ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โทรทัศน์ระบบดิจิทัล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ภาพ:Digital broadcast standards.svg|290px|thumb|มาตรฐานการแพร่สัญญาณโทรทัศน์ดิจิทัลในแต่ละประเทศ]]
 
'''โทรทัศน์ระบบดิจิทัล''', '''โทรทัศน์ดิจิทัล''', หรือ '''ทีวีดิจิทัล''' ({{lang-en|Digital television}}) เป็นรูปแบบการถ่ายทอดสัญญาณภาพและเสียงโดยกระบวนการส่ง[[สัญญาณดิจิทัล]] เป็นกระบวนการที่ตรงข้ามกับการออกอากาศ[[โทรทัศน์ระบบแอนะล็อก]] ซึ่งใช้การแบ่งคลื่นออกเป็นหลาย ๆ ช่องสัญญาณ โทรทัศน์ดิจิทัลสามารถรองรับรายการโทรทัศน์ได้มากกว่าหนึ่งรายการในช่องแบนด์วิดท์เดียว<ref>{{cite web | url=http://www.disabled-world.com/artman/publish/digital-hdtv.shtml | title=HDTV Set Top Boxes and Digital TV Broadcast Information | accessdate=28 June 2014}}</ref> นอกจากสัญญาณภาพและเสียงแล้ว การแพร่ภาพระบบดิจิทัลยังสามารถส่งข้อมูลอื่นๆ อาทิ ผังรายการ, บทบรรยาย มาพร้อมกันได้อีกด้วย ถือเป็นนวัตกรรมด้านโทรทัศน์ที่ยิ่งใหญ่สุดนับตั้งแต่การเปลี่ยนจากโทรทัศน์ขาวดำเป็นโทรทัศน์สีในทศวรรษที่ 1950<ref>Kruger, L. G. (2001). Digital Television: An Overview. Hauppauge, New York: Nova Publishers.</ref> ในปัจจุบัน หลายๆประเทศได้ทยอยเปลี่ยนมาใช้การแพร่ภาพแบบดิจิทัล โดยที่ในแต่ละภูมิภาคก็ใช้มาตรฐานการแพร่ภาพที่แตกต่างกันไป
 
กลาง[[คริสต์ทศวรรษ 1980|ยุค 80]] สถานีโทรทัศน์ใน[[ประเทศญี่ปุ่น]]เริ่มค้นคว้าการแพร่ภาพ[[โทรทัศน์ความละเอียดสูง]] อย่างไรก็ตามการแพร่ภาพโทรทัศน์ความละเอียดสูงในญี่ปุ่นนั้นได้ใช้รูปแบบ MUSE ซึ่งเป็นโทรทัศน์ระบบแอนะล็อก ซึ่งญี่ปุ่นได้ใช้รูปแบบนี้จนถึงเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1990 อย่างไรก็ตามในช่วงเวลาเดียวกันนั้น บริษัท[[เจเนอรัลอิเล็กทริก]]ของ[[สหรัฐ]] ก็ได้ทดลองศึกษาความเป็นไปได้ในการแพร่ภาพสัญญาณดิจิทัล และในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1990 ก็เป็นที่ประจักษ์ว่า แนวคิดในการแพร่ภาพด้วยสัญญาณดิจิทัลนั้นสามารถเป็นไปได้ และออกมากล่าวว่าระบบใหม่นี้จะมีมาตรฐานสูงกว่าระบบแอนะล็อกที่ และทันสมัยที่สุด ซึ่งจะสามารถแพร่ภาพที่มีความละเอียดมากกว่าความละเอียดของระบบเดิมได้อย่างน้อย 2 เท่า
 
สำหรับในส่วน[[โทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล]] ปัจจุบัน การแพร่สัญญาณมาตรฐาน [[การแพร่สัญญาณภาพดิจิทัลภาคพื้นดิน|DVB-T]] เป็นที่แพร่หลายที่สุดของโลก ซึ่งมีใช้อยู่ในส่วนใหญ่ของ[[ทวีปเอเชีย]], [[ทวีปแอฟริกา|แอฟริกา]] และ[[ทวีปยุโรป|ยุโรป]] ในขณะที่ใน[[ทวีปอเมริกาเหนือ]] และ[[ประเทศเกาหลีใต้]] ใช้มาตรฐาน ATSC ส่วนใน[[ทวีปอเมริกาใต้]], [[ประเทศญี่ปุ่น]] และ[[ประเทศฟิลิปปินส์]] ใช้มาตรฐาน ISDB-T ส่วน[[ประเทศจีน]]เป็นประเทศเดียวของโลกที่ใช้มาตรฐาน DTMB ซึ่งเป็นมาตรฐานที่จีนพัฒนาขึ้นมาเอง