ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การสวรรคตของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไทๆ (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 9146632 สร้างโดย 159.192.148.113 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 16:
[[นิธิ เอียวศรีวงศ์]]ได้อธิบายใน ''การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี'' ว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงใช้อำนาจอย่างเด็ดขาด (หรือ "ดุร้าย") ในสมัยปลายรัชกาลนั้น คงเป็นเพราะพระราชอำนาจที่เสื่อมลง<ref>นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 392.</ref> พระองค์ยังทรงประพฤติไม่เหมือนกับพระมหากษัตริย์อยุธยาแต่เดิมด้วย จนกลุ่มขุนนางอยุธยาแต่เดิมสูญเสียความศรัทธา และถูกมองว่าเสียสติ<ref>นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 394.</ref> ทั้งนี้ หลักฐานพงศาวดารซึ่งบันทึกอาการวิกลจริตของพระองค์ล้วนถูกเขียนขึ้นภายหลังการสวรรคตของพระองค์ทั้งสิ้น เช่นเดียวกับข่าวการเสียสติของพระองค์<ref>นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 395.</ref> ในขณะที่จดหมายโหรร่วมสมัยได้บันทึกว่า พระองค์ทรงประกอบพระราชกรณียกิจเป็นปกติจนถึง พ.ศ. 2324<ref>นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 396.</ref> การเสียสติของพระองค์จึงไม่ปรากฏในหลักฐานร่วมสมัย แต่บางฉบับก็บอกว่าเป็นวันเดียวกัน ซึ่งยังไม่มีใครทราบเป็นที่แน่ชัด
 
== สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทรงกอบกู้บ้านเมืองจากการกบฏพระยาสรรค์ก่อรัฐประหาร ==
[[ไฟล์:Wat Intharam (Wat Bang Yi Ruea Nok) - A statue of King Taksin as a Buddhist monk.JPG|thumbnail|พระบรมรูปสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงผนวช ในวิหารสมเด็จพระเจ้าตากสิน วัดอินทารามวรวิหาร]]
นิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้วิเคราะห์ว่า การที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงประกอบพระราชกรณียกิจแปลกไปจากพระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ทำให้พระองค์ทรงถูกมองว่าไม่เคารพต่อขนบธรรมเนียมดั้งเดิม<ref name="นิธิ398">นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 398.</ref> และถูกกลุ่มชนชั้นสูงต่อต้าน ข่าวลือการเสียพระสติของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีถูกแพร่ออกไปเพื่อสร้างประโยชน์ทางการเมืองให้กับกลุ่มผู้ต้องการโค่นล้มพระองค์จากพระราชอำนาจ<ref>นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 397.</ref> กลุ่มชนชั้นสูง (ไม่รวมราษฎรสามัญ) ได้รับความเดือดร้อนจากความประพฤติของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี<ref name="นิธิ398"/> พระองค์ยังได้สร้างความไม่ประทับใจให้กับฝ่ายของพระองค์เองอีกด้วย<ref name="นิธิ400"/> ท้ายที่สุดแล้วสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีก็ไม่สามารถรักษาพระราชอำนาจต่อไปได้ กลุ่มที่สืบเชื้อสายมาจากตระกูลขุนนางภายใต้การนำของพระยาจักรีจึงรัฐประหาร<ref>นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 401.</ref>
 
ในบทความ "ชำแหละแผนยึดกรุงธนบุรี" เขียนโดยปรามินทร์ เครือทอง ได้ลำดับเหตุการณ์รัฐประหารไว้ว่า:
 
แผนรัฐประหารเริ่มขึ้นเมื่อราว พ.ศ. 2324 ระหว่างการปราบปรามจลาจลในเขมร สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทราบข่าวความไม่ปกติในกรุงธนบุรี จึงให้พระยาสุริยอภัยผู้หลานมาคอยฟังเหตุการณ์อยู่ที่เมืองนครราชสีมา<ref>ปรามินทร์ เครือทอง. หน้า 84.</ref> เวลาเดียวกัน สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกก็ลอบทำสัญญากับแม่ทัพญวน ฝ่ายแม่ทัพญวนก็ให้กองทัพญวน-เขมรนั้นล้อมกองทัพ[[สมเด็จพระมหาอุปราช เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์|กรมขุนอินทรพิทักษ์]]ไว้<ref>ปรามินทร์ เครือทอง. หน้า 86.</ref>
 
แรมเดือน 4 พ.ศ. 2325 ขุนแก้ว น้องพระยาสรรค์, นายบุนนาค นายบ้านในเขตกรุงเก่า และขุนสุระ นายทองเลกทองนอก ทั้งสามได้คิดก่อการปฏิวัติขึ้น โดยรวบรวมกำลังพลจำนวนหนึ่งไปสำเร็จโทษสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และถวายราชสมบัติให้แก่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ฝ่ายเจ้าเมืองอยุธยา พระอินทรอภัย หนีรอดมาได้ กราบบังคบทูลต่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระองค์จึงให้พระยาสรรค์ขึ้นไปปราบ แต่ภายหลังได้กลายเป็นแม่ทัพยกมาตีกรุงธนบุรี<ref>ปรามินทร์ เครือทอง. หน้า 87.</ref>