ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าพระยารัตนาพิพิธ (สน สนธิรัตน์)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{กล่องข้อมูล ไดเมียว|name=เจ้าพระยารัตนาพิพิธ<br />(สน สนธิรัตน์)|death2...
 
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
'''เจ้าพระยารัตนาพิพิธ''' (พ.ศ. 2278 - 2348) นามเดิม '''สน''' เป็น[[สมุหนายก]]คนแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ในรัชกาล[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]] เป็นแม่ทัพผู้มีบทบาทใน[[สงครามเก้าทัพ]]และ[[สงครามตีเมืองทวาย]] เป็นต้นสกุล"สนธิรัตน์"
 
เจ้าพระยารัตนาพิพิธเกิดเมื่อปีเถาะ พ.ศ. 2278<ref name=":0">สมมตอมรพันธุ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. '''เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์'''. กรุงเทพ : กรมศิลปากร, 2545.</ref> ในรัชกาล[[สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ|พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ]] เดิมชื่อว่า สน หนังสือของ[[ก.ศ.ร. กุหลาบ]] ระบุว่าเจ้าพระยารัตนาพิพิธเป็นบุตรชายของขุนกำแหง (สุ่น)<ref>เอียวศรีวงศ์, นิธิ. '''การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี'''. กรุงเทพฯ; มติชน, พ.ศ. 2550.</ref> กรมการด่านเมือง[[อำเภอสวรรคโลก|สวรรคโลก]]เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยา เจ้าพระยารัตนาพิพิธมีน้องชายซึ่งต่อมามีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงธรเณนทร์<ref name=":1">[[พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร|พิทยลาภพฤฒิยากร, พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่น]]. '''ศกุนตลา บทลครร้องสำหรับเล่นบทเวที''': ประวัติท่านผู้หญิงกลีบ มหิธร. พิมพ์ในการพระราชทานเพลิงศพท่านผู้หญิงกลีบ มหิธร, กรกฎาคม พ.ศ. 2504.</ref> เจ้าพระยารัตนาพิพิธปรากฏครั้งแรกรับราชการเป็น''พระอักษรสุนทร''<ref name=":0" /> เสมียนตรากรมมหาไทยมหาดไทยในสมัยกรุงธนบุรี ซึ่งอยู่ภายใต้การบัญชาของเจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง) เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเสด็จยกทัพไปตีอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ พระอักษรสุนทร (สน) ได้ติดตามเสด็จไปด้วยและได้รับเจ้าเชื้อพระวงศ์ลาวชื่อว่าเจ้าสุมณฑา<ref name=":1" />มาเป็นภรรยา เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเสด็จขึ้นครองราชสมบัติในพ.ศ. 2325 ทรงแต่งตั้งพระอักษรสุนทร (สน) ขึ้นเป็นเจ้าพระยารัตนาพิพิธที่สมุหนายก เป็นสมุหนายกคนแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ ดังใน''คำปรึกษาตั้งข้าราชการ''ว่า "''นายสนเป็นข้าใต้ละอองธุลีพระบาท มีความอุตสาหะจงรักภักดี ทำราชการช้านานมา จนเสด็จพระราชดำเนินงานพระราชสงครามแห่งใด ก็ได้โดยเสด็จพระราชดำเนิน ทำราชการฉลองพระเดชพระคุณต่างพระเนตรพระกรรณทุกครั้งมิได้เว้นว่าง...มีความชอบมาก จะให้ไปพานเมืองครองเมืองอันใหญ่ แต่ข้าพระพุทธเจ้าเห็นว่าจะไกลใต้ละอองธุลีพระบาทนัก ข้าพเจ้าทั้งปวงขอพระราชทานให้เป็น เจ้าพระยารัตนาพิพิธว่าที่สมุหนายก...''"<ref name=":0" />
 
ในพ.ศ. 2328 [[สงครามเก้าทัพ]] พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯมีพระราชโองการให้เจ้าพระยารัตนาพิพิธ (สน) ยกทัพฝ่ายพระราชวังหลวง<ref name=":2">[[เจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค)|ทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา]]. '''พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑'''. พิมพ์ครั้งที่ ๖.</ref>ไปกับทัพของ[[กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท]]ในการเสด็จไปรบกับทัพพม่าใน[[การรบที่ลาดหญ้า]] และยกทัพตามเสด็จกรมพระราชวังบวรฯอีกครั้งใน[[สงครามท่าดินแดง]]ในพ.ศ. 2329 ร่วมกับพระยากลาโหมราชเสนาและพระยาจ่าแสนยากร เป็นทัพหน้าตั้งค่ายที่สามสบและสามารถตีทัพพม่าแตกพ่ายไปได้
บรรทัด 12:
เจ้าพระยารัตนาพิพิธถึงแก่อสัญกรรมในพ.ศ. 2348 อายุ 70 ปี ในรัชกาลที่ 1 ซึ่งในปีพ.ศ. 2348 นั้น มีเจ้าพระยากรุงรัตนโกสินทร์ถึงแก่อสัญกรรมถึงสามคน<ref name=":0" /> ได้แก่ เจ้าพระยารัตนาพิพิธ (สน) [[เจ้าพระยาพระคลัง (หน)]] และเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค)
 
เจ้าพระยารัตนาพิพิธ มีบุตรธิดาดังต่อไปนี้;<ref name=":3">รัตนกุลอดุลยภักดี, พระยา. '''ลำดับสกุลเก่าบางสกุล ภาคที่ ๑'''. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2463.</ref>
 
* [[เจ้าจอมอำพัน ในรัชกาลที่ 2]]
บรรทัด 24:
* ญ. ม่วง
* ญ. สุด
[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว]]พระราชทานนามสกุล "สนธิรัตน์" ให้แก่พระยาวรวิไชยวุฒิกร (เลื่อม สนธิรัตน์)<ref>http://www.phyathaipalace.org/%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99/nametiger.html</ref> มาจากคำว่า "สน" ซึ่งเป็นชื่อเดิมของเจ้าพระยารัตนาพิพิธ และคำว่า "รัตน์" มาจาก[[ราชทินนาม]] "รัตนาพิพิธ" พระยาวรวิไชยวุฒิกร (เลื่อม) เป็นบุตรของพระยาบุริมทิศพิไชย (สุด สนธิรัตน์)<ref name=":3" /> ซึ่งพระยาบุริมทิศพิไชย (สุด) นั้น เป็นบุตรของเจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์ (ละมั่ง) และเป็นหลานของเจ้าพระยารัตนาพิพิธ
 
== อ้างอิง ==