ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขของ สาสินี (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย ยุทธนาสาระขันธ์
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
ป้ายระบุ: เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่
บรรทัด 85:
| ทิศตะวันตกเฉียงใต้ (ทิศหรดี)
| วัดตโปทาราม
|} //ที่มา: ศาสตราจารย์สรัสวดี อ๋องสกุล / สมโชติ อ๋องสกุล
|}
</center>
***มีนักวิชาการท้องถิ่นอีกกลุ่มหนึ่งเชื่อว่าทักษาเมืองมี แต่ไม่พบหลักฐานวัดในทักษาเมือง
ศาสตราจารย์เกียรติคุณมณี พยอมยงค์ กล่าวว่าตนยังไม่พบหลักฐานว่าสมัยเริ่มต้นของการสร้างเมืองเชียงใหม่พญามังรายได้กล่าวถึงทักษาเมือง มีเพียงพญามังรายตั้งเสาสะดือเมืองที่เรียกว่าอินทขิล
ดร.อุดม รุ่งเรืองศรี เห็นพ้องกันดร.เพนท์ที่ว่าการสร้างเมืองเชียงใหม่ไม่ได้ตั้งอยู่บนเรื่องของทักษา แต่ใช่คำว่าทิศและต้นไม้ที่เป็นสัญลักษณ์เมืองที่เรียกว่า "ไม้เสื้อเมือง" และคอนเซ็ปต์ของการสร้างเมืองคือการสร้างเรือนหลังหนึ่งให้เป็นที่อยู่ที่เหมาะสม ส่วนการบูชาทักษานั้นจะประกอบพิธีตามประตูเมือง เพื่อบูชาเทวดาประจำทักษา ไม่ได้บูชาที่วัด
อาจารย์อุดมแสดงความเห็นใกล้เข้ามาถึงหลักฐานที่อาจารย์สมโชติเสนอว่านำมาจากคัมภีร์มหาทักษาของวัดชัยศรีภูมินั้น อายุต่างกันมาก เพราะจากประวัติวัดชัยศรีภูมิ เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2455 และเดิมมีชื่อว่าวัดพันต๋าเกิ๋น ซึ่งกว่าจะเปลี่ยนมาเป็นชื่อวัดชัยศรีภูมิก็ยุคหลังซึ่งถือว่าใหม่มาก และเป็นยุคของการเขียนตำนานที่ภาษาไทยเข้ามาแล้ว และเชื่อว่าเป็นการเขียนตำนานประกอบว่าชื่อวัดนี้ดีเพราะอยู่ในตำแหน่งของศรีเมืองและลากเรื่องทักษาเข้ามาประกอบแต่ไม่สอดคล้องกันทั้งทิศทางและระยะห่าง
พระครูอดุลสีลกิตติ์ เจ้าอาวาสวัดธาตุคำ เจ้าคณะตำบลหายยา อ.เมือง มีข้อมูลเรื่องที่มาของการปรากฏคำว่าวัดในทักษาเมืองว่าเมื่อปี พ.ศ.2519 ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯได้เสด็จเททองหล่อพระพุทธบุพพาภิมงคลของวัดบุพพาราม ทางวัดได้จัดพิมพ์หนังสือคัมภีร์อุปปาตะสันติ แจกเป็นบรรณาการในคราวนั้นปรากฏว่ามี ตารางวัดทักษาเมือง ซึ่งพระสีอ่อง ชยสิริ วัดเอี่ยมวรนุช เป็นผู้ช่วยเรียบเรียง
ซึ่งเรียบเรียงตามความเข้าใจของคัมภีร์มหาทักษาพม่า ซึ่งในคัมภีร์ภาษาพม่าในเรื่องมหาภูติพม่านั้น กำหนดทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นทิศที่ไม่เป็นศิริมงคลของเมืองด้วยซ้ำ ถือว่าเป็นทิศกาลกิณีซึ่งขัดกับแผนภูมิของล้านนาเชียงใหม่ และเมื่อสอบถามเจ้าอาวาสวัดชัยศรีภูมิถึงที่มาของข้อมูลมหาทักษาที่ปรากฏของวัดชัยศรีภูมิ ก็ได้ความว่าคัดลอกมากจากของวัดบุพพาราม
อาจารย์เกริก อัครชิโนเรศ ผู้ศึกษาใบลานเสนอข้อมูลการบูชาเมือง 28 แห่งเมื่อมีเหตุร้ายแรงตามปั้ปสาราว พ.ศ.2339 เนื้อหาแปลโดยสรุปได้ว่าให้มีการบูชา 28 แห่งที่ใดบ้าง และมีข้อความว่า "….ถึงเดชะเมืองคือว่าประตูช้างเผือก .." ดังนั้นเดชเมืองคือประตูช้างเผือกไม่ใช่วัดอ.เกริกยังได้ตั้งคำถามถึงตำแหน่งของวัดที่เป็นกาลกิณีในทิศหรดีหรือตะวันตกเฉียงใต้ตามที่ปรากฏในข้อเสนอนั้นคือวัดร่ำเปิงตโปทาราม ว่านอกจากที่มีผู้ระบุว่าวัดอันเป็นที่อยู่ของพระแล้วจะเป็นกาลกิณีได้อย่างไรนั้น
วัดร่ำเปิงหรือวัดตโปทารามมีนัยยะว่าเป็นวัดที่สร้างขึ้นเป็นที่รำลึกถึงนางเตมีย์โป่งน้อยอันเป็นพระเตมีย์ตนแม่ของพญาเมืองแก้ว น่าจะอธิบายความคิดของพญาเมืองแก้วให้ได้ว่า ด้วยเหตุใดจะสร้างวัด "ร่ำเปิง" เพื่อคิดถึงแม่ของตนเอง จึงไปสร้างในตำแหน่งหรดีอันเป็นกาลกิณี จุดนี้จึงน่าอธิบายให้ได้ นอกจากนั้นยังมีผู้เสนอในเชิงทำไมต้องเป็นวัดนั้น ทำไมไม่เป็นวัดนี้ทั้งที่อยู่ในทักษาเดียวกัน ทำไมวัดที่ไม่มีศรัทธาแต่ก็มีความสำคัญอยู่ในทิศแต่ละทิศเหมือนกันไม่ปรากฏในชุดข้อมูลนี้// ที่มา:ประชาไทย
 
=== ช้างรอบพระธาตุเจดีย์หลวง ===