ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประวัติศาสตร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
KittapatR (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มหัวข้อวิธีการทางประวัติศาสตร์
KittapatR (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 74:
ในทางตรงกันข้ามกับการบอกว่าประวัติศาสตร์เป็นสังคมศาสตร์ นักประวัติศาสตร์อย่าง[[ฮิวจ์ เทรเวอร์-โรเปอร์]], [[จอห์น ลูคักส์]], [[โดนัลด์ เครตัน]], [[เกิร์ทรูด ฮิมเมลฟาร์บ]], และ[[เจอร์ราด ริทเตอร์]] ได้โต้เถียงว่าจุดสำคัญในงานของนักประวัติศาสตร์ คือ พลังของการ[[จินตนาการ]] และดังนั้นจึงคัดค้านว่าประวัติศาสตร์ควรถูกเข้าใจว่าเป็นศิลปะ นักประวัติศาสตร์ชาวฝรั่งเศสที่อยู่ใน[[สำนักแอแน็ล]]ได้เสนอประวัติศาสตร์เชิงปริมาณ โดยใช้ข้อมูลดิบในการติดตามชีวิตของปัจเจกตัวอย่าง และเป็นสิ่งสำคัญในการสถาปนา[[ประวัติศาสตร์วัฒนธรรม]] (cf. ''[[histoire des mentalités]]'') นักประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาอย่าง [[เฮอเบิร์ต บัทเทอร์ฟิลด์]], [[แอ็นสท์ โนลต์]], และ[[จอร์จ มอส]] ได้โต้เถียงในเรื่องความสำคัญของแนวคิดในประวัติศาสตร์ นักประวัติศาสตร์ชาวอเมริกันซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากยุคสิทธิพลเมือง สนใจในผู้คนที่ถูกหลงลืมโดยทางการอย่าง ชนกลุ่มน้อย, เชื้อชาติ, และกลุ่มทางเศรษฐกิจสังคม ส่วนประเภทของ[[ประวัติศาสตร์สังคม]]อื่นที่เกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 คือ ''[[Alltagsgeschichte]]'' (ประวัติศาสตร์ของชีวิตในทุก ๆ วัน) นักวิชาการอย่าง [[มาร์ติน บร็อซาท]], [[เอียน เคอร์ชอว์]], และ[[เด็ทเลฟ พ็อยแคร์ท]] ได้ค้นหาเพื่อศึกษาว่าชีวิตในทุก ๆ วันของคนธรรมดาเป็นอย่างไรในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสมัย[[นาซี]]
 
[[นักประวัติศาสตร์มาร์กซิสต์]]อย่าง [[อีริก ฮอบส์บอวม์]], [[อี พี ทอมป์สัน]], [[โรดนีย์ ฮิลตัน]], [[ฌอร์ฌ เลอแฟฟวร์]], [[ยูจีน จีโนเวสซี]], [[ไอแซค ดอยช์เชอร์]], [[ซี แอล อาร์ เจมส์]], [[ทีโมธี เมสัน]], [[เฮอเบิร์ต แอปเธเคอร์]], [[อาร์โน เจ เมเยอร์]], และ [[คริสโตเฟอร์ ฮิลล์]] ได้ค้นคว้าเพื่อยืนยันทฤษฎีของ[[คาร์ล มาร์กซ]] โดยการวิเคราะห์ประวัติศาสตร์จากมุมมองแบบมาร์กซิสต์ ซึ่งผลตอบรับจากการตีความประวัติศาสตร์แบบมาร์กซิสต์นี้ นักประวัติศาสตร์อย่าง [[ฟรองซัว ฟูเรต์]], [[ริชาร์ต ไปปส์]], [[เจ ซี ดี คลาร์ก]], [[โรล็อง มูนเย]], [[เฮนรี แอชบี เทอเนอร์]], และ [[โรเบิร์ต คอนเควสต์]] ได้เสนอการตีความประวัติศาสตร์แบบต่อต้านมาร์กซิสม์ นักประวัติศาสตร์[[สตรีนิยม]]อย่าง [[โจน วัลแลค สก็อตต์]], [[คลาวเดีย คูนส์]], [[นาตาลี ซีมอน เดวีส์]], [[ชีเลีย โรว์บอธแธม]], [[กีเซลา บ็อค]], [[เกอร์ดา เลอร์เนอร์]], [[เอลิซาเบ็ธ ฟอกซ์-จีโนวีเซ]], และ[[ลินน์ ฮันต์]] ได้โต้ในเรื่องความสำคัญในการศึกษาประสบการณ์ของผู้หญิงในอดีต โดยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ นักปรัชญาคิด[[ยุคแนวคิดหลังสมัยใหม่ยุคนวนิยม|หลังยุคนวนิยม]]ได้พยายามท้าทายการยืนยันได้และความต้องการในการศึกษาประวัติศาสตร์อยู่บนพื้นฐานว่า ประวัติศาสตร์ทั้งหมดอยู่บนฐานของการตีความส่วนบุคคลในแหล่งข้อมูลนั้น ซึ่งในปี 1997 หนังสือ ''In Defence of History'' ของ[[รีชาร์ต เจ อีวานส์]]ได้พยายามแก้ต่างถึงคุณค่าของประวัติศาสตร์ และได้มีการแก้ต่างจากการวิจารณ์แนวยุคหลังสมัยใหม่ในหนังสืออย่าง ''The Killing of History'' ที่ออกจำหน่ายเมื่อ 1997 ของ[[คีธ วินด์ชคัตเทิล]] อีกด้วย
 
ในวันนี้ นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ได้เริ่มต้นกระบวนการวิจัยของพวกเขาในหอจดหมายเหตุ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ดิจิตอลหรือเป็นกายภาพก็ตาม พวกเขามักจะเสนอข้อโต้เถียงและใช้งานวิจัยของพวกเขามาสนับสนุน [[จอห์น เอช อาร์โนลด์]]ได้เสนอว่า ประวัติศาสตร์ คือ การโต้เถียง ซึ่งสร้างความเป็นไปได้ในการสร้างความเปลี่ยนแปลง<ref>{{Cite book|last=Arnold, John, 1969-|url=https://www.worldcat.org/oclc/53971494|title=History : a very short introduction|isbn=978-0-19-154018-9|location=Oxford|oclc=53971494}}</ref> บริษัทสารสนเทศดิจิตอลอย่าง [[กูเกิล]] ได้จุดประกายความขัดแย้งขึ้นเหนือบทบาทของการตรวจพิจารณาทางอินเตอร์เน็ตในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศ<ref>King, Michelle T. (2016). "Working With/In the Archives". ''Research Methods for History'' (2nd ed.). Edinburgh: Edinburgh University Press.</ref>