ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สุลักษณ์ ศิวรักษ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Supanut Arunoprayote (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 28:
'''สุลักษณ์ ศิวรักษ์''' (เกิด 27 มีนาคม พ.ศ. 2476) เจ้าของ[[นามปากกา]] '''ส. ศิวรักษ์''' เป็น[[นักเขียน]] [[นักปรัชญา]] นักคิด และนักวิชาการ[[ชาวไทย]] ที่มีอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งของเมืองไทย จนได้รับสมญานามว่า ''ปัญญาชนสยาม''<ref>[http://guru.sanook.com/25952/ วันเกิด ส.ศิวรักษ์ นักคิด-ปัญญาชนสยาม อดีตบรรณาธิการสำนักพิมพ์...], guru.sanook.com .สืบค้นเมื่อ 15/04/2559</ref><ref>[https://www.thairath.co.th/news/politic/1537545 "ส.ศิวรักษ์" ผู้เฒ่านักคิด ปัญญาชน เทิดทูนเจ้า ขวานผ่าซาก ไม่เคยมีใครขจัดได้], thairath.co.th/ .วันที่ 24/04/2559</ref> เขาเป็นคนไทยเพียงคนเดียวที่ได้รับ ''รางวัลอัลเทอเนทีฟโนเบล'' (Alternative Nobel, Right Livelihood Award) หรือ "''รางวัลโนเบลทางเลือก''" ในปี พ.ศ. 2538<ref>[https://blogazine.pub/blogs/bookgarden/post/639 ฅ คน กับบทสัมภาษณ์ ส.ศิวรักษ์] ,blogazine.pub/ .วันที่ 9 เมษายน 2008</ref><ref>[http://www.siamchronicle.com/view_alt_category_005.html ข้อเขียนพิเศษจากอ.สุลักษณ์ ศิวรักษ์] ,siamchronicle.com .วันที่ 23 มกราคม 2006</ref> และยังได้รับรางวัล[[ศรีบูรพา]]จากสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยในปีเดียวกันอีกด้วย เขามีผลงานการเขียนมากมายครอบคลุมหลายด้าน เช่น [[พุทธศาสนา]] [[สังคม]] [[การเมือง]] รูปแบบการปกครอง เป็นต้น โดยมีหนังสืออัตชีวประวัติของตนเองชื่อว่า ''ช่วงแห่งชีวิต''<ref>[http://www.kledthai.com/kledthai-book-104/9786167339290.html ช่วงแห่งชีวิต ส.ศิวรักษ์] ,ช่วงแห่งชีวิต ส.ศิวรักษ์ .สืบค้นเมื่อ 15/04/2559</ref>
 
สุลักษณ์ เป็นนักวิชาการคนสำคัญคนหนึ่งและอาจกล่าวได้ว่าเป็นนักวิชาการรุ่นแรก ๆ ที่ออกมาพูดถึงเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์ในที่สาธารณะ ซึ่งเป็นเหตุให้เขาโดนคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพหลายครั้ง<ref>[http://themomentum.co/momentum-interview-sulak-sivaraksa สถาบันกษัตริย์ควรจะมีไว้เพื่อประโยชน์ของราษฎร” ส.ศิวรักษ์ กับ​สถาบันกษัตริย์ไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน]</ref> แต่ก็พ้นผิดจากคุกได้ทุกครั้ง ครั้งหนึ่งเขาเคยยื่นถวายฎีกาต่อ[[สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร]] ให้ทรงพระราชทานอภัยโทษ (เทพมนตรี ลิมปพยอมเผยว่าตนเป็นคนช่วยยกร่างหนังสือขอพระราชทานอภัยโทษให้สุลักษณ์) เขายังกล่าวแสดงความชื่นชมสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและกล่าวว่าหากไม่ได้รับพระบารมีปกเกล้าเขาคงต้องจำคุกอย่างแน่นอน<ref>[http://www.bbc.com/thai/thailand-42714062 ส.ศิวรักษ์ เชื่ออัยการศาลทหารสั่งไม่ฟ้องคดีหมิ่นพระนเรศวรฯ เพราะ "พระบารมีปกเกล้าฯ"]</ref>
 
== ประวัติ ==