ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่ได้อธิบายการลบข้อความ
ป้ายระบุ: ย้อนด้วยมือ ถูกย้อนกลับแล้ว
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ย้อนด้วยมือ
บรรทัด 2:
[[ไฟล์:คำสั่งของนายกรัฐมนตรี (๒๕๐๔-๐๕-๓๐).pdf|thumb|upright=1.2|คำสั่งของนายกรัฐมนตรี จอมพล [[สฤษดิ์ ธนะรัชต์]] ในปี 2504 ให้นำ [[ครอง จันดาวงศ์]] กับ[[ทองพันธุ์ สุทธิมาศ]] ไป[[การประหารชีวิตอย่างรวบรัด|ประหารชีวิต]]ในข้อหาความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์โดยไม่มีการพิจารณาคดี]]
 
'''การหมิ่นความผิดต่อองค์พระบรมเดชานุภาพมหากษัตริย์ไทย'''อยู่ใน[[ประมวลกฎหมายอาญา]] มาตรา 112 บัญญัติไว้ว่า "ผู้ใด[[การหมิ่นประมาท (กฎหมายไทย)|หมิ่นประมาท]] [[ดูหมิ่น]] หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีถึง 15 ปี" กฎหมายไทยสมัยใหม่บรรจุความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ครั้งแรกในกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 (พ.ศ. 2453), มีการเพิ่มให้การ "ดูหมิ่น" เป็นความผิด และเป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐในประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499 และมีการเพิ่มโทษครั้งล่าสุดในปี 2519 มีสื่ออธิบายว่าเป็น "กฎหมายความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ที่รุนแรงที่สุดในโลก"<ref>{{cite web|url=http://www.abc.net.au/news/2017-01-10/thai-king-requests-constitutional-changes-to-ensure-powers/8174062|title=New Thai King requests constitutional changes to 'ensure his royal powers': Prime Minister|author-first=Liam|author-last=Cochrane|date=2017-01-11|accessdate=2017-04-20|publisher=ABC|website=ABC News}}</ref> และ "อาจเป็นกฎหมายหมิ่นประมาททางอาญาที่เข้มงวดที่สุดไม่ว่าที่ใด"<ref name="economist" >{{cite news|title=How powerful people use criminal-defamation laws to silence their critics|url=https://www.economist.com/news/international/21724993-some-countries-insulting-politicians-can-lead-jail-how-powerful-people-use|accessdate=14 July 2017|work=[[The Economist]]|date=13 July 2017}}</ref> นักสังคมศาสตร์ ไมเคิล คอนนอส์เขียนว่า การบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว "เป็นผลประโยชน์ของราชสำนักเสมอมา"<ref name="Connors"/>{{rp|134}}
 
ในประมวลกฎหมายไม่มีนิยามว่าพฤติการณ์แบบใดเข้าข่าย "ดูหมิ่น" หรือ แสดงความอาฆาตมาดร้าย บ้าง มีการตีความอย่างกว้างขวางซึ่งสะท้อนสถานะอันล่วงละเมิดมิได้ของพระมหากษัตริย์ เฉกเช่นพระมหากษัตริย์ในสมัยศักดินาหรือสมบูรณาญาสิทธิราช [[ธานินทร์ กรัยวิเชียร]] อดีตนายกรัฐมนตรี ยังตีความว่า กฎหมายห้ามครอบคลุมถึงการวิจารณ์โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ [[พระมหากษัตริย์ไทย|สถาบันพระมหากษัตริย์]] [[ราชวงศ์จักรี]]และ[[รายพระนามพระมหากษัตริย์ไทย|พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์]]<ref name=reinteprete/> มีข้อโต้แย้งว่า ความผิดต่อ[[สภาองคมนตรีไทย|องคมนตรี]]เข้าข่ายความผิดนี้หรือไม่ อนึ่ง ในปี 2556 [[ศาลฎีกา]][[:s:คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๓๗๘/๒๕๕๖|วินิจฉัย]]ว่า กฎหมายคุ้มครองพระมหากษัตริย์ในอดีตทุกพระองค์ด้วย<ref name = "deceased monarch">{{cite web | title = คำพิพากษาคดีหมิ่นฯ อดีตกษัตริย์ ผิด ม. 112 | url = http://prachatai.com/journal/2013/11/49805?utm_source=feedburner&utm_medium=feed&utm_campaign=Feed%3A+prachatai+(ประชาไท+Prachatai.com) |publisher = Prachatai |date = 2013-11-14 | accessdate = 2013-11-15}}</ref> แม้ว่า "พยายาม" กระทำความผิด เสียดสีสัตว์ทรงเลี้ยง หรือไม่ติเตียนเมื่อพบเห็นผู้กระทำผิดก็ถูกดำเนินคดีด้วย
 
ผู้ใดจะฟ้องคดีความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ก็ได้ ทั้งนี้พระมหากษัตริย์หรือพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ไม่เคยฟ้องร้องเป็นการส่วนพระองค์ ตำรวจต้องดำเนินการสอบสวนอย่างเป็นทางการทุกคดี รายละเอียดของข้อหาแทบไม่มีเปิดเผยต่อสาธารณะ ผู้ต้องหามักเผชิญอุปสรรคตลอดคดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขอประกันตัวชั่วคราว มีการกักขังก่อนพิจารณาคดีในศาลหลายเดือน คณะทำงานสหประชาชาติว่าด้วยการกักขังโดยพลการตัดสินในปี 2555 ว่าการกักขังก่อนดำเนินคดีละเมิดกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ศาลไม่ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยอย่างในคดีอาญาทั่วไป การรับสารภาพแล้วขอพระราชทานอภัยโทษถูกมองว่าเป็นวิธีการเพื่อให้ได้รับอิสรภาพโดยเร็วที่สุด