ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สุสานแต้จิ๋ว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Supanut Arunoprayote (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Supanut Arunoprayote (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Teochew Cemetery (I).jpg|thumb|right|300px|สุสานแต้จิ๋ว ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2564]]
[[ไฟล์:Teochew Cemetery (II).jpg|thumb|right|300px|ศาลาองค์ไต้ฮงกง เป็นเทพเจ้าประจำมูลนิธิแต้จิ๋ว และยังเป็นจุดหมายตาสำคัญของสุสาน]]
'''สุสานแต้จิ๋ว''' หรือที่รู้จักกันในชื่อ '''สุสานวัดดอน''' '''ป่าช้าวัดดอน''' เป็นสุสานจีนขนาดใหญ่ในเขตเมืองชั้นในกรุงเทพมหานคร มีขนาดพื้นที่ประมาณ 105 ไร่ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2442 หรือประมาณปลายสมัยรัชกาลที่ 5 ตั้งอยู่บนถนนจันทร์บริเวณซอยวัดปรก 1 ถนนจันทร์ แขวงทุ่งวัดดอน [[เขตสาทร]] [[กรุงเทพมหานคร]] สุสานแห่งนี้ ตั้งอยู่บนพื้นที่ดินของสมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย เดิมสุสานแห่งนี้ ไม่ใช่ของสมาคมแต้จิ๋วฯ แต่ภายหลังได้โอนการบริหารและงานดูแลรักษาแก่สมาคมเป็นผู้ดำเนินการแทนทั้งหมด และยังมีองค์กรที่เกี่ยวข้องกับสุสานอีกสององค์กร คือ มูลนิธิปอเต็กตึ้ง และสมาคมไหหลำด่านเกเต้ โดยสมาคมแต้จิ๋วฯ จะเป็นผู้ก่อสร้างหลุมฝังศพเอง และให้ถือเป็นลักษณะการเช่า ไม่ใช้การซื้อ
 
ในช่วงก่อตั้งใหม่ การบริหารสุสานนำเอาต้นแบบมาจาก[[สิงคโปร์]] คือระบบ กงซีซัว (ลักษณะเป็นหลุมฮวงซุ้ย) ซึ่งไม่มีการเก็บเงิน “แบบหงี่ท่ง” (บริการฟรี) โดยในช่วงแรกของสุสาน คือในปี พ.ศ. 2449 มีรายชื่อคนที่ถูกนำมาฝังรวมแล้วกว่า 4,267 ชื่อ โดยส่วนใหญ่จะเป็นผู้ชาย ผู้หญิงมีไม่ถึง 8% รุ่นอายุ 20-30 ปี มากที่สุดประมาณ 70% รองลงมาคืออายุ 40-50 ปี ส่วน 60-70 ปี น้อยมาก แต่อย่างไรก็ตาม สมัยนั้นคนจีนส่วนใหญ่ที่อพยพมาได้รับการสาธารณสุขในช่วงวัยรุ่นและการรักษาสุขภาพไม่ดีซึ่งมีคนกล่าวกันว่าชายหนุ่มผู้ใหญ่ที่เข้ามาบุกเบิก ใช้แรงงาน ทำงานหนักเพื่อการพัฒนาประเทศ แล้วมาเสียชีวิตที่เมืองไทยกรุงเทพ หรือ บางกอก ในขณะนั้น เนื่องจากระบบสาธารณสุขและการรักษาสุขภาพยังไม่ดี โดยการฝังศพที่นี่ มีสองรูปแบบคือ มีศพที่ฝังในลักษณะของฮวงซุ้ย จำนวน 7,961 ศพ ศพที่บรรจุเฉพาะอัฐิอีก 1,800 กว่าศพ และศพที่ไม่มีญาติ บรรจุรวมกันไว้ อีกมากกว่าหมื่นศพ<ref>[http://advisor.anamai.moph.go.th/main.php?filename=JHealthVol20No3_09 กรมอนามัย. ''ยุทธศาสตร์เมืองน่าอยู่ กับการพัฒนาป่าช้าวัดดอน''. สืบค้นข้อมูล 19 มกราคม 2564.]</ref> มีค่าดูแลรักษาหลุมละ 800-1,000 บาทต่อปี<ref>วธิชาธร ลิมป์สุทธิรัชต์ (2557), ''โครงการสวนสาธารณะแต้จิ๋ว''. ปริญญาภูมิสถาปัตยกรรมบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.</ref>
 
ปัจจุบันสมาคมแต้จิ๋ว ได้มอบหมายให้ชมรมนักวิ่งสมาคมแต้จิ๋วเป็นผู้ดำเนินการปรับปรุงดูแลและพัฒนาพื้นที่ ซึ่งภายในสุสานแต้จิ๋วมีเนื้อที่ประมาณ 105 ไร่ มีเวลาทำการ 04.00 – 20.00 น. โดยเปิดให้บริการทุกวัน ปัจจุบันพื้นที่สุสานแต้จิ๋ว ได้กลายเป็นสวนสาธารณะสำหรับคนในพื้นที่ ผ่านการเข้ามาปรับปรุงพื้นที่โดยสำนักงานเขตสาทร เมื่อปี พ.ศ. 2539 แล้วได้ใช้ชื่อใหม่ว่า "สวนสุขภาพสมาคมแต้จิ๋ว"<ref>กนกวรรณ จันทร์พรหม (2560). ''การจัดการพื้นที่สาธารณะในเขตเมือง: กรณีศึกษาสุสานแต้จิ๋ว กรุงเทพมหานคร''. สาขาวิชาการผังเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. เข้าถึงได้จาก http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/</ref> โดยอาจถือได้ว่าเป็นสวนสาธารณะแห่งแรกของประเทศไทยที่ใช้พื้นที่สุสาน ภายในยังประกอบด้วยไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่ให้ความร่มรื่น ซึ่งแตกต่างจากสุสานจีนทั่ว ๆ ไป ที่โดยปกติแล้วต้องโปร่งโล่ง
บรรทัด 13:
*ทิศใต้ ติดต่อกับ ซอยวัดปรก 1 และซอยเย็นจิต 12
*ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ชุมชนกุศลทอง และ[[โรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถม]]
*ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ซอยโรงน้ำแข็ง 5 และ[[วัดปรกยานนาวา]]
===ลักษณะทางกายภาพโดยรอบ===
บริเวณโดยรอบสุสานยังสามารถแบ่ง ประเภทการใช้งานของอาคารและที่ดินได้หลายประเภทด้วยกัน เช่น
*'''แหล่งชุมชน''' ประกอบด้วยชุมชนทั้งไทยเชื้อสายจีน ชาวไทย[[ซิกข์]] ชาวไทย[[ฮินดู]] ชาวไทย[[มุสลิม]] และชาว[[มอญ]] มีการตั้งที่อยู่อาศัยอย่างหนาแน่นตลอดทุกทิศโดยรอบสุสาน ที่อยู่อาศัยส่วนมากเป็นอาคารเดี่ยว หรือ อาคารพาณิชย์ คสล. ความสูงระหว่าง 2-5 ชั้น ซึ่งมีทั้งที่อยู่อาศัยส่วนบุคคล หอพัก และร้านค้า
*ย่าน'''แหล่งธุรกิจทางและที่พักอาศัยระดับไฮเอน''' เช่น คอนโดมิเนียม โรงแรมห้าดาว รวมถึงอาคารออฟฟิศ ซึ่งตั้งแนวตลอดถนนสาทร หรือทางทิศเหนือของสุสาน
*'''สถานพยาบาล''' ประกอบด้วยสถานพยาบาลเอกชนหนึ่งแห่ง คือ โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์
*'''ศาสนาสถาน''' พบว่ามีการสร้างขึ้นความหลากหลายตามแต่ละเชื้อชาติและคติความเชื่อโดยรอบสุสาน อาทิเช่น [[วัดปรก]]ซึ่งเป็นวัดมอญ วัดวิษณุ ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู [[วัดบรมสถล]] หรือ วัดดอน ซึ่งเป็นวัดพุทธ นอกจากนี้ยังพบศาสนสถานที่มีสุสานควบคู่กันด้วย คือ [[มัสยิดยะวา]]และสุสานมุสลิม ซึ่งตั้งอยู่ติดกับขอบเขตสุสานวัดดอนทางทิศเหนือ
*'''สถานศึกษา''' ประกอบด้วยโรงเรียนเอกชน ได้แก่ โรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถม [[โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ]] [[วิทยาลัยเซนต์หลุยส์]] โรงเรียนสังกัดรัฐบาล ได้แก่ โรงเรียนทุ่งมหาเมฆ โรงเรียนนิพัทธ์วิทยา และโรงเรียนวัดดอน
 
== ประวัติ ==
ในอดีตบริเวณพื้นที่โดยรอบวัดดอนเรียกว่า '''ทุ่งวัดดอน''' เป็นทุ่งทางตอนใต้ของพระนคร ด้านที่ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยานั้น เดิมเรียกว่าบ้านทวาย แต่ต่อมามีชาวมลายูมุสลิมซึ่งมาจากทางเมืองตานีมาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ 1 แต่ละชุมชนมลายูก็มีมัสยิดเป็นของตน และบ้านทวายก็ได้ชื่อว่า "บางคอแหลม" ซึ่งคอแหลม ก็แผลงมาจากภาษามลายู บริเวณบางคอแหลมทุกวันนี้ ยังปรากฏชุมชนชาวมลายู และมัสยิดอยู่หลายแห่ง
 
ต่อมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4-5 ได้มี[[ชาวชวา]]ที่เดินทางทางทะเลมาพร้อมกับ[[บริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์]] อพยพเข้ามาอาศัยในพื้นที่ ชาวชวาเหล่านี้เป็นพวกที่หลบหนีการกดขี่ของดัตช์มาหาชีวิตใหม่ในกรุงเทพ ทำให้ที่ตั้งโดยรอบสุสานในปัจจุบัน ยังประกอบด้วยชุมชนชาวชวาที่มี[[มัสยิดยะวา]]เป็นศูนย์กลาง และกุโบร์ หรือสุสานของชาวมุสลิมอีกด้วย
 
ความเจริญได้เข้าสู่พื้นที่โดยรอบที่ตั้งสุสานมากขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ 4 มีการตัดถนนอย่างฝรั่งสายแรกของไทย คือ[[ถนนเจริญกรุง]] ทำให้ความเจริญหลั่งไหลออกมาจากพระนครตามถนนเจริญกรุงนี้ กลายเป็นถิ่นฐานใหม่ของฝรั่ง และจีน จนความเจริญได้ขยายเรื่อยมาจวบจนปัจจุบัน และได้กลายเป็นแหล่งธุรกิจ แหล่งการเงิน และแหล่งชุมชนที่สำคัญแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ<ref>[https://www.facebook.com/thaihistorytalk/posts/1125517260911923/ จับเข่าเล่าประวัติศาสตร์. (2560). สืบค้นข้อมูลเมื่อ 20 มกราคม 2564.]</ref>
 
สุสานวัดดอน เริ่มก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2442 หรือในช่วงรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ตั้งอยู่ที่ตรอกจันทร์ ยานนาวา สมัยนั้นเรียกว่า บ้านทนาย (ปัจจุบัน เรียกว่า “ทุ่งวัดดอน”) เมื่อช่วงก็ตั้งใหม่บริเวณโดยรอบสุสานเป็นเพียงพื้นที่ชานเมืองที่ประกอบด้วยโคกและทุ่งนา การฝังในสุสานนี้ เกิดขึ้นครั้งแรก ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2443 ตามประวัติเล่าว่า บุคคลแรกที่ฝังยุในสุสานนี้ ชื่อ “อื้อกิมไถ่” เป็นชาวจีน แต้จิ๋ว มาจาก[[สิงคโปร์]]
 
การบริหารก่อตั้งสุสานเริ่มต้นเอาแบบมาจากสิงคโปร์ คือระบบ กงซีซัว (ลักษณะเป็นหลุมฮวงซุ้ย) ซึ่งไม่มีการเก็บเงิน “แบบหงี่ท่ง” (บริการฟรี) นับตั้งแต่ก่อตั้งสุสานนี้มาได้เพียง 6 ปี มีรายชื่อที่นามาฝังรวมแล้วถึง 4,267 ชื่อ โดยส่วนใหญ่จะเป็นผู้ชาย ผู้หญิงมีไม่ถึง 8% รุ่นอายุ 20-30 ปี มากที่สุดประมาณ 70% รองลงมาคืออายุ 40-50 ปี ส่วน 60-70 ปี น้อยมาก แต่อย่างไรก็ตาม สมัยนั้นคน[[จีนโพ้นทะเล]]ส่วนใหญ่ที่อพยพมาได้รับการสาธารณสุขและการรักษาสุขภาพไม่ดีซึ่งส่วนใหญ่เป็น ชายหนุ่มที่เดินทางเข้ามาบุกเบิกทำงานหนักเพื่อการพัฒนาประเทศ แล้วมาเสียชีวิตที่เมืองไทย
 
เดิมสถานที่แห่งนี้ ไม่ใช่สมาคมแต้จิ๋วเป็นผู้ดูแล แต่ภายหลังได้มีการโอนการบริหาร ให้แก่สมาคมแต้จิ๋วฯ เป็นผู้ดำเนินการ จึงมีการเปลี่ยนแปลงโดยทางสมาคมแต้จิ๋วฯ จะเป็นผู้ก่อสร้างหลุมฝังศพเอง และให้ถือเป็นลักษณะการเช่า ไม่ใช้การซื้อ
จากนั้นหลายปีต่อมา ทางสมาคมแต้จิ๋วฯ ได้ก่อตั้งสานักงานขึ้นในเนื้อที่ 10 ไร่ ส่วนที่เป็นสุสานเหลือเนื้อที่อยู่ประมาณ 105 ไร่ เนื่องจากทางการได้เวนคืนที่ดินไปจานวนหนึ่งเพื่อการก่อสร้างแนวถนน
 
นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 เป็นต้นมาสำนักงานเขตสาทร ได้เข้ามาพัฒนาพื้นที่ในส่วนสุสานให้พื้นที่สาธารณะ โดยชมรมนักวิ่งสุขภาพสมาคมแต้จิ๋วซึ่งเป็นหนึ่งกิจกรรมของสมาคมฯ ได้เข้ามาบริหารลานสุขภาพให้สุสานมีความสวยงาม ร่มรื่น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและเยาวชนมาใช้เป็นที่ออกกำลังกาย <ref>ชูชัย ศุภวงศ์ และ ยุวดี คาการณ์ไกล. ''ชมรมนักวิ่งสมาคมแต้จิ๋ว''. (2549). หนังสือทำเนียบชมรมนักวิ่งสมาคมแต้จิ๋ว.
บรรณาธิการ. (2540). ประชาสังคม. หน้า 10-12</ref>
 
== อ้างอิง ==