ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จอห์น ที ทอมป์สัน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{Infobox military person|name=จอห์น ที ทอมป์สัน|birth_name=จอห์น ทาเลียเฟอร์โร ทอมป์สั...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 05:04, 14 มกราคม 2564

จอห์น ทาเลียเฟอร์โร(เสียงอ่านภาษาอิตาลี: [ˌtaljaˈfɛrro]) (ถูกเปลี่ยนเป็นภาษาอังกฤษเป็น "โทลลิเวอร์"[1]) ทอมป์สัน (31 ธันวาคม ค.ศ. 1860 - 21 มิถุนายน ค.ศ. 1940) เป็นเจ้าหน้าที่นายทหารแห่งกองทัพบกสหรัฐที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในฐานะผู้ประดิษฐ์ปืนกลมือทอมป์สัน

จอห์น ที ทอมป์สัน
ภาพถ่ายทอมป์สัน
ชื่อเกิดจอห์น ทาเลียเฟอร์โร ทอมป์สัน
เกิด31 ธันวาคม ค.ศ. 1860(1860-12-31)
นิวพอร์ต รัฐเคนตักกี้, สหรัฐ
เสียชีวิต21 มิถุนายน ค.ศ. 1940(1940-06-21) (79 ปี)
Great Neck, รัฐนิวยอร์ก, สหรัฐ
สุสาน
รับใช้ สหรัฐ
แผนก/สังกัด กองทัพบกสหรัฐ
ประจำการ1882–1914, 1917–1918
ชั้นยศนายพลจัตวา
บำเหน็จDistinguished Service Medal
งานอื่นผู้ก่อตั้งบริษัท Auto-Ordnance

ชีวิตช่วงต้น

เกิดในวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 1860 ในเมืองนิวพอร์ต รัฐเคนตักกี้ ทอมป์สันได้เติบโตขึ้นในสถานีกองทัพบกและตัดสินใจเลือกอาชีพทหาร เมื่ออายุสิบหกปี พ่อของเขาคือ พันโท เจมส์ ทอมป์สัน ส่วนแม่ของเขาคือ มาเรีย ทาเลียเฟอร์โร ภายหลังจากหนึ่งปีที่มหาวิทยาลัยอินเดียนาในปี ค.ศ. 1877 เขาได้รับการนัดหมายเพื่อเข้าศึกษาที่สถาบันวิชาทหารสหรัฐ ซึ่งได้จบการศึกษาในปี ค.ศ. 1882[2]

สถานีปฏิบัติหน้าที่แห่งแรกของเขาอยู่ในบ้านเกิดของเขาที่เมืองนิวพอร์ต ซึ่งเขาได้รับมอบหมายให้เป็นทหารปืนใหญ่ที่ 2 ยศร้อยตรี จากนั้นเขาก็ได้เข้าเรียนในโรงเรียนวิศวกรรมและปืนใหญ่ และในที่สุดก็ได้รับมอบหมายให้เป็นกรมสรรพาวุธของกองทัพบกในปี ค.ศ. 1890 ซึ่งเขาใช้เวลาที่เหลือในอาชีพทหารของเขา ในช่วงเวลานี้ เขาได้ริเริ่มเชี่ยวชาญในอาวุธปืนขนาดเล็ก

สงครามสเปน-อเมริกา

ในช่วงเริ่มต้นของสงครามสเปน-อเมริกา ทอมป์สันได้รับเลื่อนตำแหน่งยศเป็นพันโท และถูกส่งไปยังแทมปา รัฐฟลอริดา ในตำแหน่งหัวหน้าเจ้าหน้าที่กรมสรรพาวุธสำหรับผู้บัญชาการในการทัพคิวบา นายพล วิลเลียม อาร์ ชาร์ฟเตอร์ ในขณะที่กองทัพบกที่เหลือจะต้องเผชิญพบกับปัญหาทางด้านโลจิสติกส์ ทอมป์สันได้จัดการปฏิบัติการจัดส่งอาวุธยุทโธปกรณ์แก่คิวบาได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาวุธยุทโธปกรณ์มากกว่า 18,000 ตัน ได้ถูกโยกย้ายไปยังสนามรบจากกองบัญชาการแทมปาของเขาโดยปราศจากอุบัติเหตุใด ๆ ทอมป์สันได้รับเลือนตำแหน่งยศเป็นพันเอก ซึ่งเป็นคนที่อายุน้อยที่สุดในกองทัพบกในช่วงเวลานั้น

สงครามครั้งนี้ได้ทำให้ทอมป์สันได้สัมผัสอาวุธปืนแบบอัตโนมัติเป็นครั้งแรก ตามคำร้องขอจากร้อยตรี จอห์น เอช ปาร์คเกอร์ ทอมป์สันได้จัดเตรียมหน่วยทหารปืนกลเกตตาลิงอย่างไม่เป็นทางการ ด้วยอาวุธปืนจำนวนสิบห้ากระบอกและกระสุนปืนจำนวนมาก ทั้งหมดได้ถูกส่งไปยังคิวบาโดยอำนาจของทอมป์สันแต่เพียงผู้เดียว หน่วยทหารนี้มีบทบาทที่สำคัญในยุทธการที่เนินเขาซานฮวนในเวลาต่อมา

หลังสงคราม ทอมป์สันได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้ากองพลอาวุธขนาดเล็กสำหรับกรมสรรพาวุธ ในขณะที่ได้ดำรงตำแหน่ง เขาได้ควบคุมดูแลในการพัฒนาปืนเล็กยาว เอ็ม1903 สปริงฟิลด์ และได้เป็นประธานคณะกรรมการกรมสรรพาวุธที่อนุมัติรับรองแก่ปืนพก เอ็ม1911 ในช่วงเวลาต่อมา เขาได้วางแผนทำการทดสอบที่แปลกประหลาด คือทำการยิงอาวุธปืนไปที่ซากศพมนุษย์ที่บริจาคมาและวัวที่มีชีวิตเพื่อประเมินประสิทธิภาพของกระสุน

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

สงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้อุบัติขึ้นในยุโรปในปี ค.ศ. 1914 และทอมป์สันได้เข้าข้างฝ่ายสัมพันธมิตร เนื่องจากสหรัฐไม่ได้เข้าร่วมสงครามทันทีและเนื่องจากเขาได้ตระหนักถึงความต้องการอาวุธขนาดเล็กในยุโรป (เช่นเดียวกับโอกาสในการทำกำไรจำนวนมาก) ทอมป์สันได้ลาออกจากกองทัพบกในเดือนพฤศจิกายนของปีนั้นและเข้าทำงานในตำแหน่งหัวหน้าวิศวกรของบริษัทอาวุธปืนเรมิงตัน ในขณะที่อยู่ในบริษัท เขาได้ดูแลการก่อสร้าง Eddystone Arsenal ในเชสเตอร์ รัฐเพนซิลเวเนีย ซึ่งเป็นโรงงานผลิตอาวุธขนาดเล็กที่ใหญ่ที่สุดในโลกในช่วงเวลานั้น ได้ทำการผลิตอาวุธปืนอย่างปืนเล็กยาว แพทเทิร์น 1914 เอ็นฟิลด์ สำหรับกองทัพบกบริติช และปืนเล็กยาวรุ่นโมซิน-นากองท์ สำหรับรัสเซีย[3]

 
นายพล จอห์น ที ทอมป์สันกำลังถือปืน เอ็ม1921

การนำเสนอสงครามสนามเพลาะในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งไดเปลี่ยนยุทธวิธีไปอย่างมาก และในปี ค.ศ. 1916 ทอมป์สันได้ทำการทดลองอาวุธปืนขนาดเล็กแบบอัตโนมัติอีกครั้ง ครั้งนี้ ได้พยายามที่จะออกแบบอาวุธปืนที่กองกำลังทหารสามารถใช้งานได้เพื่อกวาดล้างศัตรูในสนามเพลาะ สิ่งที่เขาเรียกว่า "ไม้กวาดสนามเพลาะ" ทอมป์สันได้ศึกษาการออกแบบหลายครั้งและประทับใจกับระบบ delayed-blowback breech ที่ถูกออกแบบโดย จอห์น บลิช ผู้บัญชาการในกองทัพเรือสหรัฐ ด้วยการเป็นหุ้นส่วนของบลิช ทำให้ทอมป์สันได้รับเงินร่วมทุนที่จำเป็นในการก่อตั้งบริษัท Auto-Ordnance และเริ่มทำงานด้านการออกแบบในสิ่งที่กลายเป็นปืนกลมือทอมป์สันในที่สุด[4]

เมื่อสหรัฐได้เข้าร่วมสงครามในที่สุดในปี ค.ศ. 1917 ทอมป์สันกลับเข้าสู่กองทัพบกและได้รับเลื่อนตำแหน่งยศเป็นนายพลจัตวา เขาได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการคลังสรรพาวุธตลอดช่วงที่เหลือของสงคราม ซึ่งเขาสามารถดูแลการผลิตอาวุธปืนขนาดเล็กทั้งหมดให้กับกองทัพบก สำหรับการปฏิบัติหน้าที่ในครั้งนี้ เขารับเหรียญปฏิบัติหน้าที่ดีเด่น(Distinguished Service Medal) เขาได้ลาออกจากกองทัพอีกครั้งในช่วงหลังสงครามในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1918 และกลับมาทำงานต่อเพื่อทำให้ "ปืนทอมมี" ได้เสร็จสมบูรณ์

แต่เดิม ทอมป์สันได้ดำเนินตามแนวคิวของปืนเล็กยาวอัตโนมัติ: ปืนเล็กยาวที่ใช้หลักการ delayed-blowback ของบลิช เพื่อหลีกเลี่ยงความซับซ้อนของหลักการสะท้อนและหลักการทำงานด้วยแก๊ส การทดสอบพบว่าปัญหาทางทหารด้วยกระสุนขนาด .30-06 นั้นทรงพลังเกินกว่าที่จะทำงานได้อย่างน่าพอใจโดยใช้ระบบของบลิช

ในที่สุด ทอมป์สันก็ได้ตัดสินใจใช้กระสุนขนาด .45 แบบเดียวกันในปืนกลมือทอมป์สันที่เขาได้ตรวจสอบแล้วว่า สามารถใช้ได้กับเอ็ม1911 ในขณะที่อยู่ในกองทัพบก อาวุธดังกล่าวได้รับการจดสิทธิบัตรในปี ค.ศ. 1920 แต่แหล่งที่มาสำคัญของสัญญาได้สิ้นสุดลงด้วยการสงบศึก ดังนั้น ทอมป์สันจึงได้ขายอาวุธดังกล่าวให้กับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของพลเรือน ซึ่งได้ซื้อมันในปริมาณที่น่านับถือ อย่างไรก็ตาม ในปี ค.ศ. 1928 ยอดขายได้ตกต่ำลงทำให้บริษัทเข้าสู่วิกฤตทางการเงินและทอมป์สันได้ถูกแทนที่เป็นหัวหน้าบริษัท Auto-Ordnance[5]

เสียชีวิต

ทอมป์สันได้เสียชีวิต เมื่ออายุ 79 ปี ในวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ. 1940[6] และศพถูกฝังไว้ที่บริเวณสถาบันวิชาทหารสหรัฐในเวสต์พอยต์ รัฐนิวยอร์ก ไม่นานภายหลังจากที่เขาเสียชีวิต ปรากฏว่าสหรัฐได้เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สอง ทำให้กองทัพบกได้สั่งซื้อปืนกลมือทอมป์สันในจำนวนปริมาณมากและถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวางในช่วงความขัดแย้งนั้น

อ้างอิง

  1. http://www.nfatoys.com/tsmg/web/genthomp.htm John T. Thompson; A Brief History
  2. Caraway, Robin (2009). Newport: The Sin City Years. ISBN 9780738568577.
  3. Hallahan, William H. (1994). Misfire: The Story of how America's Small Arms have failed our military. New York: Charles Scribner's Sons. p. 337. ISBN 0684193590.
  4. http://www.sightm1911.com/lib/history/background.htm#test The Thompson-LaGarde Cadaver Tests
  5. http://www.sightm1911.com/lib/history/background.htm#test The Thompson-LaGarde Cadaver Tests
  6. https://www.findagrave.com/memorial/3655 John Taliaferro Thompson