ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถานีโทรทัศน์ไอทีวี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 49:
เมื่อวันที่ [[20 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2541]] บจก.สยาม อินโฟเทนเมนท์ เข้าจดทะเบียนใน[[ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย]] พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็น ''[[บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน)]]'' และในราวปี [[พ.ศ. 2542]] หน่วยงานภาครัฐแห่งหนึ่งได้เปลี่ยนแปลงช่องสัญญาณให้กับไอทีวี จากช่อง 26 มาเป็นช่อง 29 โดยส่งสัญญาณจากยอด[[อาคารใบหยก 2]] และมีสถานีเครือข่ายทั้งสิ้น 52 แห่งทั่วประเทศ นับเป็นสถานีโทรทัศน์ที่มีเครือข่ายมากที่สุด ครอบคลุมจำนวนผู้รับชม ประมาณร้อยละ 98 ของประชากรในประเทศไทย
 
ต่อมา ในเดือน[[พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2543]] [[บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)]] เข้าซื้อหุ้นของ บมจ.ไอทีวี จากธนาคารไทยพาณิชย์ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ที่แสดงความจำนงจะขายหุ้น หลังประสบปัญหาในการบริหารสถานีฯ ส่งผลให้พนักงานฝ่ายข่าวของสถานีฯ บางส่วนไม่เห็นด้วย และเมื่อบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เข้าซื้อหุ้นเป็นผลสำเร็จ กลุ่มผู้บริหารและพนักงานฝ่ายข่าวบางส่วน ที่นำโดย เทพชัย หย่อง ตัดสินใจลาออกจากสถานีฯ และหลังจากนั้น ไอทีวีก็เคลื่อนย้ายที่ทำการ จากอาคารไทยพาณิชย์ ปาร์ค พลาซ่า มาอยู่บน[[อาคารชินวัตรทาวเวอร์]] 3 [[ถนนวิภาวดีรังสิต]]
 
ในช่วงประมาณปี [[พ.ศ. 2546]] [[ไตรภพ ลิมปพัทธ์|นายไตรภพ ลิมปพัทธ์]] กรรมการผู้จัดการ ''บริษัท บอร์น ออพปอเรชั่น จำกัด'' และ ''บริษัท บอร์น แอนด์ แอสโซซิเอทด์ จำกัด'' และ ''[[บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)]]'' ได้จัดทำบันทึกความเข้าใจเบื้องต้น (เอ็มโอยู) ร่วมกับ บมจ.ไอทีวี พร้อมเข้าถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 10 และมีผลให้นายไตรภพมีสถานะเป็นผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ไอทีวีด้วย ซึ่งถือเป็นการกลับสู่ไอทีวีอีกครั้ง หลังจากที่ในระยะเริ่มแรกของสถานีฯ นายไตรภพ เคยเข้าร่วมกับกลุ่มสยามทีวี ในการประมูลสถานีโทรทัศน์เสรีมาแล้ว แต่ไม่นานนักก็ได้ถอนตัวออกไป