ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ขุดคลองแลคูนาสยาม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''บริษัท ขุดคลองแลคูนาสยาม จำกัด''' ({{lang-en|Siam Canals, Lands and Irrigation Company}}) เป็นบริษัทเอกชนที่จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2431 ในชื่อ '''กอมปนีขุดคลองแลคูนาสยาม''' เพื่อดำเนินงานขออนุญาตขุดคลองตามโครงการรังสิต ในระยะแรกมีผู้ร่วมหุ้น 4 คน คือ [[พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์]], พระนานาพิธภาษี (ชื่น บุนนาค), นาย[[โยอาคิม กรัสซี|โยคิม แกรซี]] (Joachim Grassi) สถาปนิกชาวอิตาลี และนายยม (เจ้าสัวยม พิศลยบุตร) หรือหลวงสาทรราชายุตก์ แต่สุดท้าย เจ้าสัวยมไม่ได้เข้าร่วมงาน และได้[[หม่อมราชวงศ์สุวพรรณ สนิทวงศ์]] เข้าเป็นหุ้นส่วนแทน ทั้งนี้มีนายโยคิม แกรซีเป็นผู้จัดการบริษัท
 
บริษัทได้รับหนังสือสัญญาพระราชทานพระบรมราชานุญาตขุด[[คลองรังสิต]] วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2431 ให้บริษัททำการขุดคลองได้เป็นเวลา 25 ปี จนรัฐบาลได้อนุญาตให้บริษัทขุดคลองสายแรกคือในปี พ.ศ. 2433<ref>[https://www.silpa-mag.com/history/article_28515 รัชกาลที่ 5 ทรงอนุญาตขุด “คลองรังสิต” ในทุ่งหลวงเหนือกรุงเทพฯ ที่มีโขลงช้าง และไข้ป่า]</ref> บริษัทได้รับผลประโยชน์ตอบแทน ในรูปของกรรมสิทธิ์ที่ดินสองฝั่งคลองที่ขุด ตลอดทั้งลำคลอง หากคลองกว้าง 8 วา บริษัทจะได้ที่ดิน ยื่นเข้าไปฝั่งละ 40 เส้น คลองกว้าง 6 วา บริษัทจะได้ที่ดินยื่นเข้าไปฝั่งละ 30 เส้น คลองกว้าง 4 วา บริษัทจะได้ที่ดินยื่นเข้าไปฝั่งละ 25 เส้น<ref>[http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=33&chap=3&page=t33-3-infodetail03.html คลองขุดในประเทศไทย] สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 33</ref>