงผลการเลือกตั้ง
 
30 มกราคม 2021: กองทัพเมียนมายืนยันจะปกป้องและยึดถือรัฐธรรมนูญของประเทศ รวมถึงปฏิบัติตามกฎหมาย ท่ามกลางความกังวลในประเทศว่ากองทัพอาจพยายามยึดอำนาจ โดยชี้ว่าสื่อมวลชนตีความความคิดเห็นของพลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย อย่างไม่ถูกต้อง
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}