ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
Magnamonkun (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 148:
อย่างไรก็ดีในสมัย [[ศักดิ์สยาม ชิดชอบ]] เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และ นิรุฒ มณีพันธ์ เป็นผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้มีการทบทวนบทบาทการให้บริการของ ร.ฟ.ท.​ และรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. ใหม่ โดยลงมติให้ ร.ฟ.ท. ต้องเปิดประมูลหาเอกชนเข้ามาดำเนินการแทน รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. เนื่องมาจากความล่าช้าในการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม การก่อสร้างส่วนต่อขยายเพื่อขยายเส้นทาง และการขอเพิ่มงบประมาณในส่วนของ Variation Order (VO) ที่เกิดขึ้นจากการปรับรายละเอียดโครงการในสัญญาที่ 1 และสัญญาที่ 3 ประกอบกับวงเงินกู้ที่ใช้ก่อสร้างโครงการของ[[องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น]]ได้หมดลงและไม่สามารถกู้เพิ่มได้อีก และรัฐบาลไทยจำเป็นต้องดึงงบประมาณคืนส่วนหนึ่งเพื่อแก้ปัญหา[[การระบาดทั่วของไวรัสโคโรนาในประเทศไทย พ.ศ. 2563|การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19]] ทำให้กระทรวงคมนาคมตัดสินใจทบทวนบทบาทของ ร.ฟ.ท. และขอให้เปิดประมูลโครงการโดยเร็วที่สุด
 
ทั้งนี้ ร.ฟ.ท. อยู่ในระหว่างการศึกษารายละเอียดการเปิดประมูลโครงการ และจัดทำรายละเอียดเพื่อเสนอต่อกระทรวงคมนาคมต่อไป คาดว่าการดำเนินการจะแล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2564 ได้เอกชนใน พ.ศ. 2565 และสามารถเปิดให้บริการเต็มรูปแบบได้ใน พ.ศ. 2566 แต่แผนดังกล่าวถูกคัดค้านจากประชาชนตามแนวเส้นทาง สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ การรถไฟแห่งประเทศไทย และสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ รฟฟท. อย่างหนัก เนื่องจากไม่พอใจที่ ร.ฟ.ท. ตัดสินใจยกโครงการให้เอกชน จนทำให้ต้องเลื่อนเปิดดำเนินโครงการออกไป จนกระทั่งเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 ร.ฟ.ท. ได้ขออนุมัติแก้สัญญาจ้างเดินรถของ รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. ต่อคณะกรรมการ ร.ฟ.ท. ใหม่ โดยเพิ่มเงื่อนไขว่า รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จะรับหน้าที่เข้าบริหารรถไฟฟ้าสายสีแดงเพิ่มอีกหนึ่งโครงการแทน ร.ฟ.ท. เป็นการชั่วคราวจนกว่าการประมูลโครงการจะแล้วเสร็จ และจะต้องโอนถ่ายองค์ความรู้ทั้งหมดให้เอกชนที่ประมูลงานได้ สัญญาให้มีผลเมื่อ บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด เข้าเทคโอเวอร์โครงการรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากศยานสุวรรณภูมิใน พ.ศ. 2564
 
== อ้างอิง ==