ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รถไฟฟ้าสายสีทอง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Magnamonkun (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 147:
== การให้บริการ ==
=== การดำเนินการ ===
ภายหลังจากที่ กรุงเทพมหานคร ได้รับเงินสนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้างจาก บริษัท ไอคอนสยาม จำกัด หรือศูนย์การค้า[[ไอคอนสยาม]] เป็นจำนวนเงิน 2,080 ล้านบาท เพื่อขอให้มีการก่อสร้างรถไฟฟ้าเข้าสู่ศูนย์การค้า เพื่อไม่ให้เป็นการปฏิบัติขัดต่อ พ.ร.บ. องค์การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 กรุงเทพมหานครจึงเซ็นสัญญามอบสัมปทานโครงการให้กับ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ซึ่งเป็นวิสาหกิจของกรุงเทพมหานครเป็นผู้ดำเนินงาน โดยกรุงเทพธนาคมได้ว่าจ้างให้ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างงานโยธาของโครงการในราคาต่ำสุดที่ 1,070 ล้านบาท และได้ว่าจ้าง บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ซึ่งเป็นผู้เสนองานติดตั้งระบบรถไฟฟ้าในราคาต่ำสุดที่ 13,520 ล้านบาท โดยบีทีเอสซี ได้ว่าจ้างกลุ่มกิจการร่วมค้าซึ่งประกอบไปด้วย [[บอมบาร์ดิเอร์|บริษัท บอมบาร์ดิเอร์ ทรานสปอร์เทชั่น ซิกแนล (ประเทศไทย) จำกัด]] บริษัท เอเอ็มอาร์ เอเชีย จำกัด และบริษัท เอสที อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด ในการจัดหาขบวนรถไฟฟ้า ระบบอาณัติสัญญาณ ระบบเครื่องกล ระบบการจัดเก็บค่าโดยสาร และระบบโทรคมนาคมที่เกี่ยวข้องต่อไป ส่วนบีทีเอสซีจะรับหน้าที่เป็นผู้เดินรถไฟฟ้า จัดเก็บค่าโดยสาร และซ่อมบำรุงรักษาโครงการตลอดอายุสัมปทานของกรุงเทพธนาคม หรือจนกว่าสัญญาสัมปทานของโครงการรถไฟฟ้าบีทีเอสหมดอายุ
 
การพัฒนาและบริหารพื้นที่บนสถานีและป้ายโฆษณาบนสถานีและบนตัวรถ เป็นกรรมสิทธิ์ของ บริษัท ไอคอนสยาม จำกัด ตลอดอายุสัญญาสัมปทาน ถือเป็นหนึ่งในข้อตกลงในการสนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้างโครงการ โดยไอคอนสยาม มีแผนใช้โครงการประชาสัมพันธ์ห้างสรรพสินค้า ร้านค้า และกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นภายในศูนย์การค้าไอคอนสยาม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มยอดลูกค้าของศูนย์การค้าโดยตรง