ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ท้องสนามหลวง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
→‎ร่วมสมัย: ภาพนี้เห็นชัดดี ไม่มีต้นไม้บัง (แต่มีเต้นท์บัง)
บรรทัด 32:
ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] โปรดเกล้าฯ ให้ประกอบ[[พระราชพิธีพืชมงคล]] พิธีพิรุณศาสตร์มีกำแพงแล้วล้อมรอบบริเวณ ข้างในสร้างหอพระพุทธรูปสำคัญเป็นที่ประดิษฐานพระสำหรับพิธี สำหรับการพิธีมีพลับพลาที่ทำการพระราชพิธี มีหอดักลมลงที่พลับพลาสำหรับทอดพระเนตรการทำนา ข้างพลับพลามีโรงละครสำหรับเล่นบวงสรวง ด้านเหนือมีพลับพลาน้อยสร้างบนกำแพงแก้วสำหรับประทับทอดพระเนตรการทำนาในท้องทุ่ง นอกกำแพงแก้วยังมีฉางสำหรับใส่ข้าวที่ได้จากการปลูกข้าว
 
ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] โปรดเกล้าฯ ให้ขยายสนามหลวงจากเดิม และรื้อพลับพลาต่าง ๆ ที่สร้างในรัชกาลก่อน ๆ เพราะหมดความจำเป็นที่จะต้องทำนา และได้ใช้สนามหลวงเป็นที่ประกอบพิธีต่าง ๆ เช่น การฉลองพระนครครบ 100 ปี งานฉลองเมื่อเสด็จพระราชดำเนินกลับจากยุโรปใน [[พ.ศ. 2440]] ครั้นในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ทรงใช้ประกอบพระราชพิธีต่าง ๆ และใช้เป็น[[สนามแข่งม้า]] [[สนามกอล์ฟ]]
 
=== ร่วมสมัย ===
[[ไฟล์:The Royal Crematorium of Princess Galyani at Sanam Luang (1).jpg|thumb|250px|พระเมรุมาศสำหรับพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี]]
ปัจจุบันได้มีการใช้ท้องสนามหลวงเป็นพื้นที่ประกอบพระราชพิธีสำคัญ ๆ ของประเทศ เช่น [[พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ]], [[พระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี|สมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี]], [[พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 5 ธันวาคม 2530]], [[พระราชพิธีกาญจนาภิเษก พ.ศ. 2539]] รวมทั้งงาน[[พระเมรุมาศ]]และพระเมรุของ[[พระบรมวงศานุวงศ์]]ตั้งแต่ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าขึ้นไป เฉพาะในรัชกาล[[พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]] ได้มีการใช้พื้นที่ท้องสนามหลวงในการก่อสร้างพระเมรุกลางเมืองมาแล้ว 6 ครั้ง ดังนี้{{อ้างอิง}}
 
* พ.ศ. 2493 [[พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร]]
บรรทัด 44:
* พ.ศ. 2551 [[สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์]]
* พ.ศ. 2555 [[สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี]]
*และในปี พ.ศ. 2560 ได้มีการใช้พื้นที่ท้องสนามหลวงในการก่อสร้างพระเมรุกลางเมืองครั้งแรกในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ใน[[พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมชนกาธิเบศรศพพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร|พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ]] [[พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]]
 
ท้องสนามหลวงยังใช้เป็นที่ประกอบกิจกรรมของสาธารณชน เช่น รวมถึงใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมทางกีฬาการละเล่นต่าง ๆ เช่น ฟุตบอล หรือ เล่น[[ว่าว]] และเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนทั่วไป ในอดีตใช้เป็นที่การปราศรัยใหญ่ในการหาเสียง[[เลือกตั้ง]]ในแต่ละครั้ง หรือการชุมนุมทางการเมืองต่าง ๆ ที่เรียกว่า "ไฮด์ปาร์ก" ซึ่งได้ชื่อมาจาก[[ไฮด์ปาร์ก (ลอนดอน)|สวนไฮด์ปาร์กในกรุงลอนดอน]]
 
=== หลังการปรับปรุง พ.ศ. 2553–54 ===
[[ไฟล์:สนามหลวง2554.jpg|thumb|left|250px|ท้องสนามหลวงหลังการปรับปรุงใหม่]]
ในปี [[พ.ศ. 2553]] [[กรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)|กรุงเทพมหานคร]]ได้ทำการปรับปรุงภูมิทัศน์ของสนามหลวง จากเดิมที่เคยเสื่อมโทรมให้ดีขึ้น แล้วเสร็จในปลายเดือนเมษายน [[พ.ศ. 2554]]<ref>[http://www.chaoprayanews.com/2010/02/02/%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A1-%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87/ กทม.เดินเครื่องปรับภูมิทัศน์สนามหลวงแล้ว]</ref>เปิดใช้พื้นที่อย่างเป็นทางการ วันที่ [[9 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2554]] และไม่อนุญาตให้ใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมทางการเมืองใด ๆ เหมือนในอดีต เพื่อสงวนไว้สำหรับประกอบพระราชพิธีเท่านั้น<ref>[http://matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1306472477&grpid=&catid=01&subcatid=0100 ปิดตำนาน "สนามหลวง" ห้ามใช้ปราศรัย-ชุมนุมทางการเมือง (อีกต่อไป) !! จาก[[มติชน]]]</ref> พร้อมขอความร่วมมือให้ช่วยในการรักษาความสะอาดไม่ทิ้งขยะลงพื้น หากพบผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท ในกรณีที่ไม่สามารถชำระค่าปรับได้ ต้องบำเพ็ญประโยชน์ด้วยการเก็บขยะจำนวน 100 ชิ้น แทนการเสียค่าปรับ ซึ่งมีพระราชบัญญัติโบราณสถานคุ้มครอง และกำหนดโทษผู้ใดฝ่าฝืนหรือบุกรุกมีโทษจำคุก 10 ปี หรือปรับเป็นเงิน 1 ล้านบาท โดยทางกรุงเทพมหานคร อนุญาตให้ประชาชนเข้าไปใช้พื้นที่เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ และสันทนาการตามปกติ แต่ห้ามนำสินค้าเข้าไปจำหน่าย จอดรถหรืออาศัยเป็นที่หลับนอน ซึ่งสามารถเข้าใช้พื้นที่ได้ ระหว่างเวลา 05.00-22.00 น. นอกจากนี้ประชาชนยังสามารถสัญจรผ่านถนนเส้นกลาง ซึ่งเชื่อมระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไปยังศาลฎีกาได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยเบื้องต้นได้ทำการติดตั้งรั้วชั่วคราว เพื่อป้องกันการบุกรุก และเพื่อคงความสวยงามของสนามหลวง ซึ่งผู้ที่ต้องการขอใช้พื้นที่สามารถทำเรื่องขอพื้นที่จากกรุงเทพมหานคร แต่ทางกรุงเทพมหานครจะไม่ให้ใช้พื้นที่ท้องสนามหลวงเป็นที่ชุมนุมหรือจัดกิจกรรมทางการเมือง นอกจากนั้นกรุงเทพมหานครได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการเหตุการณ์รักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่สนามหลวงเป็นหน่วยงานของราชการสังกัดกรุงเทพมหานครดูแลความสงบเรียบร้อยภายในท้องสนามหลวง{{อ้างอิง}}
 
ใน[[การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563]] ท้องสนามหลวงถูกใช้เป็นที่ชุมนุมของแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมระหว่างวันที่ 19–20 กันยายน พ.ศ. 2563 และเป็นที่ฝัง[[หมุดคณะราษฎรหมุดที่ 2]] ซึ่งแกนนำชุมนุมถูกแจ้งข้อหาทำลายโบราณสถาน
 
== อ้างอิง ==