ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหานวดารา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขของ 223.206.245.25 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย JBot
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
Ethan2345678 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว
บรรทัด 1:
{{ลิงก์ไปภาษาอื่น}}
[[ไฟล์:SN 2006gy, NASA illustration.jpg|thumb|250px|ภาพจำลองจากศิลปินแสดงให้เห็นมหานวดาราซูเปอร์โนวา SN 2006gy ที่[[กล้องโทรทรรศน์อวกาศรังสีเอกซ์จันทรา]]จับภาพได้ อยู่ห่างจากโลก 240 ล้าน[[ปีแสง]]]]
 
'''มหานวดารา<ref name="TASDict"> นิพนธ์ ทรายเพชร, อารี สวัสดี และ บุญรักษา สุนทรธรรม. พจนานุกรมศัพท์ดาราศาสตร์ อังกฤษ-ไทย เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542. กรุงเทพฯ : สมาคมดาราศาสตร์ไทย, 2548. 267 หน้า. ISBN 974-93621-6-0</ref>''' หรือ '''ซูเปอร์โนวา''' ({{lang-en|supernova}}) เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ระเบิดที่มีพลังมากที่สุดที่รู้จัก นั่นคือเป็นการระเบิดของ[[ดาวฤกษ์]]มวลมากเมื่อสิ้นอายุขัยแล้ว จะเปล่งแสงสว่างมหาศาลและระเบิดออกรัศมีสว่างวาบเป็นรัศมีเพียงชั่วครู่ ก่อนจะเลือนจางลงในเวลาสัปดาห์หรือเดือนเท่านั้น
 
ระหว่างช่วงเวลาสั้นๆ ที่เกิดมหานวดาราซูเปอร์โนวานี้ มันจะปลดปล่อยพลังงานมหาศาลขนาดเท่ากับพลังงานของ[[ดวงอาทิตย์]]ดวงหนึ่งสามารถปลดปล่อยได้ทั้งชีวิตทีเดียว การระเบิดจะขับไล่ดวงดาวและวัตถุต่างๆ ที่อยู่ใกล้ให้กระเด็นออกไปไกลด้วยความเร็ว 10% ของ[[ความเร็วแสง]] (30,000 กิโลเมตร/วินาที) และเกิดคลื่นกระแทกแผ่ออกไปโดยรอบตรง[[ช่องว่างระหว่างดวงดาว]] การกระแทกนี้ได้กวาดเหล่าแก๊สและฝุ่นละอองออกไปอย่างรวดเร็ว เรียกปรากฏการณ์นี้ว่าการเกิด[[ซากมหานวดารา|ซากซูเปอร์โนวา]]
 
แต่ละประเภทของมหานวดาราซูเปอร์โนวา ที่ยังปรากฏให้เห็นอยู่ แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ซึ่งเกิดพลังงานที่เกิดจาก[[นิวเคลียร์ฟิวชัน]] หลังจากแกนกลางของดาวมีอายุมวลมากเข้าสู่ความตาย และเริ่มสร้างพลังงานจากนิวเคลียร์ฟิวชัน อยู่ภายใต้แรงโน้มถ่วงที่จะนำไปสู่การยุบตัวของดวงดาว จนอาจกลายเป็น[[ดาวนิวตรอน]]หรือไม่ก็[[หลุมดำ]] การปลดปล่อยพลังงานศักย์โน้มถ่วง ทำให้เกิดทั้งความร้อนและสาดผิวชั้นนอกของดวงดาวให้กระเด็นออกไป ในทางกลับกัน [[ดาวแคระขาว]]อาจสะสมเพิ่มพูนสสารจนเพียงพอจากดาวข้างเคียงกัน หรือที่เรียกว่า[[ระบบดาวคู่]] (binary star system) เป็นการเพิ่มอุณหภูมิแกนกลางจนกระทั่งเกิดฟิวชันถึงระดับของธาตุคาร์บอน แกนกลางของดาวฤกษ์ที่ร้อนระอุซึ่งอยู่ในสภาวะยุบตัวเนื่องจากมีมวลเกินค่า[[ขีดจำกัดของจันทรเศกขาร]] (Chandrasekhar limit) ซึ่งมีค่าประมาณ 1.38 เท่าของ[[มวลดวงอาทิตย์|ดวงอาทิตย์]] เกิดเป็นมหานวดาราประเภท T1 (Type I Supernovae) แต่ว่าดาวแคระขาวจะแตกต่างตรงที่มีการระเบิดที่เล็กกว่าโดยใช้เชื้อเพลิงจาก[[ไฮโดรเจน]]ที่ผิวของมัน เรียกว่า โนวาดาวที่มีมวลน้อย (ประมาณไม่ถึงเก้าเท่าของดวงอาทิตย์) เช่นดวงอาทิตย์ของเรา จะวิวัฒน์ไปเป็นดาวแคระขาวโดยปราศจากการเกิดมหานวดารา
 
ประเภทของมหานวดาราที่เราคุ้นเคยที่สุดก็คือ มหานวดาราประเภท T2 (Type II Supernovae) เกิดจากการสิ้นสุดวงจรชีวิตของ[[ดาวฤกษ์]] เป็นการดับของดาวฤกษ์ที่มีขนาดยักษ์กว่าดวงอาทิตย์ของเรา โดยการระเบิดจะเกิดขึ้นอย่างรุนแรงและรวดเร็ว เมื่อเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ในแกนกลางของดาวฤกษ์หมดลง แรงดันที่เกิดจาก[[อิเล็กตรอน]]ผลักกันก็จะหายไป ดาวฤกษ์จะยุบตัวลงเนื่องจาก[[แรงโน้มถ่วง]]อะตอมธาตุในแกนกลางดาวฤกษ์บีบอัดตัวจนชนะแรงผลักจากประจุ [[อะตอม]]จึงแตกออกเหลือแต่[[นิวตรอน]]อัดตัวกันแน่นแทน เปลือกดาวชั้นนอกๆ ที่บีบอัดตามเข้ามาจะกระแทกกับแรงดันจากนิวตรอน จนกระดอนกลับและระเบิดกลายเป็นมหานวดารา วัสดุสารจากการระเบิดมหานวดาราจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเกือบเท่า[[ความเร็วแสง]] ที่ใจกลางของมหานวดาราจะมีก้อนนิวตรอนซึ่งจะเรียกว่า [[ดาวนิวตรอน]] (neutron star)