55
การแก้ไข
(ปรับปรุงบางส่วน) |
Admf victer (คุย | ส่วนร่วม) (กรรมวิธี) |
||
== ประวัติ ==
น้ำเงี้ยว
ในการปรุงนั้น น้ำพริกน้ำเงี้ยวนั้นจะมีถั่วเน่าเป็นส่วนประกอบ (แตกต่างจากน้ำพริกอ่องที่ไม่ได้ใส่ถั่วเน่า) พริกแดงแห้งเม็ดใหญ่ หอมแดง กระเทียม ผสมตำจนละเอียด ลงคั่วในน้ำมันให้หอม เติมน้ำให้ท่วม และใช้เกสรดอก[[งิ้ว (พืช)|งิ้วป่า]] ซึ่งเป็นงิ้วชนิดดอกแดงตากแห้ง (ในภาษาเหนือ งิ้ว จะหมายถึง [[นุ่น|ต้นนุ่น]] ได้ด้วย มักจะเรียกว่า งิ้วดอกขาว) ใส่ลงไป ซึ่งดอกงิ้วเป็นส่วนประกอบสำคัญในการปรุงน้ำเงี้ยว ตามด้วยมะเขือส้ม (มะเขือเทศสีดา) เนื้อสัตว์ต่างๆ (นิยมใช้เนื้อ หมู ไก่) เลือดก้อนหั่นเต๋า ตุ๋นประมาน 2-3 ชั่วโมง ปรุงรสด้วย น้ำปลา ผงปรุงรส เกลือ น้ำตาลเพื่อตัดรสให้กลมกล่อม
น้ำเงี้ยวเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมในหมู่ชาวล้านนามาแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบัน<ref>[https://www.academia.edu/6002651/On_the_Role_of_Food_Habits_in_the_Context_of_the_Identity_and_Cultural_Heritage_of_South_and_South_East_Asia On the Role of Food Habits in the Context of the Identity and Cultural Heritage of South and South East Asia]</ref><ref>[http://library.cmu.ac.th/ntic/en_lannafood/detail_lannafood.php?id_food=71 Lanna Food]</ref> น้ำเงี้ยวมักจะมีการปรุงจัดเลี้ยงในงานต่าง ๆ ถือว่าเป็นอาหารมงคลอย่างหนึ่งของชาวล้านนา
|
การแก้ไข