ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ถนนสุรวงศ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ยุทธนาสาระขันธ์ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Bkk suriwonse british club.JPG|thumb|250px|ถนนสุรวงศ์ช่วงหน้าสโมสรอังกฤษในปี พ.ศ. 2552]]
 
'''ถนนสุรวงศ์''' ({{lang-roman|Thanon Surawong}}) เป็นถนนในพื้นที่แขวงสุริยวงศ์ [[เขตบางรัก]] [[กรุงเทพมหานคร]] (เป็นเส้นแบ่งพื้นที่ระหว่างแขวงสุริยวงศ์กับแขวงสี่พระยา) เชื่อมระหว่าง[[ถนนเจริญกรุง]]กับ[[ถนนพระรามที่ 4]] เป็นถนนคู่ขนานกับ[[ถนนสีลม]] และ[[ถนนสี่พระยา]] ซึ่งอยู่ใกล้เคียง ถนนสุรวงศ์นั้น[[เจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค)]] เป็นผู้จัดซื้อที่ดินและตัดถนนขึ้นสองสาย โดยถนนสายหนึ่งตัดแยกจาก[[ถนนเจริญกรุง]]ไปยังสะพานข้ามคลองวัวลำพอง (บริเวณถนนพระรามที่ 4 และ[[สถานีรถไฟหัวลำโพง]]ในปัจจุบัน) และท่านผู้หญิงตลับสีหราชเดโช ผู้เป็นภรรยาได้ขอพระราชทานชื่อจาก[[สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ]] ขณะที่ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระองค์ได้พระราชทานชื่อว่า ถนนสุรวงศ์ และ [[ถนนเดโช]] <ref>นิตยสารสารคดี ฉบับที่ 232 มิถุนายน 2547 หน้า156 </ref>
 
เมื่อแรกตัดถนนเสร็จบริเวณรอบ ๆ ถนนสุรวงศ์ยังคงเป็นทุ่งนา, ไร่อ้อยและสวนผัก มีบ้านเรือนทรงยุโรปบ้างประปราย ต่อมาในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ในยุคก่อน[[การปฏิวัติสยาม|การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475]] ถนนสุรวงศ์ได้เป็นที่ตั้งของภัตตาคารและร้านอาหารชั้นสูงสำหรับรับรองชาวต่างชาติและชนชั้นสูงโดยเฉพาะเช่นเดียวกับ[[ถนนราชวงศ์]] ใน[[ย่านเยาวราช]] และถนนสี่พระยาที่อยู่ใกล้เคียง<ref>{{cite web|url=https://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1470387678|work=[[ประชาชาติธุรกิจ]]|date=2016-08-05|accessdate=2018-02-26|first=วีระยุทธ|last= ปีสาลี|title= เมื่อในอดีต"คนชั้นสูง"ไม่กินอาหารค่ำนอกบ้าน และทำไมย่าน"ราชวงศ์"เป็นแหล่งดินเนอร์กลุ่มผู้ดี}}</ref>และยังปรากฏหลักฐานของกองช่างนคราทร (เทียบกับปัจจุบัน คือ [[กรมโยธาธิการและผังเมือง]]) ที่ได้ทำการประเมินพื้นที่ก่อสร้างที่แนวถนนสุรวงศ์ต่อไปยัง[[อาคารศุลกสถาน]] ริม[[แม่น้ำเจ้าพระยา]] ในปัจจุบันนี้ ถนนสุรวงศ์ถือเป็นย่านธุรกิจที่สำคัญเช่นเดียวกับ [[ถนนสีลม]] หรือ[[ถนนสาทร]] ที่อยู่ใกล้เคียง และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวยามราตรีที่ได้รับความนิยม เนื่องจากมี[[ถนนพัฒน์พงษ์]] และ[[ถนนธนิยะ]] ตัดผ่าน <ref>{{cite web|url=https://www.youtube.com/watch?v=V9GpDDXh41g|work=MetroTV โทรทัศน์มหานคร|date=2015-07-22|title= กรุงเทพในอดีต (ถนนสุรวงศ์)}}</ref>