ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ราชวงศ์จักรี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 23:
'''ราชวงศ์จักรี''' เป็น[[ราชวงศ์]]ถัดจาก[[สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี|สมเด็จพระเจ้าตากสิน]]แห่ง[[กรุงธนบุรี]] ซึ่งปกครองราชอาณาจักรที่สืบทอด[[กรุงศรีอยุธยา]]มาจนเป็น[[ประเทศไทย]]ในปัจจุบัน เกิดขึ้นจากการที่[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช|สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ทองด้วง)]] ขุนนางซึ่งดำรงตำแหน่ง[[สมุหนายก]] (จักรี) ในราชสำนักของสมเด็จพระเจ้าตากสิน ยึดอำนาจการปกครองและปลงพระชนม์สมเด็จพระเจ้าตากสิน และสถาปนาตนขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แทน (ภายหลังปรากฏพระนามว่า [[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]]) เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325<ref>{{cite web|website=ศิลปวัฒนธรรม|title=รัชกาลที่ 1 ทรงรออะไรถึง 2 ปี ถึงขุดหีบศพพระเจ้าตากฯ มาเผา?|url=https://www.silpa-mag.com/history/article_3132|language=th|date=2559-10-06|accessdate=2564-01-02|author=ปฐมพงษ์ สุขเล็ก|publisher=มติชน|location=กรุงเทพฯ}}</ref> แล้วย้ายศูนย์กลางการปกครองจากกรุงธนบุรีมายัง[[กรุงเทพมหานคร]]ตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 ซึ่งเป็นเมืองหลวงมาจนถึงปัจจุบัน<ref>{{cite web|title=21 เมษายน 'วันสถาปนากรุงเทพมหานคร'|url=https://www.voicetv.co.th/read/355134|language=th|location=กรุงเทพฯ|author=กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี|publisher=วอยซ์ทีวี|date=2559-04-21|accessdate=2564-01-02|website=วอยซ์ทีวี}}</ref>
 
เอกสารหลายฉบับ ทั้งของไทยและของต่างชาติ อ้างถึงความวุ่นวายทางการเมืองในปลายรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินว่า เป็นผลมาจากการที่สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงมีพฤติกรรมพระจริยวัตรผิดแผกไป จนสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ซึ่งอยู่ขณะนำทัพไปญวน (เวียดนาม) ต้องเดินทางกลับมาระงับเหตุ แล้วปลงพระชนม์สมเด็จพระเจ้าตากสิน ก่อนขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แทน อันเป็นจุดเริ่มต้นของราชวงศ์จักรี<ref>{{cite web|title=คำให้การ วันประหาร “พระเจ้าตาก” ฉากสุดท้ายกรุงธนบุรี|publisher=มติชน|date=2563-04-06|accessdate=2564-01-02|language=th|author=ปรามินทร์ เครือทอง|location=Bangkok|url=https://www.silpa-mag.com/history/article_40561|website=ศิลปวัฒนธรรม}}</ref> จากนั้น ราชวงศ์จักรีได้ปราบปรามเชื้อสายของสมเด็จพระเจ้าตากสิน เช่น [[สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท]] พระราชอนุชาของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงให้ "เอาบุตรชายน้อย ๆ ของเจ้าตากสิน...ใส่เรือไปล่มน้ำเสียให้สิ้น" โดยทรงอ้างถึงคำโบราณว่า "ตัดหวายอย่าไว้หนามหน่อ ฆ่าพ่ออย่าไว้ลูก"<ref>{{cite web|url=https://www.silpa-mag.com/history/article_6632|title=วังหน้า “พระยาเสือ” เมื่อต้องโค่นพระเจ้าตาก|date=2563-10-15|author=ปรามินทร์ เครือทอง|accessdate=2564-01-02|language=th|website=ศิลปวัฒนธรรม|publisher=มติชน|location=กรุงเทพฯ}}</ref> และ[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]] (รัชกาลที่ 2) ทรงประหาร[[หม่อมเหม็น]] พระราชโอรสของพระเจ้าตากสิน เมื่อ พ.ศ. 2352 ในเหตุการณ์ที่ระบุว่า มีนกกาคาบหนังสือแจ้งเหตุกบฏมาทิ้งที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท<ref>{{cite web|title=“เจ้าฟ้าเหม็น” โอรสพระเจ้าตากสิน หลานรักพระเจ้าตา ร.๑! เปลี่ยนชื่อหลายครั้งพ้องกับคนถูกประหารทุกชื่อ!|url=https://mgronline.com/onlinesection/detail/9630000038295|language=th|date=2563-04-13|author=โรม บุนนาค|accessdate=2564-01-02|location=กรุงเทพฯ|website=ผู้จัดการออนไลน์|publisher=ผู้จัดการ}}</ref><ref>{{cite web|title=สำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ "เจ้าฟ้าเหม็น" โอรสพระเจ้าตาก!|url=https://www.komchadluek.net/news/today-in-history/343370|date=2561-09-13|accessdate=2564-01-02|website=คมชัดลึก|publisher=คมชัดลึก|location=กรุงเทพฯ}}</ref>
 
ในด้านเชื้อสายของราชวงศ์จักรีนั้น [[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] (รัชกาลที่ 4) มีพระราชหัตถเลขาว่า ต้นตระกูลของราชวงศ์จักรีมิใช่ไทยแท้ แต่เป็นมอญผสมจีนที่สืบทอดกันมาจนถึง[[สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก|สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก (ทองดี)]] พระราชบิดาของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก<ref>{{cite web|language=th|title=ปริศนาเจ้าแม่วัดดุสิต ต้นราชวงศ์จักรี “เจ้า” หรือ “สามัญชน”?|url=https://www.silpa-mag.com/history/article_8207|date=2563-05-29|accessdate=2564-01-02|website=ศิลปวัฒนธรรม|location=กรุงเทพฯ|publisher=มติชน}}</ref> และมีผู้เสนอทฤษฎีว่า ราชวงศ์จักรีอาจสืบเชื้อสายมาจาก[[สมเด็จพระนเรศวรมหาราช]] พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ซึ่งอาจทำให้มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติย้อนไปถึง[[ราชวงศ์พระร่วง]]ที่สืบสายกันใน[[กรุงสุโขทัย]]<ref name = "มตช">{{cite web|title=บรรพบุรุษ ‘ราชวงศ์จักรี’ มาจาก ‘โกษาปาน’ และ ‘สมเด็จพระนเรศ’|url=https://www.matichonacademy.com/content/article_41683|date=ม.ป.ป.|author=Matichon Academy|website=Matichon Academy|publisher=มติชน|location=กรุงเทพฯ|accessdate=2564-01-02}]</ref>