ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โทรทัศน์ในประเทศไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 74:
=== กำเนิดโทรทัศน์เสรี ยุครุ่งเรืองของรายการข่าว (พ.ศ. 2535 - 2540) ===
{{โครง-ส่วน}}
เนื่องจากสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทยในขณะนั้นมีเพียง 5 ช่อง และมีถึง 3 ช่องที่หน่วยงานของรัฐบาลดำเนินการเอง (ททบ.5, ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท. และ สสทสทท.11) รวมถึงอีก 2 ช่องที่ถึงแม้เอกชนจะดำเนินงาน แต่ก็ทำสัมปทานกับหนวยงานของรัฐ (ไทยทีวีสีช่อง 3, ช่อง 7 สี) ประชาชนจึงเชื่อว่าในเหตุการณ์[[พฤษภาทมิฬ]] ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2535 มีการใช้อำนาจรัฐบิดเบือนข้อมูลข่าวสารทางการเมือง ทำให้ผู้ชมโทรทัศน์ของรัฐไม่สามารถรับรู้ความจริงเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ทางการเมืองขณะนั้นได้ตามปกติ [[คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 49|รัฐบาลหลังจากนั้น]]จึงมีดำริจัดตั้งสถานีโทรทัศน์เสรี เพื่อนำเสนอข่าวสารและสาระความรู้ไปสู่ประชาชนทั่วประเทศ ด้วยการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเช่าสัมปทานเพื่อเป็นอิสระอย่างแท้จริง
 
โดยสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จัดสรรช่องสัญญาณที่ 26 ใน[[UHF|ย่านความถี่สูงยิ่ง]] (UHF) เพื่อเปิดประมูลสัมปทาน ให้เข้าดำเนินกิจการสถานีโทรทัศน์เสรีเมื่อปี พ.ศ. 2538 ซึ่งผู้ชนะคือ กลุ่มบริษัท สยามทีวีแอนด์คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด นำโดย[[ธนาคารไทยพาณิชย์]] ได้เข้ามาดำเนินโครงการดังกล่าวโดยก่อตั้งบริษัท สยามอินโฟเทนเมนต์ จำกัด ขึ้นมาใหม่เพื่อเป็นนิติบุคคลดำเนินกิจการนี้ และลงนามในสัญญาสัมปทานกับสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ [[3 กรกฎาคม]] ปีเดียวกัน โดยตั้งชื่อว่า ''[[สถานีโทรทัศน์ไอทีวี]]'' และเริ่มออกอากาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 โดยวางนโยบายให้ความสำคัญกับรายการข่าวและสถานการณ์ปัจจุบัน ทั้งนี้ กลุ่มสยามอินโฟเทนเมนต์มอบหมายให้[[เนชั่นมัลติมีเดียกรุ๊ป|เครือเนชั่น]]ซึ่งเข้าร่วมถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 10 เช่นเดียวกับนิติบุคคลผู้ถือหุ้นรายอื่น เป็นองค์กรหลักในการบริหารจัดรายการข่าว และส่ง[[เทพชัย หย่อง]] มาเป็นบรรณาธิการข่าวคนแรกของไอทีวี เพื่อฝึกอบรมผู้สื่อข่าวและผู้ประกาศข่าว ส่งผลให้ข่าวไอทีวีมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก รวมถึงได้รับรางวัลมากมาย ตลอดระยะเวลา 11 ปีเศษของสถานีฯ