ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อัตติลา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ponpan (คุย | ส่วนร่วม)
Fifakaka2011 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
{{กล่องข้อมูล กษัตริย์ย่อ
| name = อัตติลา<br /><small>Attila the Hun</small>
| kingdom = จักรพรรดิประมุขแห่ง[[จักรวรรดิฮัน]]
| image = Eugene Ferdinand Victor Delacroix Attila fragment.jpg
| imagesize = 220px
บรรทัด 15:
| wiki_links = [[:หมวดหมู่:กษัตริย์|กษัตริย์]]
}}
'''อัตติลา''' หรือที่ใช้อ้างอิงส่วนใหญ่ '''อัตติลาเดอะฮัน''' ({{lang-en|Attila the Hun}}) ([[ค.ศ. 406]] – [[ค.ศ. 453]]) เป็นจักรพรรดิประมุขแห่ง[[ชาวฮัน]]ผู้ครอง[[จักรวรรดิฮัน]] (Hunnic Empire) ซึ่งประกอบไปด้วยกลุ่มชนเผ่าต่างๆทั้ง [[ชาวฮัน|ฮัน]] [[ชาวออสโตรกอท|ออสโตรกอท]] อลานส์ และเผ่าอนารยชนอื่นๆ ในดินแดน[[ยุโรปกลาง]]และ[[ยุโรปตะวันออก]] ระหว่าง [[ค.ศ. 434]] จนถึงเดือนมีนาคม [[ค.ศ. 453]] ที่พระองค์ได้เสด็จสวรรคตลง ในรัชสมัยของพระองค์สามารถครอบครองดินแดนตั้งแต่ [[ประเทศเยอรมนี]]ไปจนถึง[[แม่น้ำยูรัล]] และจาก[[แม่น้ำดานูบ]]ไปจนถึง[[ทะเลบอลติก]] กินพื้นที่มากกว่า 4 ล้านตารางกิโลเมตร<ref>Rein Taagepera "Size and Duration of Empires: Growth-Decline Curves, 600 B.C. to 600 A.D.", Social Science History Vol. 3, 115–138 (1979)</ref> นับเป็น[[รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่|การครอบครองดินแดนที่มากที่]]สุดอาณาจักรหนึ่งใน[[ยุคมืด]]
 
ในรัชสมัยการปกครองของอัตติลาทรงเป็นประมุขผู้สร้างความหวาดหวั่นและถือเป็นศัตรูที่อันตรายที่สุดแก่[[จักรวรรดิโรมันตะวันออก]]และ[[จักรวรรดิโรมันตะวันตก]] พระองค์ทรงรุกราน[[คาบสมุทรบอลข่าน]]ถึงสองครั้ง แต่พระองค์ไม่สามารถรุกรานกรุง[[คอนสแตนติโนเปิล]]ได้สำเร็จ และจากผลพวงของการพ่ายแพ้ใน[[เปอร์เซีย]] ในปี ค.ศ. 441 พระองค์ได้ทำการรุกรานยังดินแดนจักรวรรดิโรมันตะวันออก ([[อาณาจักรไบแซนไทน์]]) ซึ่งประสบผลสำเร็จในฝั่งตะวันตก พระองค์ยังทรงนำทัพเข้าไปยังดินแดน[[กอล]] ([[ประเทศฝรั่งเศส]]ปัจจุบัน) ไปจนถึง[[ออร์เลอ็อง]] ก่อนที่พระองค์จะทรงพ่ายแพ้ในยุทธการที่ชาลง (Battle of Chalons)
บรรทัด 50:
 
== ทางตะวันตก ==
ในปี ค.ศ. 450 อัตติลาก็ประกาศความตั้งใจที่โจมตีราชอาณาจักร[[ตูลูส]][[วิซิกอธ]]ผู้มีอำนาจ โดยหันไปทำสัญญา[[military alliance|พันธมิตรทางทหาร]]กับ[[Valentinian III|จักรพรรดิวาเล็นติเนียนที่ 3]] แห่ง[[จักรวรรดิโรมันตะวันตก]] เดิมอัตติลามีความสัมพันธ์อันดีกับ[[จักรวรรดิโรมันตะวันตก]]และประมุข “''[[โดยพฤตินัย]]''” ของจักรวรรดิ--[[Flavius Aetius|เฟลเวียส เอเทียส]] ผู้ที่หนีไปลี้ภัยอยู่กับชาวฮันอยู่ระยะหนึ่งในปี ค.ศ. 433 และได้รับการช่วยเหลือทางการทหารจากอัตติลาในการต่อสู้กับ[[กอธ]]และ[[Bagaudae|บากอแด]] (Bagaudae) จนได้ตำแหน่งเกียรติยศ “Magister militum”(ผู้บัญชาการนายทหาร) ในตะวันตก นอกจากนั้นแล้วบรรณาการและการติดต่อทางการทูตโดย[[Genseric|เจนเซอริค]]ผู้ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อก็อาจจะมีอิทธิพลในการตัดสินใจของอัตติลาด้วย
 
แต่ในฤดูใบไม้ผลิของปี ค.ศ. 450 [[Justa Grata Honoria|จัสตา กราตา โฮโนเรีย]] พระขนิษฐาของ[[Valentinian III|จักรพรรดิวาเล็นติเนียน]]ผู้พยายามหนีจากการที่จะต้องสมรสกับ[[วุฒิสภาโรมัน|สมาชิกวุฒิสภาโรมัน]]ก็ส่งสาส์นถึงอัตติลาพร้อมกับแหวนหมั้นเพื่อของร้องให้ช่วย โฮโนเรียอาจจะมิได้ตั้งใจที่เสนอการแต่งงาน แต่อัตติลาตีความหมายของการสื่อสารดังว่าและยอมตกลง โดยขอดินแดนครึ่งหนึ่งของจักรวรรดิโรมันตะวันตกเป็นสินสอดทองหมั้น เมื่อจักรพรรดิวาเล็นติเนียนทราบแผน แทนที่จะทรงสั่งให้ฆ่าโฮโนเรีย พระองค์ก็ทรงสั่งเนรเทศตามคำร้องของของพระราชมารดา[[Galla Placidia|กาลลา พลาซิเดีย]] และแล้วก็ทรงส่งพระราชสาส์นไปถึงอัตติลาปฏิเสธความถูกต้องของการขอแต่งงานของโฮโนเรียอย่างแข็งขัน แต่อัตติลาผู้ทรงตั้งใจมานานแล้วที่จะรุกรานโรมก็ทรงส่งราชทูตไปยัง[[ราเวนนา]]เพื่อไปประกาศความบริสุทธิ์ของโฮโนเรีย และยืนยันว่าการขอแต่งงานของโฮโนเรียเป็นสิ่งที่ถูกต้อง และพระองค์จะทรงเดินทางมารับโฮโนเรียผู้ที่ทรงถือว่าเป็นของพระองค์อย่างถูกต้อง ในปี ค.ศ. 451 อัตติลาจึงใช้ข้ออ้างนี้เดินทางเข้ามารุกรานโรมในฐานะ “สามีผู้ถูกทรยศ” แต่โรมรอดตัวมาได้วยความช่วยเหลือของ[[วิซิกอธ]] อัตติลาจึงไม่ได้ช่วยโฮโนเรีย และในที่สุดโฮโนเรียก็ถูกส่งตัวกลับโรม แต่จักรพรรดิวาเล็นติเนียนทรงพยายามเลี่ยงข้อครหาโดยมิได้ทรงสั่งให้ประหารชีวิต แต่ก็ไม่ทรงต้องการที่จะเนรเทศโฮโนเรียอีก ในที่สุดโฮโนเรียก็ต้องสมรสกับสมาชิกวุฒิสภาเฟลเวียส บัสซัส เฮอร์คิวลานัสผู้ที่พยายามหลีกเลี่ยงมาตั้งแต่แรก