ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภูมิอากาศไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขที่ 9220105 สร้างโดย 2405:9800:B530:EC45:E916:ED48:3009:5432 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 33:
เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมเมื่อมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทย และร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านประเทศไทยทำให้มีฝนชุกทั่วไป ร่องความกดอากาศต่ำนี้ปกติจะพาดผ่านภาคใต้ในเดือนพฤษภาคม แล้วจึงเลื่อนขึ้นไปทางเหนือตามลำดับจนถึงช่วงประมาณปลายเดือนมิถุนายน จะพาดผ่านอยู่บริเวณประเทศจีนตอนใต้ ทำให้ฝนในประเทศไทยลดลงระยะหนึ่ง และเรียกว่าเป็น "ช่วงฝนทิ้ง" ซึ่งอาจนานประมาณ 1 - 2 สัปดาห์หรือบางปีอาจเกิดขึ้นรุนแรงและมีฝนน้อยนานนับเดือน ในเดือนกรกฎาคมปกติร่องความกดอากาศต่ำจะเลื่อนกลับลงมาทางใต้พาดผ่านบริเวณประเทศไทยอีกครั้ง ทำให้มีฝนชุกต่อเนื่อง จนกระทั่งมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดเข้ามาปกคลุมประเทศไทยแทนที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ประมาณกลางเดือนตุลาคมประเทศไทยตอนบน จะเริ่มมีอากาศเย็นและฝนลดลง โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เว้นแต่ภาคใต้ยังคงมีฝนชุกต่อไปจนถึงเดือนธันวาคมและมักมีฝนหนักถึงหนักมาก 1 - 2 สัปดาห์ จนก่อให้เกิด[[อุทกภัย]] โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออกซึ่งจะมีปริมาณฝนมากกว่าภาคใต้ฝั่งตะวันตก อย่างไรก็ตามการเริ่มต้นฤดูฝนอาจจะช้าหรือเร็วกว่ากำหนดได้ประมาณ 1 - 2 สัปดาห์การพิจารณาปริมาณฝนในเวลา 24 ชั่วโมงของแต่ละวัน จะนับตั้งแต่เวลา 07.00 น. จนถึงเวลา 07.00 น. ของวันถัดไป โดยมีเกณฑ์แบ่งดังนี้
 
* ฝนวัดจำนวนไม่ได้: ปริมาณฝนน้อยกว่า 0.1 มิลลิเมตร.
* ฝนเล็กน้อย: ปริมาณฝนระหว่าง 0.1 - 10.0 มิลลิเมตร.
* ฝนปานกลาง: ปริมาณฝนระหว่าง 10.1 - 35.0 มิลลิเมตร.
* ฝนหนัก: ปริมาณฝนระหว่าง 35.1 - 90.0 มิลลิเมตร.
* ฝนหนักมาก: ปริมาณฝนตั้งแต่ 90.1 มิลลิเมตรขึ้นไป.
 
=== ฤดูหนาว ===