ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อนุสาวรีย์คู่บารมีกู้แผ่นดิน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tmd (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Tmd (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 33:
== ประวัติการก่อสร้าง ==
 
การก่อสร้างอนุสาวรีย์คู่บารมี ณ หัวทุ่งสมรภูมิสวางคบุรี เกิดขึ้นจากความต้องการของประชาชนและผู้เคารพศรัทธาในพระเกียรติคุณและความกล้าหาญของพระองค์ท่านมาช้านาน ต่อมาได้มีการจัดตั้งมูลนิธิ 250 ปี วัดคุ้งตะเภา<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/D/044/49.PDF ประกาศนายทะเบียนมูลนิธิจังหวัดอุตรดิตถ์ เรื่อง จดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ "มูลนิธิ ๒๕๐ ปี วัดคุ้งตะเภา"], เล่ม ๑๓๓ ตอน ๔๔ ง, ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙, หน้า ๔๙-๕๐</ref> เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการจัดสร้าง[[อนุสาวรีย์]] โดยมีนายภีมเดช อมรสุคนธ์ และคณะผู้ศรัทธาจากจังหวัดระยอง เป็นประธานที่ปรึกษา และในวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ประชาชนชาวจังหวัดอุตรดิตถ์ได้พร้อมใจกันจัดพิธีเชิญดวงวิญญาณ[[พระยาพิชัยดาบหัก]] (แทนอัฐิ) ตามโบราณประเพณี และมีพิธีวางศิลาฤกษ์อนุสาวรีย์ฯ โดยมี ฯพณฯ [[ศาสตราจารย์]] นพ.[[เกษม วัฒนชัย]] [[องคมนตรี]] เป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ ซึ่งประชาชนได้นำไม้โบราณมาแกะสลักเป็นอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหักจากไม้ตะเคียนองค์แรกขนาดเท่าครึ่ง เพื่อประดิษฐานในบริเวณดังกล่าวให้ประชาชนผู้เคารพศรัทธาได้ระลึกถึงวีรกรรมความกล้าหาญเสียสละของท่าน ในปี พ.ศ. 2561 เป็นเบื้องต้น<ref> ข่าวสดออนไลน์. (2563). '''เหรียญคู่บารมีกู้แผ่นดิน พระเจ้าตาก-พระยาพิชัยดาบหัก'''. [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.khaosod.co.th/newspaper-column/news_4830891</ref> ต่อมาได้มีการระดมทุนจากการบริจาคจากประชาชนผู้มีจิตศรัทธา และมีการก่อสร้างฐานอนุสาวรีย์สำเร็จมาโดยลำดับ
 
[[ไฟล์:Monument of King Taksin in Wat Kungtapao 2559 3.jpg|thumb|150px|left|ภาพ ฯพณฯ ศาสตราจารย์ นพ.[[เกษม วัฒนชัย]] [[องคมนตรี]] ขณะเป็นประธานในพิธีบวงสรวงวางศิลาฤกษ์อนุสาวรีย์คู่บารมีกู้แผ่นดิน]]
 
ใน พ.ศ. 2563 ซึ่งเป็นวาระครบ 250 ปี วัดคุ้งตะเภา และครบรอบ 250 ปี การสำเร็จศึกปราบ[[ชุมนุมเจ้าพระฝาง]] สิ้นสุด[[สภาพจลาจลหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง]] และครบรอบ 250 ปี ทรงสถาปนายศ[[พระยาพิชัยดาบหัก]] ประชาชนชาวอุตรดิตถ์จึงได้พร้อมใจกันจัดสร้าง[[พระบรมราชานุสาวรีย์]]หล่อด้วยทองเหลืองและทองแดงรมดำ มีขนาดเท่าครึ่ง สูง 3.10 เมตร และ 2.70 เมตร ใช้เวลา 6 เดือนในการออกแบบและทำการปั้นโดย อาจารย์ยุทธกิจ ประสมผล หล่อโดย อาจารย์สงกรานต์ กุณารบ นายช่างศิลปกรรม[[กรมศิลปากร]] โดยคณะสงฆ์จังหวัดอุตรดิตถ์ นำโดยพระปัญญากรโมลี เจ้าคณะ[[จังหวัดอุตรดิตถ์]] พระเทพสิทธาคม เจ้าคณะ[[จังหวัดตาก]] พระสุขวโรทัย ที่ปรึกษาเจ้าคณะ[[จังหวัดสุโขทัย]] [[พระสมุห์สมชาย จีรปุญฺโญ|หลวงพ่อหลาม จีรปุญฺโญ]] เจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภา และพระเกจิคณาจารย์จากจังหวัดหัวเมืองฝ่ายเหนือ 9 จังหวัด ที่เกี่ยวข้องกับการพระราชสงครามในคราว[[สภาพจลาจลหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง]] รวมถึงตัวแทนผู้สืบเชื้อสายราชตระกูลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ตัวแทนผู้สืบเชื้อสายสกุลวิชัยขัทคะพระยาพิชัยดาบหัก และตัวแทนผู้สืบสายตระกูลมวยครูเมฆท่าเสา-เลี้ยงประเสริฐ ได้พร้อมใจประกอบพิธีเสกจัดสร้างเหรียญที่ระลึกขึ้นในวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2563<ref>สำนักข่าวเนชั่นทีวี. (2563). '''อุตรดิตถ์-สร้างเหรียญคู่บารมีกู้แผ่นดินเทิดทูนพระเจ้าตากสิน-พระยาพิชัยดาบหัก'''. [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.nationtv.tv/main/content/378791308</ref> และมีพิธีเททองหล่อ ในวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 โดยมีนายวิบูรณ์ แววบัณฑิต รองผู้ว่าราชการ[[จังหวัดน่าน]] นาย[[พีระศักดิ์ พอจิต]] สมาชิกวุฒิสภา และอดีตรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นประธานในพิธี ณ สถานที่จัดสร้างอนุสาวรีย์หน้าวัดคุ้งตะเภา<ref>สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ กระทรวงวัฒนธรรมธีระวัฒน์ แสนคำ. (2563). '''พิธีเททองหล่อรูปเหมือนองค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชพระแท่นศิลาอาสน์ ปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์แห่งหัวเมืองฝ่ายเหนือ และรูปเหมือนพระยาพิชัยดาบหัก: วัฒนคุณาธรานุสรณ์พระครูธรรมธรเทวประภาส'''. [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มาอุตรดิตถ์ : https://wwwสำนักงานสภาวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ กระทรวงวัฒนธรรม.m ISBN 978-616-culture.go.th/uttaradit/ewt_news.php?nid=2913543-687-8</ref>
 
[[ไฟล์:King Taksin & Phraya Pichai Dabhak Monument in Wat Kungtapao 000.jpg|thumb|150px|อนุสาวรีย์คู่บารมีกู้แผ่นดินในวันอัญเชิญฯประดิษฐานบนแท่นพระบรมราชานุสาวรีย์]]
 
อนุสาวรีย์ดังกล่าว ได้มีพิธีเททองหล่อพระบรมรูปและรูปเหมือนโดยนายช่างกรมศิลปากร ในวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ณ สถานที่จัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ มีการประกอบพิธีอัญเชิญดวงพระวิญญาณ ณ ท้องพระโรง[[พระราชวังเดิม|พระราชวังกรุงธนบุรี]] (กองบัญชาการ[[กองทัพเรือ]] กรุงเทพมหานคร ) พระเจดีย์บรรจุพระบรมอัฐิ [[วัดอินทารามวรวิหาร]] ในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2563 และพิธีอัญเชิญดวงวิญญาณ ณ พระปรางค์บรรจุอัฐิ[[พระยาพิชัยดาบหัก]] [[วัดราชคฤห์]] [[เขตธนบุรี]] กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2563 รวมถึงมีนายวิบูรณ์ แววบัณฑิต รองผู้ว่าราชการ[[จังหวัดน่าน]] นาย[[พีระศักดิ์ พอจิต]] สมาชิก[[วุฒิสภา]] และอดีตรองประธาน[[สภานิติบัญญัติแห่งชาติ]] เป็นประธานในพิธีเททองหล่ออีกด้วย<ref>สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ กระทรวงวัฒนธรรม. (2563). '''พิธีเททองหล่อรูปเหมือนองค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และรูปเหมือนพระยาพิชัยดาบหัก'''. [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.m-culture.go.th/uttaradit/ewt_news.php?nid=2913</ref>
 
จากนั้นจึงได้มีการอัญเชิญ[[พระบรมราชานุสาวรีย์]][[สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช]] และ[[อนุสาวรีย์]][[พระยาพิชัยดาบหัก]] ขึ้นประดิษฐานบนแท่นพระบรมราชานุสาวรีย์ และแท่นอนุสาวรีย์ ในวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เวลา 11.09 น. (ราชาฤกษ์วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช) อนุสาวรีย์ประกอบด้วย พระบรมรูป[[สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช]]ประทับด้านซ้ายเป็นประธาน พระหัตถ์ทรงกุมเตรียมเก็บพระแสงดาบ [[พระยาพิชัยดาบหัก]]อยู่เบื้องขวา ยืนคู่พระบารมีในฐานะขุนศึกคู่พระทัย เพื่อระลึกถึงวีรกรรมและความกล้าหาญของท่าน ที่ได้เคยร่วมรบเคียงคู่พระวรกายสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในการกอบกู้คืนอิสรภาพและความเป็นปึกแผ่นของไทยจนสำเร็จสมบูรณ์ได้ในปี พ.ศ. 2313 ณ [[เมืองสวางคบุรี]] ทั้งนี้ตัวฐานอนุสาวรีย์มีความสูงกว่า 8 เมตร เป็น[[พระบรมราชานุสาวรีย์]][[สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช]]ที่สูงที่สุดในภาคเหนือ และเป็น[[อนุสาวรีย์]][[พระยาพิชัยดาบหัก]]ที่สูงที่สุดในประเทศไทย