ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าพระยาอภัยภูธร (น้อย บุณยรัตพันธุ์)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4:
เจ้าพระยาอภัยภูธร (น้อย) เป็นบุตรของ[[เจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช (บุญรอด บุณยรัตพันธุ์)|เจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์ (บุญรอด)]] ซึ่งเป็นต้นสกุล"บุณยรัตพันธุ์" เป็นเสนาบดีกรมวังในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]] เจ้าพระยาอภัยภูธร (น้อย) มีพี่น้องได้แก่ [[เจ้าจอมมารดาสี ในรัชกาลที่ 2]] หรือ"เจ้าคุณพี" [[เจ้าจอมมารดาแก้ว ในรัชกาลที่ 3]] และพระอนุชิตชาญไชย (ขุนทอง)<ref name=":0">รัตนกุลอดุลยภักดี, พระยา. '''ลำดับสกุลเก่าบางสกุล ภาคที่ ๑'''. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2463.</ref> เจ้าพระยาอภัยภูธร (น้อย) ปรากฏครั้งแรกว่ารับราชการเป็นพระอนุชิตราชา<ref name=":1">สมมตอมรพันธุ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. '''เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์'''. กรุงเทพ : กรมศิลปากร, 2545.</ref> จางวางกรมพระตำรวจขวาในรัชกาลที่ 1
 
หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯเสด็จสวรรคตในพ ในพ.ศ. 2352 พระอนุชิตราชา (น้อย) เก็บบัตรสนเท่ห์<ref name=":2" />ได้ที่ใต้ต้นแจงที่ลาน[[พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท]] ใจความของบัตรสนเท่ห์นั้นแจ้งว่า[[หม่อมเหม็น|เจ้าฟ้ากรมขุนกษัตรานุชิต]]พระโอรสใน[[สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี]]ทรงร่วมกับขุนนางจำนวนหนึ่งเตรียมก่อการกบฏ<ref name=":2" /> นำไปสู่การสำเร็จโทษกรมขุนกษัตรานุชิตและขุนนางเหล่านั้น จากนั้น[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]]ทรงแต่งตั้งพระอนุชิตราชา (น้อย) ขึ้นเป็นเจ้าพระยายมราช เสนาบดีกรมนครบาล
 
ในปีเดียวกันพ.ศ. 2352 [[สงครามพม่าตีเมืองถลาง]] [[พระเจ้าปดุง]]ส่งกองทัพเรือพม่าเข้ารุกรานเมือง[[อำเภอถลาง|ถลาง]][[เกาะภูเก็ต]] พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงมีพระราชโองการให้เจ้าพระยายมราช (น้อย) ยกทัพจากกรุงเทพฯลงไปสมทบกับ[[เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (พัฒน์ ณ นคร)|เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (พัฒน์)]] ที่เมือง[[นครศรีธรรมราช]]เพื่อยกทัพเข้าป้องกันเมืองถลาง แต่เมื่อเจ้าพระยายมราช (น้อย) และเจ้าพระยานครฯ (พัฒน์) ยกทัพไปถึงเมือง[[ตรัง]]แล้วประสบปัญหาขาดแคลนเรือ<ref name=":2">ดำรงราชานุภาพ, พระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระยา. '''พระราชพงษาวดาร กรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ ๒'''. </ref>ต้องต่อเรือใหม่ ทัพพม่าจึงสามารถเข้ายึดเมืองถลางได้ จนกระทั่งในภายหลังเจ้าพระยานครฯ (พัฒน์) ส่ง[[เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร)|พระบริรักษ์ภูเบศร์ (น้อย)]] ยกทัพเรือไปยึดเมืองถลางคืนมาได้สำเร็จ
 
ในพ.ศ. 2354 พระมหาอุปโยราชนักองค์สงวนซึ่งฝักใฝ่สยามก่อการกบฏขึ้นต่อ[[สมเด็จพระอุไทยราชาธิราชรามาธิบดี|สมเด็จพระอุไทยราชา]]นักองค์จันกษัตริย์กัมพูชาซึ่งฝักใฝ่ญวน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีพระราชโองการให้เจ้าพระยายมราช (น้อย) ยกทัพไปยังกัมพูชาเพื่อไกล่เกลี่ยการวิวาทระหว่างนักองค์จันและนักองค์สงวน เจ้าพระยายมราช (น้อย) ยกทัพไปยังเมือง[[พระตะบอง]]ในพ.ศ. 2355 และตั้งมั่นอยู่ที่เมือง[[โพธิสัตว์ (เมือง)|โพธิสัตว์]] ส่งสาส์นถึงพระอุไทยราชานักองค์จันขอให้ยุติการวิวาท<ref name=":2" /> แต่พระอุไทยราชานักองค์จันทร์ไม่ตอบ เจ้าพระยายมราช (น้อย) จึงนำนักองค์สงวนยกทัพเข้าโจมตีเมือง[[อุดงมีชัย|อุดง]] พระอุไทยราชานักองค์จันทร์กษัตริย์กัมพูชาหลบหนีไปยังเมือง[[ไซ่ง่อน]]อยู่ภายใต้ความคุ้มครองของ"องต๋ากุน"[[เล วัน เสวียต|เลวันเสวียต]] (Lê Văn Duyệt) ข้าหลวงญวนประจำเวียดนามภาคใต้ นักองค์อิ่มและ[[นักองค์ด้วง]] อนุชาอีกสององค์ของพระอุไทยราชานักองค์จันเข้าร่วมกับฝ่ายสยาม เจ้าพระยายมราช (น้อย) มีสาส์นถึงองต๋ากุนแจ้งว่าการยกทัพมาครั้งมีจุดประสงค์เพื่อมาไกล่เกลี่ยเท่านั้น<ref name=":2" /> แต่ทั้งนักองค์จันและองต๋ากุนไม่ตอบ ทัพของเจ้าพระยายมราช (น้อย) ที่ตั้งอยู่ที่เมืองอุดงนั้นขาดเสบียงอาหาร<ref name=":2" />จึงถอยทัพกลับพร้อมทั้งนำเจ้าชายเขมรทั้งสามได้แก่นักองค์สงวน นักองค์อิ่ม และนักองค์ด้วงกลับมาที่กรุงเทพฯด้วย เมื่อทัพฝ่ายสยามถอนกลับไปแล้ว องต๋ากุนเลวันเสวียตจึงนำพระอุไทยราชานักองค์จันมาครองราชสมบัติดังเดิมที่เมือง[[พนมเปญ]]