ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กาลิเลโอ กาลิเลอี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ย้อนด้วยมือ
ดด
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 24:
}}
{{ใช้ปีคศ}}
'''กาลิเลโอ กาลิเลอี''' ({{lang-it|Galileo Galilei}}; 15 กุมภาพันธ์ คกุมภาค.ศ. 1564 - 8 มกราคม ค.ศ. 1642) เป็นชาวทัสกันหรือ[[ชาวอิตาลี]] ผู้มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งใน[[การปฏิวัติวิทยาศาสตร์]] ผลงานของกาลิเลโอมีมากมาย งานที่โดดเด่นเช่นการพัฒนาเทคนิคของ[[กล้องโทรทรรศน์]]และผลสังเกตการณ์ทาง[[ดาราศาสตร์]]ที่สำคัญจากกล้องโทรทรรศน์ที่พัฒนามากขึ้น งานของเขาช่วยสนับสนุนแนวคิดของ[[โคเปอร์นิคัส]]อย่างชัดเจนที่สุด กาลิเลโอได้รับขนานนามว่าเป็น"บิดาแห่งดาราศาสตร์สมัยใหม่"<ref>Singer, Charles (1941), ''[http://www.google.com.au/books?id=mPIgAAAAMAAJ&pgis=1 A Short History of Science to the Nineteenth Century]'', Clarendon Press, (page 217)</ref> "บิดาแห่งฟิสิกส์สมัยใหม่"<ref name="manfred">Weidhorn, Manfred (2005). ''The Person of the Millennium: The Unique Impact of Galileo on World History''. iUniverse, p. 155. ISBN 0-595-36877-8.</ref> "บิดาแห่งวิทยาศาสตร์"<ref name="manfred" /> และ "บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ยุคใหม่"<ref>Finocchiaro, Maurice A. (Fall 2007), "Book Review—The Person of the Millennium: The Unique Impact of Galileo on World History", ''The Historian'' '''69''' (3) : 601–602, doi:[http://dx.doi.org/10.1111%2Fj.1540-6563.2007.00189_68.x 10.1111/j.1540-6563.2007.00189_68.x]</ref>
 
การศึกษาการเคลื่อนที่ของวัตถุที่มีความเร่งคงที่ ซึ่งสอนกันอยู่ทั่วไปในระดับมัธยมศึกษาและเป็นพื้นฐานสำคัญของวิชา[[ฟิสิกส์]]ก็เป็นผลงานของกาลิเลโอ รู้จักกันในเวลาต่อมาในฐานะวิชา[[จลนศาสตร์]] งานศึกษาด้านดาราศาสตร์ที่สำคัญของกาลิเลโอได้แก่ การใช้กล้องโทรทรรศน์สังเกตการณ์คาบปรากฏของ[[ดาวศุกร์]] การค้นพบ[[ดาวบริวาร]]ของ[[ดาวพฤหัสบดี]] ซึ่งต่อมาตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่เขาว่า ''ดวงจันทร์กาลิเลียน'' รวมถึงการสังเกตการณ์และการตีความจากการพบจุดดับบน[[ดวงอาทิตย์]] กาลิเลโอยังมีผลงานด้านเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ซึ่งช่วยพัฒนาการออกแบบ[[เข็มทิศ]]อีกด้วย