ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สุลักษณ์ ศิวรักษ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
เพื่อยืนยันข้อมูลบางส่วนให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
no ref
ป้ายระบุ: ย้อนด้วยมือ
บรรทัด 28:
'''สุลักษณ์ ศิวรักษ์''' (เกิด 27 มีนาคม พ.ศ. 2476) เจ้าของ[[นามปากกา]] '''ส. ศิวรักษ์''' เป็น[[นักเขียน]] [[นักปรัชญา]] นักคิด และนักวิชาการ[[ชาวไทย]] ที่มีอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งของเมืองไทย จนได้รับสมญานามว่า ''ปัญญาชนสยาม''<ref>[http://guru.sanook.com/25952/ วันเกิด ส.ศิวรักษ์ นักคิด-ปัญญาชนสยาม อดีตบรรณาธิการสำนักพิมพ์...], guru.sanook.com .สืบค้นเมื่อ 15/04/2559</ref><ref>[https://www.thairath.co.th/news/politic/1537545 "ส.ศิวรักษ์" ผู้เฒ่านักคิด ปัญญาชน เทิดทูนเจ้า ขวานผ่าซาก ไม่เคยมีใครขจัดได้], thairath.co.th/ .วันที่ 24/04/2559</ref> เขาเป็นคนไทยเพียงคนเดียวที่ได้รับ ''รางวัลอัลเทอเนทีฟโนเบล'' (Alternative Nobel, Right Livelihood Award) หรือ "''รางวัลโนเบลทางเลือก''" ในปี พ.ศ. 2538<ref>[https://blogazine.pub/blogs/bookgarden/post/639 ฅ คน กับบทสัมภาษณ์ ส.ศิวรักษ์] ,blogazine.pub/ .วันที่ 9 เมษายน 2008</ref><ref>[http://www.siamchronicle.com/view_alt_category_005.html ข้อเขียนพิเศษจากอ.สุลักษณ์ ศิวรักษ์] ,siamchronicle.com .วันที่ 23 มกราคม 2006</ref> และยังได้รับรางวัล[[ศรีบูรพา]]จากสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยในปีเดียวกันอีกด้วย เขามีผลงานการเขียนมากมายครอบคลุมหลายด้าน เช่น [[พุทธศาสนา]] [[สังคม]] [[การเมือง]] รูปแบบการปกครอง เป็นต้น โดยมีหนังสืออัตชีวประวัติของตนเองชื่อว่า ''ช่วงแห่งชีวิต''<ref>[http://www.kledthai.com/kledthai-book-104/9786167339290.html ช่วงแห่งชีวิต ส.ศิวรักษ์] ,ช่วงแห่งชีวิต ส.ศิวรักษ์ .สืบค้นเมื่อ 15/04/2559</ref>
 
สุลักษณ์ เป็นนักวิชาการคนสำคัญคนหนึ่งและอาจกล่าวได้ว่าเป็นนักวิชาการรุ่นแรก ๆ ที่ออกมาพูดถึงเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์ในที่สาธารณะ ซึ่งเป็นเหตุให้เขาโดนคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพหลายครั้ง<ref>[http://themomentum.co/momentum-interview-sulak-sivaraksa สถาบันกษัตริย์ควรจะมีไว้เพื่อประโยชน์ของราษฎร” ส.ศิวรักษ์ กับ​สถาบันกษัตริย์ไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน]</ref> แต่ก็พ้นผิดจากคุกได้ทุกครั้ง ครั้งหนึ่งเขาเคยยื่นถวายฎีกาต่อ[[สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร]] ให้ทรงพระราชทานอภัยโทษ (เทพมนตรี ลิมปพยอมเผยว่าตนเป็นคนช่วยยกร่างหนังสือขอพระราชทานอภัยโทษให้สุลักษณ์) เขายังกล่าวแสดงความชื่นชมสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและกล่าวว่าหากไม่ได้รับพระบารมีปกเกล้าเขาคงต้องจำคุกอย่างแน่นอน<ref>[http://www.bbc.com/thai/thailand-42714062 ส.ศิวรักษ์ เชื่ออัยการศาลทหารสั่งไม่ฟ้องคดีหมิ่นพระนเรศวรฯ เพราะ "พระบารมีปกเกล้าฯ"]</ref>
 
ล่าสุด ส. ศิวรักษ์ ออกมาชี้แจงข้อมูล ว่าคำให้การของนายเทพมนตรี นั้น ไม่เป็นความจริง โดยที่ฎีกาฉบับที่นำไปถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ นั้น ส. ศิวรักษ์ เป็นคนร่างเอง<ref>แม้โบราณว่า หมาเห่าอย่าเห่าตอบ แต่เห็นกรณีที่นายเทพมนตรี ลิมปพยอม เขียนข้อความแพร่หลายนั้น มีคนสนใจกันมาก ผมจึงจะเล่าความจริงให้ฟัง
 
เมื่อผมโดนคดี กรณี "หมิ่นพระนเรศวร" ผมเตรียมทำฎีกาถวายพระเจ้าอยู่หัว ก็ได้ปรึกษานายพิริยะ ไกรฤกษ์ ว่า ผมทำจดหมายกราบบังคมทูลให้น้องชายเขาที่ทำงานในวังถวายได้ไหม นายพิริยะก็บอกว่า น้องชายเขาคงไม่สะดวก แต่เขามีคนคนหนึ่งที่ฝักใฝ่อยู่กับเขาชื่อ เทพมนตรี เขาจะนำถวายให้ได้ ผมก็ดีใจ นึกว่าจะวานเทพมนตรีส่งจดหมายถึงในวังได้
 
เรื่องฎีกานั้นผมเป็นคนเขียนเอง เขาไม่ได้มาแก้อะไรให้ผม
 
 
เผอิญ หลังงานรับปริญญาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ปี 2560 พระเจ้าอยู่หัวมีพระราชกระแส (ผ่านทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) ให้ผมไปเฝ้า เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว เทพมนตรีเขาก็บอกว่า เขายินดีขับรถพาผมไปในวัง เขาก็ขับรถมารับผมไปเฝ้าที่พระที่นั่งอัมพรสถาน
 
ผมก็ได้รับพระราชปฏิสันถารเป็นส่วนตัวกับพระองค์ท่าน ส่วนเทพมนตรีนั้นรออยู่ข้างนอก และเขาก็ขับรถมาส่งผมที่บ้าน ผมก็ขอบอกขอบใจเขา เรื่องมันก็ควรจะจบเท่านั้น ผมก็ยังนึกขอบใจเขาอยู่ที่ขับรถให้ผมในวันนั้น ที่จริงวันนั้น มีลูกศิษย์ลูกหาของผมอาสาจะขับรถให้อยู่ แต่ผมเห็นว่า เทพมนตรีเขาอาสาแล้ว และเขาคุ้นเคยกับทางวัง ผมจึงให้เขาขับรถให้
 
จากนั้นมาจนวันนี้เกือบจะครบ 3 ปีแล้ว เราก็ไม่เคยพบกันอีกเลย ผมก็ไม่เคยกล่าวร้ายป้ายสีอะไรเขา แต่ถ้าเขาจะกล่าวร้ายป้ายสีผม ผมก็ไม่ว่าอะไร ไม่ถือโทษโกรธอะไร</ref> โดยพยานบุคคลที่เป็นผู้ร่างฏีกาฉบับนั้น เป็นเลขส่วนตัวของ ส. ศิวรักษ์ เอง
 
== ประวัติ ==