ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ย้อนการแก้ไขของ 103.205.161.237 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Mtarch11
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
บรรทัด 35:
วันที่ 21 มีนาคม 2435 ฝรั่งเศสได้ส่งเรือลูแตง (Lutin) เข้ามาจอดทอดสมออยู่หน้าสถานทูตฝรั่งเศส ในพระนคร เพื่อแสดงแสนยานุภาพ โดยมีผู้บัญชาการสถานีทหารเรือเมืองไซ่ง่อนเข้ามาเจรจาและร้องขอให้สยามยอมรับเขตแดนญวนว่าจรดถึงฝั่งซ้ายลำน้ำโขง แต่สยามคัดค้านคำร้องขอนี้ พร้อมทั้งได้ดำเนินการทางการทูตกับอังกฤษเรื่องตั้งอนุญาโตตุลาการตัดสินปัญหาความขัดแย้ง และเชิญสหรัฐอเมริกาเข้ามาไกล่เกลี่ยข้อพิพาท แต่ฝรั่งเศสปฏิเสธไม่ยอมรับตามที่เสนอ สยามจึงเตรียมการป้องกันปากน้ำเจ้าพระยา
 
== บริบท ==
ไปหาเว็ปอื่น
ความขัดแย้งดังกล่าวเริ่มขึ้นเมื่อผู้ว่าราชการอินโดจีน [[ฌอง เดอ ลาแนสซัง]] ส่งโอกุสต์ ปาวีเป็นกงสุลมายังกรุงเทพฯ เพื่อนำอิตาลีมาอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส รัฐบาลในกรุงเทพฯ ซึ่งมีความเชื่ออย่างผิด ๆ ว่า[[รัฐบาลอังกฤษ]]จะสนับสนุน ปฏิเสธจะยกดินแดนฝั่งตะวันออกของ[[แม่น้ำโขง]] กลับเสริมการแสดงตนทางทหารและการปกครองแทน
 
เหตุการณ์มาถึงจุดที่ต้องตัดสินใจโดยสองเหตุการณ์ซึ่งผู้ว่าราชการสยามใน[[แขวงคำม่วน|คำม่วน]]และ[[หนองคาย]]ขับพ่อค้าวาณิชชาวฝรั่งเศสสามคนจาก[[แม่น้ำโขง]]ตอนกลางในเดือนกันยายน 2436 ซึ่งสองในนั้นต้องสงสัยว่าลักลอบค้าฝิ่น ไม่นานจากนั้น กงสุลฝรั่งเศสในหลวงพระบาง มัซซี ซึ่งกระสับกระส่ายและเสียขวัญ ฆ่าตัวตายระหว่างทางกลับ[[ไซ่ง่อน]] มาในฝรั่งเศส เหตุการณ์เหล่านี้ถูกการวิ่งเต้นอาณานิคมใช้เพื่อปลุกปั่นอารมณ์ชาตินิยมต่อต้านสยาม เป็นบริบทของการแทรกแซง
 
การเสียชีวิตของมัสซีทำให้โอกุสต์ ปาวีเป็นกงสุลฝรั่งเศสคนใหม่ ในเดือนมีนาคม 2436 ปาวีเรียกร้องให้สยามอพยพที่มั่นทางทหารทั้งหมดบนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำโขง ใต้คำม่วน โดยอ้างว่าดินแดนนั้นเป็นของเวียดนาม เพื่อสนับสนุนข้อเรียกร้องเหล่านี้ ฝรั่งเศสส่งเรือปืน ''"รูแตง"'' มายังกรุงเทพฯ ซึ่งผูกเรืออยู่ที่แม่น้ำเจ้าพระยาติดกับสถานอัครราชทูตลาว
 
== ลำดับเหตุการณ์สำคัญ ==
เส้น 56 ⟶ 61:
 
วันที่ 14 กรกฎาคม 2436 ซึ่งเป็นวันชาติของฝรั่งเศส ทั้งสองฝ่ายยุติการสู้รบและการปะทะตามจุดต่างๆ เพื่อเป็นการให้ความเคารพ “เรือธง” ของฝรั่งเศส การเจรจาเพื่อหาข้อยุติจึงเริ่มขึ้น
 
== บทบาทของอังกฤษ และ สหรัฐอเมริกาต่อกรณีความขัดแย้ง ==
อังกฤษ ในนามของรัฐบาลบริเตนใหญ่ ได้เข้ามามีบทบาทในภูมิภาคนี้ในลักษณะถ่วงดุลอำนาจกับฝรั่งเศสเมื่อเห็นว่าความขัดแย้งระหว่างสยามกับฝรั่งเศสอาจขยายเป็นการทำสงคราม วันที่ 22 มีนาคม 2436 กัปตันโยนส์ ราชทูตอังกฤษได้ส่งโทรเลขไปยัง ลอร์ดโรสเบอรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อขออนุญาตส่งเรือรบสวิฟท์ (Swiff) เข้าไปคุ้มครองทรัพย์สมบัติของอังกฤษ และรักษาความสงบเรียบร้อย ในกรณีที่อาจเกิดสงครามขึ้นในพระนคร เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว วันที่ 20 เมษายน 2436 ราชนาวีอังกฤษได้ส่งเรือสวิฟท์ เข้ามาทอดสมอหน้าสถานทูตอังกฤษ
 
อังกฤษทราบว่าฝรั่งเศสได้สั่งเคลื่อนกำลังทางเรือให้มารวมกันอยู่ที่ไซ่ง่อน และสืบทราบว่าฝรั่งเศสจะส่งกองเรือเข้ามารุกรานสยาม ในขณะที่ฝ่ายสยามเองได้เตรียมการป้องกันปากแม่น้ำเจ้าพระยา โดยได้เอาเรือมาจมขวางไว้ที่ปากน้ำ เมื่อข่าวนี้แพร่ออกไปก็ทำให้เกิดความวิตกกังวลในวงการค้าทั่วไป อังกฤษจึงคิดจะส่งเรือรบเข้ามาในสยามอีกเพื่อคุมเชิงฝรั่งเศส และเพื่อคุ้มครองชีวิตและทรัพย์สินของชนชาติอังกฤษ แต่การดำเนินการของอังกฤษ กลับสร้างความตรึงเครียดขึ้นบริเวณอ่าวสยาม เมื่อฝรั่งเศสได้ทราบว่าอังกฤษได้จัดส่งเรือรบเข้ามาเพิ่มเติม และรู้สึกว่ามีทีท่าในทางส่งเสริมให้กำลังใจฝ่ายสยาม และอาจเป็นการคุกคามฝรั่งเศส จึงส่งเรือรบเข้ามาเพิ่มเติมอีกสองลำชื่อว่า [[โกแมต ]] (Comete) และ [[แองกงสตัง]] (Inconstang) เดินทางเข้าสู่ปากน้ำเจ้าพระยา เพื่อกดดันฝ่ายสยาม
 
ส่วนทางด้านสหรัฐอเมริกา ที่มีอิทธิพลเหนือมหาสมุทรแปซิฟิกคาบเกี่ยวกับฟิลิปปินส์ ได้รับการติดต่อจากสยามให้เข้ามาเป็นคนกลางไกล่เกลี่ยข้อพิพาท และเข้าร่วมเป็นอนุญาโตตุลาการ ซึ่งเห็นว่าจะเป็นหนทางที่แก้ไขความขัดแย้งโดยสันติ จึงยินดีเข้าร่วม แต่ได้รับการคัดค้านจากฝรั่งเศสเพราะฝรั่งเศสเห็นว่าท่าทีของสหรัฐอเมริกานั้นไม่แตกต่างจากอังกฤษ กล่าวคือสนับสนุนสยาม อีกทั้งนโยบายการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาคือไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับความขัดแย้งใดๆ ถือ[[นโยบายโดดเดี่ยว]] (Isolation) เมื่อฝรั่งเศสไม่เห็นด้วยจึงถอนตัวออกไป ปธน โกลเวอร์ คีฟแลนด์ ของสหรัฐพยายามเจรจากรณีของเหตุรศ 112 แต่ฝรั่งเศสปฏิเสธและกล่าวหาว่าไทยพยายามยึดดินแดนดังกล่าว.
 
== การดำเนินการเพื่อยุติความขัดแย้ง ==
เส้น 95 ⟶ 107:
 
เมื่อได้รับคำตอบและได้ผลเป็นที่พอใจแล้ว รัฐบาลฝรั่งเศสยอมสงบศึกและสั่งการให้นายพลเรือ ฮูมานน์ยกเลิกการปิดอ่าวสยามตั้งแต่เวลา 12.00 นาฬิกา ของวันที่ 3 สิงหาคม 2436 เป็นต้นไป
 
== ผลที่เกิดขึ้นหลังจากกรณีพิพาท ==
หลังจากที่ทั้งสองฝ่ายเจรจาตกลงกันได้แล้ว ได้มีการทำสัญญาสงบศึกระหว่างรัฐบาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส ลงวันที่ 3 ตุลาคม 2436 ซึ่งสาระสำคัญเป็นข้อกำหนดที่ฝรั่งเศสตั้งขึ้นเอง เช่น ให้สยามยอมสละข้ออ้างทั้งปวงว่า มีกรรมสิทธิอยู่เหนือดินแดนทั่วไปทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง และบรรดาเกาะทั้งหลายในแม่น้ำนั้น ห้ามมิให้มีเรือติดอาวุธไว้ใช้ หรือเดินไปมาในน่านน้ำของทะเลสาบ และของแม่น้ำโขง และลำน้ำที่แยกจากแม่น้ำโขง ไม่สร้างค่ายหรือที่ตั้งกองทหารไว้ในเมืองพระตะบอง และเมืองนครเสียมราฐ และบนฝั่งขวาแม่น้ำโขงในรัศมี 25 กิโลเมตร โดยให้บุคคลสัญชาติฝรั่งเศสก็ดี บุคคลในบังคับหรือในปกครองฝรั่งเศสก็ดี จะไปมาหรือค้าขายได้โดยเสรี ขออารักขาเมืองจันทบุรี ให้ลงโทษบุคคลที่เป็นต้นเหตุแห่งการสูญเสียชีวิตของทหารฝรั่งเศสในคำม่วนโดยมีคนของฝรั่งเศสเข้าร่วมพิจารณาตัดสินด้วย และที่สำคัญ ในกรณีเกิดความยุ่งยากในการตีความหมายของสัญญานี้ให้ใช้ฉบับภาษาฝรั่งเศสเท่านั้น
 
ผลของสัญญาสงบศึก นอกจากชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ฝรั่งเศสเป็นเงินจำนวนสามล้านฟรังก์แล้ว ได้ผูกพันให้สยามต้องเสียอธิปไตยบริเวณแม่น้ำโขงในเวลาต่อมา เป็นพื้นที่ประมาณ 143,000 ตารางกิโลเมตร และฝรั่งเศสได้ยึดเมืองจันทบุรีไว้ในอารักขานานกว่าสิบปี (ระหว่างปี 2436-2447) จนกว่าสยามจะชดใช้ค่าเสียหายจนครบ
 
ทั้งนี้ กรณีพิพาทนี้ได้กลายเป็นชนวนสงครามความขัดแย้งขึ้นอีกครั้งบนคาบสมุทรอินโดจีนระหว่างไทยกับฝรั่งเศสใน[[กรณีพิพาทอินโดจีน]]ระหว่าง[[สงครามโลกครั้งที่ 2]] โดยมี[[จักรวรรดิญี่ปุ่น]]เข้าร่วมวงศ์ไพบูลย์ด้วยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ[[สงครามมหาเอเซียบูรพา]].
 
== ดูเพิ่ม ==