ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กบฏหวันหมาดหลี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{กล่องข้อมูล ความขัดแย้งทางทหาร‎
| ความขัดแย้ง = กบฏไทรบุรีพ.ศ. 2381-82
| image =
| caption =
| วันที่ = มิถุนายน พ.ศ. 2381 - มีนาคม พ.ศ. 2382
| สถานที่ = [[รัฐเกอดะฮ์|รัฐไทรบุรี]], [[ภาคใต้ (ประเทศไทย)|ภาคใต้]]ของไทย: [[สงขลา]], [[ปัตตานี]], [[ตรัง]], [[กระบี่]]
| ผลลัพธ์ = สยามสามารถปราบกบฏไทรบุรีได้สำเร็จ
| territory =
| combatant1 = [[ไฟล์:Flag_of_Kedah_(18th_century_-_1912).svg|25px|border]] รัฐไทรบุรี
| commander1 = [[ไฟล์:Flag_of_Kedah_(18th_century_-_1912).svg|25px|border]] [[สุลต่านอาหมัดทัจจุดินฮาลิมชาฮ์ที่ 2 แห่งไทรบุรี]] (ตนกูปะแงหรัน)<br>
[[ไฟล์:Flag_of_Kedah_(18th_century_-_1912).svg|25px|border]] ตนกูอับดุลเลาะฮ์ (Tunku Abdullah)<br>
[[ไฟล์:Flag_of_Kedah_(18th_century_-_1912).svg|25px|border]] ตนกูมูฮาหมัดซาอัด (Tunku Muhammad Sa'ad)
[[ไฟล์:Flag_of_Kedah_(18th_century_-_1912).svg|25px|border]] ตนกูมูฮาหมัดทาอิบ (Tunku Muhammad Taib)
[[ไฟล์:Flag_of_Kedah_(18th_century_-_1912).svg|25px|border]] ตนกูมูฮาหมัดยิหวา (Tunku Muhammad Jiwa)
[[ไฟล์:Flag_of_Kedah_(18th_century_-_1912).svg|25px|border]] หวัน มูฮาหมัด อาลี (Wan Muhannad Ali)
| combatant2 = [[ไฟล์:Flag of Thailand (1782).svg|20px|border]] [[อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราช)|อาณาจักรรัตนโกสินทร์]]
| commander2 = [[ไฟล์:Flag of Thailand (1782).svg|20px|border]] [[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]]<br>
[[ไฟล์:Flag of Thailand (1782).svg|20px|border]] [[เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร)|พระยานครศรีธรรมราช (น้อย)]] <br>
[[ไฟล์:Flag of Thailand (1782).svg|20px|border]] [[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค)|พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา (ทัต บุนนาค)]] <br>
[[ไฟล์:Flag of Thailand (1782).svg|20px|border]] [[เจ้าพระยายมราช (บุนนาค ยมนาค)|เจ้าพระยายมราช (บุนนาค)]] <br>
[[ไฟล์:Flag of Thailand (1782).svg|20px|border]] [[พระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง)|พระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง)]] <br>
[[ไฟล์:Flag of Thailand (1782).svg|20px|border]] [[พระยาอภัยธิเบศร์ (แสง)]] <br>
[[ไฟล์:Flag of Thailand (1782).svg|20px|border]] พระวิชิตสรไกร (กล่อม) <br>
[[ไฟล์:Flag of Thailand (1782).svg|20px|border]] [[เจ้าพระยาวิเชียรคีรี (บุญสัง)|พระสุนทรนุรักษ์ (บุญสัง)]] <br>
[[ไฟล์:Flag of Thailand (1782).svg|20px|border]] [[พระยายะหริ่ง (พ่าย)]] <br>
[[ไฟล์:Flag of Thailand (1782).svg|20px|border]] พระยาสาย (ต่วนหนิดะ)
| กำลังพล1=
| กำลังพล2=}}
'''กบฏหวันหมาดหลี''' หรือ '''กบฏไทรบุรี พ.ศ. 2381-82''' เป็นการกบฏของกลุ่มผู้สนับสนุนอดีตสุลต่านอาหมัดทัจจุดินฮาลิมชาฮ์ (Ahmad Tajuddin Halim Shah) แห่งไทรบุรี หรือตวนกูปะแงหรัน (Tunku Pengeran) เป็นความพยายามในการกอบกู้[[รัฐไทรบุรี]]จากการปกครองของสยามในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ผู้นำการกบฏในครั้งนี้ได้แก่ตนกูมูฮาหมัดซาอัด (Tunku Muhammad Sa'ad) และตนกูมูฮาหมัดทาอิบ (Tunku Muhammad Taib) สองพี่น้องผู้เป็นหลานชายของอดีตสุลต่านตวนกูปะแงหรัน ร่วมมือกับหวันมาลี (Wan Mali) ซึ่งเป็นโจรสลัดใน[[ทะเลอันดามัน]] เข้ายึดเมืองไทรบุรีใน พ.ศ. 2381 จากนั้นยึดเมือง[[ตรัง]]และเข้ารุกรานเมือง[[สงขลา]]และ[[ปัตตานี]]
 
เส้น 8 ⟶ 36:
ใน พ.ศ. 2374 รัชกาล[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ตนกูกูเด่น (Tunku Kudin) ผู้เป็นบุตรของพี่ชายของอดีตสุลต่านตวนกูปะแงหรัน ยกทัพทางบกจากโปรวินซ์เวลส์เลย์เข้ายึดเมือง[[อาโลร์เซอตาร์]]เมืองหลวงของไทรบุรีได้สำเร็จ พระยาอภัยธิเบศร์ (แสง) เจ้าเมืองไทรบุรีหลบหนีมาอยู่ที่[[พัทลุง]] ฝ่ายหัวเมืองปัตตานีห้าหัวเมืองจากเจ็ดหัวเมืองนำโดย[[พระยาตานี (ต่วนสุหลง)|ต่วนสุหลง]] (Tuan Sulong) เจ้าเมืองปัตตานี เมื่อถูกเกณฑ์กำลังพลไปสู้รบกับไทรบุรีจึงก่อการกบฏขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนจาก[[รัฐกลันตัน]]และ[[รัฐตรังกานู]] เจ้าพระยานครฯ (น้อย) สามารถยึดเมืองอาโลร์เซอตาร์คืนมาได้ตนกูกูเด่นฆ่าตัวตาย และ[[เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค)]] เข้ายึดเมืองปัตตานีได้ หลังจากการกบฏหัวเมืองมลายูใน พ.ศ. 2375 ทางฝ่ายอังกฤษจึงบังคับให้อดีตสุลต่านตวนกูปะแงหรันย้ายจากเกาะปียังไปพำนักที่เมือง[[มะละกา]]
 
ใน พ.ศ. 2380 [[กรมสมเด็จพระศรีสุลาลัย]]สิ้นพระชนม์ บรรดาเจ้าเมืองข้าราชการกรมการต่างๆในหัวเมืองภาคใต้รวมทั้งเจ้าพระยานครฯ (น้อย) และ[[พระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง)|พระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง)]] ต่างอยู่ที่กรุงเทพฯเพื่อร่วมพระราชพิธี โดยมีพระวิชิตสรไกร (กล่อม) และ[[เจ้าพระยาวิเชียรคีรี (บุญสัง)|พระสุนทรนุรักษ์ (บุญสัง)]] เป็นผู้รักษาเมืองนครศรีธรรมราชและสงขลาตามลำดับ กลุ่มผู้สนับสนุนอดีตสุลต่านตวนกูปะแงหรันจึงอาศัยโอกาสนี้ในการกอบกู้รัฐไทรบุรี หวันมูอาหมัดอาลีบุตรของผู้ครองเกาะลังกาวี หรือหวันหมาดหลี หรือหวันมาลี (Wan Mali) ได้ตั้งตนขึ้นเป็นโจรสลัดในทะเลอันดามันประกอบด้วยกองกำลังของขาวมลายูและชาว[[อูรักลาโว้ย]] โดยมีฐานที่มั่นอยู่ที่[[อำเภอเกาะยาว|เกาะยาว]]ในแขวงเมือง[[ภูเก็ต|ถลาง]] รายละเอียดเกี่ยวกับการจัดเตรียมทัพฝ่ายไทรบุรีปรากฏในบันทึกของนายเชอราร์ด ออสบอร์น (Sherard Osborn) แม่ทัพเรือชาวอังกฤษผู้นำเรือเข้าล้อมเมืองไทรบุรี ในหนังสือชื่อเรื่องว่า ''The Blockade of Kedah in 1838: A Midshipman’s Exploits in Malayan Waters''<ref name=":1">Stearn, Duncan. ''Slices of Thai History: From the curious & controversial to the heroic & hardy''. Proglen Trading Co</ref> ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2400 ตนกูมูฮาหมัดซาอัดซึ่งได้หลบหนีไปยังแขวงเมืองอาเจะฮ์ได้จัดตั้งกองกำลังขึ้นอย่างเป็นความลับที่บาตูปูเตะ (Batu Puteh) บนเกาะสุมาตราใกล้กับเมืองอาเจะฮ์ ประกอบด้วยกำลังพล 2,000 คน<ref name=":1" />และเรือ 40 ลำ โดยได้รับความช่วยเหลือทางทางอาวุธยุทโปกรณ์จากชาวมลายูและพ่อค้าชาวอังกฤษบนเกาะปีนังซึ่งให้การสนับสนุนแก่อดีตสุลต่าน
 
== การสู้รบ ==
เส้น 28 ⟶ 56:
ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2381 ตนกูมูฮาหมัดซาอัดส่งตนกูมูฮาหมัดทาอิบ และตนกูมูฮาหมัดยิหวา (Tunku Muhammad Jiwa) นำทัพจำนวน 3,000 คน จากไทรบุรีไปทางเหนือเข้ารุกรานเมืองสงขลา ฝ่ายเมืองสงขลาพระสุนทรนุรักษ์ (บุญสัง) ผู้รักษาเมืองสงขลาส่งพระยาไชยานอกราชการยกทัพจากเมืองสงขลาจำนวน 800 คน เข้าสู้รบกับทัพของตนกูทาอิบ ตนกูทาอิบถอยไปอยู่ที่[[อำเภอสะเดา|สะเดา]]<ref name=":2" /> ในขณะที่พระยาไชยานอกราชการคอยตั้งรับอยู่ที่บ้านปริก ตนกูทาอิบส่งทัพแยกย้ายกระจายไปตั้งตามที่ต่างๆได้แก่ ปังลิมาโปปและปังลิมามระ ตั้งอยู่ที่บ้านสะเดา จำนวน 1,000 คน โต๊ปดังตั้งที่ยางงาม 300 คน โต๊ะนุเระอยู่ที่ตะพานสูง 400 คน ปังลิมาที่สบาเพน 300 คน ตนกูยิหวาตั้งที่ทุ่งบ้านโพธิ์ 1,000 คน
 
ข่าวการกบฏของไทรบุรีไปถึงกรุงเทพฯในเดือนกันยายนพ.ศ. 2381 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชโองการให้เจ้าพระยานครฯ (น้อย) และพระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) รีบเดินทางลงมาเพื่อป้องกันเมืองของตน รวมทั้งมีพระราชโองการให้เกณฑ์ไพร่พลจากเมือง[[ชุมพร]] เมือง[[อำเภอไชยา|ไชยา]] และเมือง[[อำเภอปะทิว|ปะทิว]] เพื่อนำไปสู้รบกับฝ่าบกบฏอีกด้วย พระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) เดินทางถึงเมืองสงขลาในเดือนธันวาคมพ.ศ. 2381 ยกทัพจากเมืองสงขลาประกอบไปด้วยคนไทยและคนจีนออกไปพร้อมกับ[[พระยาตานี (พ่าย)|พระยายะหริ่ง (พ่าย)]] เจ้าเมืองยะหริ่ง และพระยาสาย (ต่วนหนิดะ) เจ้าเมืองสาย ไปตั้งอยู่ที่[[หาดใหญ่]] พระยาสงขลาส่งพระยายะหริ่ง (พ่าย) และพระยาสาย (ต่วนหนิดะ) ยกทัพสยามเข้าโจมตีทัพของตนกูทาอิบที่สะเดาแตกพ่ายและถอยร่นไปอยู่ที่ทุ่งโพธิ์ฝั่งไทรบุรี พระยายะหริ่งและพระยาสายยกทัพติดตามตนกูทาอิบไปที่ทุ่งโพธิ์แต่ฝ่ายมลายูวกโจมตีด้านหลังตัดเส้นทางเสบียง พระยายะหริ่งและพระยาสายจึงถอยกลับมาอยู่ที่คลองหินเหล็กไฟ ตนกูทาอิบยกทัพติตามกลับมาโจมตีทัพของฝ่ายสยามที่คลองหินเหล็กไฟ พระยายะหริ่งและพระยาสายแบ่งทัพกระจายออกไปตั้งรับที่เขาลูกช้าง (ปัจจุบันคือเขารูปช้าง) เขาเก้าเส้ง และที่คลองสำโรง คุมเชิงกันอยู่
 
ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2381 ตนกูทาอิบได้แบ่งทัพ 300 คน นำโดยตนกูมูฮาหมัดยิหวาไปทางตะวันออกเข้าโจมตีเมือง[[อำเภอจะนะ|จะนะ]] ในเวลานั้นเจ้าเมืองจะนะคือพระยาจะนะ (บัวแก้ว) ไม่อยู่ไปราชการที่สงขลา ปลัดเมืองจะนะเป็นผู้รักษาป้องกันเมือง ฝ่ายไทรบุรีสามารถเข้ายึดเมืองจะนะได้และเผาทำลายเมือง จากนั้นจึงยกไปตั้งอยู่ที่บ้านนาเกลี้ยกล่อมเมือง[[อำเภอเทพา|เทพา]]และ[[อำเภอหนองจิก|หนองจิก]]ให้เข้าร่วมการกบฏ เมืองหนองจิกจึงเข้าร่วมกับฝ่ายกบฏ<ref name=":2" /> ตนกูยิหวายกทัพต่อเข้าโจมตีเมืองปัตตานี พระยาระแงะ (ตุวันบอซู) และพระพิทักษ์ธานีเมืองสายสามารถป้องกันเมืองปัตตานีไว้ได้ ตนกูยิหวาถอยร่นออกไป ในเดือนมีนาคมพ.ศ. 2382 พระยาสงขลาส่งหลวงไชยสุรินทร์ยกทัพ 500 คน ไปโจมตีทัพฝ่ายมลายูของตนกูยิหวาที่บ้านนา ตนกูยิหวาเอาชนะหลวงไชยสุรินทร์ได้ หลวงไชยสุรินทร์จึงถอยกลับมาตั้งอยู่ที่ปลักแรด (ตำบลนาทับ อำเภอจะนะ) ตนกูยิหวายกทัพติดตามมาสู้รบที่ปลักแรด พระยาสงขลาให้กำลังเสริมแก่หลวงไชยสุรินทร์ที่ปลักแรด 500 คน หลวงไชยสุรินทร์จึงต้านทานตนกูยิหวาได้ คุมเชิงกันอยู่อีกเช่นกัน