ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระองค์เม็ญ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 47:
พ.ศ. 2383 นักองค์แบน พระเชษฐภคินีของพระองค์เม็ญ ถูกทางการญวนจับได้ว่าทรงลับลอบติดต่อกับนักเทพ พระชนนี และพระองค์แก้ว ผู้เป็นลุง ที่พลัดไปเมือง[[พระตะบอง]]ซึ่งอยู่ในเขตอิทธิพลของสยาม สำหรับการหลบหนี [[จักรพรรดิมิญ หมั่ง]] จึงมีพระบรมราชโองการให้จับเจ้านายเขมรไปคุมขังที่[[พนมเปญ]]เพื่อพิจารณาคดี ต่อมามีพระราชโองการปลดพระองค์เม็ญในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2384 ก่อนเนรเทศเจ้าหญิงเขมรพร้อมเครื่องราชกกุธภัณฑ์ไป[[ไซ่ง่อน]]<ref name="พงศาวดาร192"/><ref name="ถกสยาม"/><ref>{{cite web|url=http://www.san.beck.org/20-9-Siam,Laos,Cambodia1800-1950.html|title=Siam, Cambodia, and Laos 1800-1950 by Sanderson Beck|website=www.san.Beck.org|access-date=6 August 2017}}</ref> บรรดาขุนนางและข้าราชการเขมรมองว่าการที่ญวนทำเช่นนี้ เสมือนการล้างบางเจ้าเขมรให้สูญวงศ์ อาณาประชาราษฎร์ต่างพากันโกรธแค้นและเจ็บปวดกับนโยบายของญวน<ref name="พงศาวดาร239"/> ขุนนางญวนส่งเจ้าหญิงเขมรทั้งสี่พระองค์ไว้ที่เมืองลงโฮ เจ้าเมืองลงโฮนำส่งเจ้าหญิงเขมรสามพระองค์คือ นักองค์มี นักองค์เภา และนักองค์สงวนไปไซ่ง่อน แล้วกุมนักองค์แบนไว้ เพราะพระชนนีของพระองค์หนีไปพึ่งสยามในกรุงเทพฯ ฝ่ายญวนมองว่าการกระทำเช่นนี้เป็นการทรยศ จึงนำนักองค์แบนไปสำเร็จโทษที่เมืองลงโฮ เมื่อพระชันษา 32 ปี<ref>''ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา'', หน้า 240</ref> เอกสารเขมรระบุว่านักองค์แบนสิ้นพระชนม์จากการจมน้ำที่[[แม่น้ำโขง]] ส่วนเอกสารของคิน สก (Khin Sok) ระบว่านักองค์แบนถูกทรมานจนสิ้นพระชนม์ ทหารญวนจึงนำพระศพไปทิ้งน้ำ<ref>Trudy Jacobsen, ''Lost goddesses: the denial of female power in Cambodian history'', p. 113</ref> ในเวลาต่อมา พระองค์เม็ญ พระขนิษฐา และสมเด็จศรีไชยเชษฐ ถูกนำไปไว้ที่เมือง[[เว้]]<ref>''ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา'', หน้า 241</ref>
 
เมื่อไร้พระเจ้าแผ่นดิน ขุนนางเขมรก็เริ่มตั้งยศตัวเอง รวบรวมสมัครพรรคพวกสังหารขุนนางญวนในเขมร และแสดงตนกระด้างกระเดื่องไม่อ่อนน้อมต่อพระเจ้ากรุงญวน ช่วงเวลานั้นสยามจึงขยายอิทธิพลเข้ากัมพูชา และพยายามแต่งตั้งนักองค์ด้วงเสวยราชย์ ก่อให้เกิด[[อานามสยามยุทธ]]ขึ้น ขุนนางญวนในพนมเปญกราบบังคมทูลให้พระองค์เม็ญนิวัตกรุงกัมพูชาด้วยหวังจะคลายปัญหากบฏลง แต่จักรพรรดิมิญ หมั่งทรงปฏิเสธ เมื่อทนแรงกัดดันไม่ไหว ทางราชสำนักญวนจึงส่งพระองค์เม็ญ พระขนิษฐา พระชนนี และพระองค์อิ่มพระปิตุลาคืนกรุงพนมเปญเมื่อขึ้น 7 ค่ำ เดือน 6 (ตรงกับวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2384) โดย[[เจือง มิญ สาง]] ({{lang|vi|Trương Minh Giảng}}, {{lang|vi|張明講}}) หรือเอกสารไทยเรียก องเตียนกุน แม่ทัพญวนที่ปกครองเขมร ปลูกเรือนถวายหนึ่งหลัง แล้วถวายตราลัญจกรของสมเด็จพระอุไทยราชาธิราชรามาธิบดี พร้อมพระขรรค์ประจำแผ่นดินแก่พระองค์มีเม็ญ โอกาสนั้นพระองค์มีเม็ญทรงแต่งตั้งขุนนางตำแหน่งต่าง ๆ แล้วทำหนังสือไปยังขุนนางเขมรนัยว่าให้ขุนนางและข้าราชการทั้งหลายสนับสนุนพระองค์ แต่ก็ไม่มีผู้ใดสวามิภักดิ์<ref >''พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3'', หน้า 244</ref> ในขณะที่เวลาเดียวกันกับนักองค์ด้วงที่เป็นพระปิตุลาอีกพระองค์หนึ่งก็ ได้รับเสียงสนับสนุนจากราชสำนักกรุงอุดงฦๅไชย<ref>Lost goddesses: the denial of female power in Cambodian history By Trudy Jacobsen, p.114</ref> ต่อมาพระองค์เม็ญและเจ้านายผู้หญิงที่ถูกฝ่ายญวนจับกุมส่งหนังสือไปหานักองค์ด้วง ให้ขุนนางเขมรไปรับ เพราะจะหนีไปอยู่ด้วย เมื่อองเตียนกุนทราบก็ตั้งกองกำลังเข้มแข็งขึ้น<ref >''พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3'', หน้า 245</ref> ในเวลาต่อมาพระเจ้ากรุงญวนทรงเห็นว่าไม่มีขุนนางเขมรนิยมชมชอบพระองค์เม็ญ จึงส่งพระองค์เม็ญและเจ้านายอื่น ๆ ไปเมือง[[เจิวด๊ก|เมียดจรูก]] หรือเอกสารไทยเรียกโจฎก เมื่อแรม 11 ค่ำ เดือน 12 (ตรงกับวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2384)<ref name="พงศาวดาร242"/><ref >''พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3'', หน้า 249-250</ref>
 
ภายหลังทัพญวนมิอาจต้านทานกองทัพประสมสยามกับเขมรนำโดย[[เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)]] จึงขอหย่าศึก และทยอยปล่อยเจ้านายเขมรคืนกัมพูชา<ref name="ถกสยาม2"/> แรม 8 ค่ำ เดือน 11 (ตรงกับวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2389) ฝ่ายญวนส่ง[[สมเด็จพระมไหยิกา ขัติยาวงษ์ศิริเสโฐวโรดม|นักนางรศ]] หม่อมกลีบ และพระธิดาองค์หนึ่งของนักองค์ด้วงคืนกรุงพนมเปญ แต่ยังไม่ส่งพระองค์เม็ญและเจ้านายผู้หญิงให้ โดยฝ่ายญวนแจ้งว่า หากต้องการ ให้ส่งพระราชสาสน์แต่งบรรณาการไปทูลของเจ้าเวียดนามก็จะโปรดให้<ref >''พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3'', หน้า 296</ref> ต่อมาแรม 3 ค่ำ เดือน 6 (ตรงกับวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2390) ขุนนางญวนแต่งตั้งนักองค์ด้วงขึ้นเป็น เตามันกวักเอือง หรือเตาบางกวิกเกวิง แปลว่า "เจ้าเขมรอยู่คนหนึ่ง" รับตราตั้งและฉลองพระองค์แบบญวน หลังจากนั้นขึ้น 6 ค่ำ เดือน 7 (ตรงกับวัน 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2390) องต๋าเตืองกุน ขุนนางญวนก็นำนักองค์เม็ญ นักองค์เภา และนักองค์สงวนแก่นักองค์ด้วง ครั้นขึ้น 11 ค่ำ เดือน 7 (ตรงกับวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2390) แม่ทัพนายกองญวนในพนมเปญก็เลิกทัพไปหมด<ref >''พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3'', หน้า 305-306</ref> ครั้นขึ้น 14 ค่ำ เดือน 2 (ตรงกับวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2391) [[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]]โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระยาเพ็ชรพิไชย (เสือ) กับเจ้าพนักงานทุกตำแหน่ง คุมเครื่องประกอบพระอิสริยยศ สุพรรณบัตรจารึกพระนามออกไปเมืองเขมร อภิเษกนักองค์ด้วงพร้อมด้วยเจ้าพระยาบดินทรเดชาเมื่อขึ้น 4 ค่ำ เดือน 4 (ตรงกับวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2391) เป็นเจ้าแผ่นดินกัมพูชา พระนามว่า [[สมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี|องค์พระหริรักษ์เจ้ากรุงกัมพูชา]]<ref >''พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3'', หน้า 307</ref>