ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
P t ka99 (คุย | ส่วนร่วม)
Magnamonkun (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 337:
 
* 11 มีนาคม พ.ศ. 2563 คณะกรรมการ รฟม. มีมติอนุมัติสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยาย ช่วงศรีรัช - เมืองทองธานี ระยะทาง 2.6 กิโลเมตร วงเงิน 3,379 ล้านบาท อันเป็นข้อเสนอของ บริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด ที่จะเป็นผู้ลงทุนโครงการด้วยตัวเองทั้งหมด คาดว่าจะนำเสนอร่างสัญญาให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบและอนุมัติการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนโครงการได้ในเดือนมิถุนายน และสามารถลงนามในสัญญาร่วมลงทุนฉบับใหม่ได้ในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม พ.ศ. 2563 เพื่อที่จะได้เริ่มงานก่อสร้างต่อทันที การก่อสร้างจะใช้เวลาสองปี และคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ใน พ.ศ. 2566<ref>[https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/870220 บอร์ด รฟม.ไฟเขียว 'บีเอสอาร์' ลุยส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสีชมพู]</ref>
 
* 12 มกราคม พ.ศ. 2564 ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ถอดวาระการพิจารณาขอแก้ไขสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ระหว่างการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย กับบริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด เพื่อต่อขยายเส้นทางรถไฟฟ้าเข้าสู่ศูนย์กาารประชุมนานาชาติอิมแพค เมืองทองธานี ตามข้อเสนอของกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ เนื่องจากเลขากฤษฎีกาได้มีข้อท้วงติงจากการที่ รฟม. ส่งเอกสารไม่ครบ เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จึงจำเป็นต้องเลื่อนการพิจารณาออกไปเสียก่อน ทั้งนี้หากรัฐบาลไม่สามารถอนุมัติโครงการได้ทันก่อนการเปิดให้บริการ เมื่อโครงการเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้วข้อเสนอจะเป็นอันโมฆะไป<ref>[https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/916938 ศักดิ์สยาม ปัดถอนสายสีชมพู แจงขอเลื่อนรอฟังความเห็นอัยการ]</ref>
 
==ส่วนต่อขยาย==