ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปลาตะโกก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
Tomarzig (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 24:
ปลาตะโกกพบในลุ่มแม่น้ำใหญ่ใน[[ภาคกลาง]]และ[[ภาคอีสาน]] เช่น [[แม่น้ำเจ้าพระยา]], [[แม่น้ำแม่กลอง]], [[แม่น้ำท่าจีน]], [[แม่น้ำโขง]]และสาขา รวมทั้งแหล่งน้ำขนาดใหญ่เช่น [[บึงบอระเพ็ด]]ด้วย
 
เป็นปลาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญชนิดหนึ่ง เนื่องจากเป็นปลาขนาดใหญ่ เนื้ออร่อย จึงมีราคาค่อนข้างสูง นิยมบริโภคโดยการปรุงสด เช่น [[ต้มยำ]] และที่[[จังหวัดอุตรดิตถ์]]นิยมนำมาปรุงเป็นน้ำยาใน[[ขนมจีน|ขนมจีนน้ำยา]] โดยมีชื่อเรียกใน[[ภาษาอีสาน]]ว่า "โจก" และในแถบแม่น้ำตาปีว่า "ถลน" หรือ "สลุน"<ref name="หน้า">หน้า 78, ''ชนิดที่ 2 ปลาตะโกก สัตว์น้ำประจำ จังหวัดอุตรดิตถ์''. "Aqua Knowledge" โดย Title. นิตยสาร Aquarium Biz ปีที่ 4 ฉบับที่ 38: สิงหาคม 2556</ref>
 
ปัจจุบัน [[กรมประมง]]สามารถเพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้ได้โดยการฉีดฮอร์โมนแล้วผสมเทียมวิธีแห้ง สีของไข่มีสีเหลืองน้ำตาล ลักษณะเป็นไข่แบบครึ่งจมครึ่งลอย และส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงเป็น[[ปลาเศรษฐกิจ]] โดยถือเป็นปลาประจำจังหวัดปราจีนบุรีและอุตรดิตถ์<ref name="หน้า"/> และนิยมเลี้ยงเป็น[[ปลาสวยงาม]]โดยเฉพาะตัวที่มี[[ปลาแปลก|ลำตัวสั้นกว่าปกติ]]<ref>[http://www.nicaonline.com/articles1/site/view_article.asp?idarticle=111 การเพาะและขยายพันธุ์ปลาตะโกก]</ref>