ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สงครามเมืองถลาง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
{{สั้นมาก}}
{{กล่องข้อมูล ความขัดแย้งทางทหาร
| ความขัดแย้ง = สงครามพม่าตีเมืองถลาง พ.ศ. 2352
|date = มิถุนายนตุลาคม .ศ. 18092352 – มกราคม .ศ. 18122353
|place = เมืองถลาง ภาคใต้ของสยาม อ่าวตะนาวศรี
|place = เกาะภูเก็ต ภาคใต้ของไทย เมืองชุมพร
|result = สยามได้ชัยชนะ
|combatant1 = [[ไฟล์:Flag of Burma (Alaungpaya Dynasty).svg|25px|border]] [[ราชวงศ์โกนบองคองบอง|อาณาจักรพม่า]]
|combatant2 = [[ไฟล์:Flag of Thailand (1782).svg|20px|border]] [[อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์สมบูรณาญาสิทธิราช)|อาณาจักรรัตนโกสินทร์]]
|commander1 = [[ไฟล์:Flag of Burma (Alaungpaya Dynasty).svg|25px|border]] [[พระเจ้าปดุง]] <br> [[ไฟล์:Flag of Burma (Alaungpaya Dynasty).svg|25px|border]] อะเติงหวุ่น <br> [[ไฟล์:Flag of Burma (Alaungpaya Dynasty).svg|25px|border]] แยคอง <br> [[ไฟล์:Flag of Burma (Alaungpaya Dynasty).svg|25px|border]] ดุเรียงสาระจอ
|commander1 = [[พระเจ้าปดุง]]
|commander2 = [[ไฟล์:Flag of Thailand (1782).svg|20px|border]] [[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเลิศหล้านภาลัย]]<br>
[[ไฟล์:Flag of Thailand (1782).svg|20px|border]] [[กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์]] <br>
[[ไฟล์:Flag of Thailand (1782).svg|20px|border]] [[สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษมนตรี]] <br>
[[ไฟล์:Flag of Thailand (1782).svg|20px|border]] [[เจ้าพระยาอภัยภูธร (น้อย บุณยรัตพันธุ์)|เจ้าพระยายมราช (น้อย บุณยรัตพันธุ์)]] <br>
[[ไฟล์:Flag of Thailand (1782).svg|20px|border]] [[เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (พัฒน์ ณ นคร)|เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (พัฒน์)]] <br>
[[ไฟล์:Flag of Thailand (1782).svg|20px|border]] [[เจ้าพระยาพลเทพ (สา)]] <br>
[[ไฟล์:Flag of Thailand (1782).svg|20px|border]] พระยาจ่าแสนยากร (บัว) <br>
[[ไฟล์:Flag of Thailand (1782).svg|20px|border]] พระยาถลาง (เทียน) <br>
[[ไฟล์:Flag of Thailand (1782).svg|20px|border]] พระยาทศโยธา <br>
[[ไฟล์:Flag of Thailand (1782).svg|20px|border]] พระยาราชประสิทธิ์
}}
 
เส้น 18 ⟶ 28:
หลังจากสงครามเก้าทัพและสงครามตีเมืองทวาย สยามและพม่าอยู่ในสภาวะคุมเชิงกันอยู่<ref name=":1">[[กรมพระยาดำรงราชานุภาพ|ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จกรมพระยา]].. '''พระราชพงษาวดาร กรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ ๒'''. ฉบับพิมพ์ครั้งแรก ปีมโรงอัฐศก พ.ศ. ๒๔๕๙; พิมพ์ที่โรงพิมพ์ไทย ณสพานยศเส</ref> ในพ.ศ. 2351 ฝ่ายพม่าพระเจ้าปดุงทรงส่งทูตมายังกรุงเทพฯ พระเจ้าปดุงทรงตระหนักว่า[[กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท]]เสด็จสวรรคตไปในพ.ศ. 2346 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯทรงพระชราภาพ ฝ่ายไทยเห็นจะขาดแม่ทัพผู้มีความสามารถในการต้านทานการรุกรานของพม่า<ref name=":1" /> พระเจ้าปดุงจึงมีพระราชโองการให้อะเติงหวุ่นเกณฑ์กำลังพลที่เมือง[[เมาะตะมะ]]เพื่อจัดทัพเข้ารุกรานสยาม แต่อะเติงหวุ่นทำงานไม่รัดกุมทำให้ไพร่พลที่เกณฑ์มาสามารถหลบหนีไปได้ทีละเล็กน้อยจำนวนมาก<ref name=":1" /> เมื่อไม่สามารถรวบรวมกำลังพลได้เพียงพอขุนนางพม่าจึงกราบทูลพระเจ้าปดุงว่าฝ่ายพม่าไม่พร้อมสำหรับการรุกรานสยามในครั้งนี้ พระเจ้าปดุงจึงมีพระราชโองการให้ยุติการรุกรานสยามในครั้งนี้ไป
 
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯเสด็จสวรรคตในเดือนกันยายน พ.ศ. 2352<ref name=":1" /> สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ กรมพระราชวังบวรสถานมงคลฯ เสด็จขึ้นครองราชสมบัติต่อเป็น[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]] ทรงประกอบพิธีบรมราชาภิเษกในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2352 ฝ่ายพม่าเมื่อทราบว่าสยามกำลังผลัดเปลี่ยนรัชกาล อะเติงหวุ่นจึงกราบทูลพระเจ้าปดุงว่า ขณะนั้ได้จัดเตรียมทัพไว้แล้ว หากไม่ไปโจมตีกรุงเทพฯขอให้ไปโจมตีหัวเมืองชายทะเลภาคใต้ของไทย เพื่อไม่ให้การจัดเตรียมทัพในครั้งนี้สูญเปล่า<ref name=":1" /> พระเจ้าปดุงจึงมีพระราชโองการให้อะเติงหวุ่นยกทัพลงมาตั้งที่เมือง[[ทวาย]] เพื่อเตรียมทัพเข้ารุกรานภาคใต้ของไทย
 
== การจัดเตรียมทัพฝ่ายพม่า ==
ในเดือนพฤศจิกายนตุลาคม พ.ศ. 2352 หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จผ่านพิภพได้ประมาณสองเดือน และหลังจากพิธีบรมราชาภิเษกประมาณหนึ่งเดือน อะเติงหวุ่นแม่ทัพพม่าจัดตั้งทัพที่เมืองทวายจำนวนทั้งสิ้น 7,000 คน แบ่งกองทัพเข้าโจมตีภายใต้ของไทยดังนี้;<ref name=":1" />
 
* แยคอง นำทัพจำนวน 4,000 คน ยกทัพลงมาโจมตีเมือง[[อำเภอตะกั่วป่า|ตะกั่วป่า]] [[อำเภอตะกั่วทุ่ง|ตะกั่วทุ่ง]] และเมืองถลาง
* ดุเรียงสาระจอ นำทัพจำนวน 3,000 คน ยกเข้าโจมตีทางเมือง[[ระนอง]] เมือง[[อำเภอกระบุรี|กระบุรี]] และเข้าโจมตีเมือง[[ชุมพร]]
 
เส้น 34 ⟶ 44:
 
== การรบ ==
 
=== การรบที่ถลาง ===
แยคองแม่ทัพพม่ายกทัพจำนวน 4,000 คน จากเมืองทวายลงมาโจมตียึดเมืองตะกั่วทุ่งและตะกั่วป่าได้สำเร็จในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2352 จากนั้นจึงยกทัพขึ้นเกาะภูเก็ตตั้งทัพอยู่ที่ปากพระ พระยาถลาง (เทียน) เมื่อทัพพม่ายกมาจึงแจ้งรายงานมายังกรุงเทพฯ แล้วเกณฑ์กำลังคนป้องกันเมืองถลางบ้านดอน แยคองยกทัพเข้าล้อมเมืองถลาง นำไปสู่'''การล้อมเมืองถลาง''' ชาวเมืองถลางสามารถป้องกันเมืองไว้ได้ ฝ่ายพม่ายังไม่สามารถยึดเมืองถลางได้ เวลาผ่านไปประมาณหนึ่งเดือน ในเดือนพฤศจิกายน แยคองแฝ่ทัพพม่าใช้อุบาลแสร้งว่าถอยทัพกลับไป ฝ่ายชาวเมืองถลางเห็นว่าพม่าถอยกลับไปแล้วจึงลดการป้องกันเมืองพากันออกมาจากค่ายเมือง แยคองเมื่อเห็นว่าฝ่ายเมืองถลางลดการป้องกันเมืองลงแล้วจึงยกทัพเข้ามาล้อมเมืองอีกครั้ง พระยาถลาง (เทียน) เรียกเกณฑ์คนเข้ามาในเมืองไม่ทันทำให้มีกำลังพลในการป้องกันเมืองน้อยลงกว่าเดิม นอกจากนี้แยคองยังส่งทัพไปขึ้นที่ท่ายามูเข้าล้อมเมืองภูเก็ตทางตอนใต้ของเกาะภูเก็ตอีกด้วย
 
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯเมื่อทรบทราบข่าวพม่าโจมตีเมืองถลางแล้ว จึงมีพระราชโองการให้จัดทัพเพิ่มเติมดังนี้;
 
* พระยาทศโยธา และพระยาราชประสิทธิ์ ยกทัพจากเมือง[[อำเภอไชยา|ไชยา]] ไปช่วยเมืองถลางต้านทัพพม่าที่ปากพระก่อน
* [[เจ้าพระยาอภัยภูธร (น้อย บุณยรัตพันธุ์)|เจ้าพระยายมราช (น้อย บุณยรัตพันธุ์)]] ยกทัพไปช่วยเหลือเมืองถลาง พระยาท้ายน้ำเป็นทัพหน้า
* [[เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (พัฒน์ ณ นคร)|เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (พัฒน์)]] ยกทัพไปสมทบกับเจ้าพระยายมราชอีกทัพหนึ่ง
 
เจ้าพระยายมราช (น้อย) พระยาทศโยธา และพระยาราชประสิทธิ์ ยกทัพออกจากปากน้ำเจ้าพระยาเมื่อวันแรม 11 ค่ำ เดือนสิบสอง (พฤศจิกายน พ.ศ. 2352) เจ้าพระยายมราชยกทัพเดินทางไปยังเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อเจ้าพระยายมราชพบกับเจ้าพระยานครฯ (พัฒน์) ที่เมืองนครศรีธรรมราชแล้ว จึงยกทัพไปตั้งที่ตรัง สุลต่านตวนกูปะแงหรัน (Tunku Pengeran) แห่งไทรบุรีได้ส่งทัพมลายูมาสมทบกับฝ่ายสยามที่เมืองตรัง<ref name=":1" /> เจ้าพระยายมราชประสบปัญหาขาดแคลนเรือ<ref name=":1" />ไม่สามารถหาเรือนำทัพยกข้ามไปช่วยเมืองถลางได้ต้องต่อเรือใหม่ เมื่อทัพเมืองไชยาของพระยาทศโยธาและพระยาราชประสิทธิ์ยกมาถึงกราภูงา ([[อำเภอเมืองพังงา|อำเภอเมือง]] [[จังหวัดพังงา]]) ก็ไม่สามารถหาเรือข้ามไปเกาะภูเก็ตได้เช่นกัน เจ้าพระยายมราชเกรงว่าจะช่วยเมืองถลางไม่ทันการณ์จึงให้หาเรือราษฎรจำนวนหนึ่งให้พระยาท้ายน้ำยกทัพบางส่วนไปช่วยเมืองถลางก่อน พระยาท้ายน้ำยกทัพเรือไปพบกับทัพพม่าที่ม่ายามูซึ่งล้อมเมืองภูเก็ตอยู่ นำไปสู่'''การรบที่ท่ายามู''' รบกันในทะเล พระยาท้ายน้ำสามารถเอาชนะพม่าที่ท่ายามูขับออกไปจากเมืองภูเก็ตได้ แต่เกิดอุบัติเหตุสะเก็ดไฟถูกถังดินประสิวระเบิดเรือแตกสลายทำให้มีผู้เสียชีวิตรวมทั้งพระยาท้ายน้ำ<ref name=":1" /> เมื่อพระยาท้ายน้ำเสียชีวิตแล้วหลวงสุนทรและหลวงกำแหงผู้รอดชีวิตจึงนำศพพระยาท้ายน้ำและนำทัพที่เหลือกลับขึ้นฝั่งที่คลองปากลาว (กระบี่)
 
ฝ่ายแยคองเมื่อทราบว่าฝ่ายไทยส่งทัพมาช่วยเหลือเมืองถลางจำนวนมาก แต่ยังไม่สามารถข้ามทะเลมาได้ จึงเร่งรัดให้โจมตีเข้ายึดเมืองถลางให้ได้ หลังจากที่ฝ่ายพม่าล้อมเมืองครั้งหลังเป็นเวลา 27 วัน แยคองฝ่ายพม่าจึงสามารถเข้ายึดเมืองถลางได้ในที่สุดในวันขึ้น 9 ค่ำ เดือนยี่ (มกราคม พ.ศ. 2353) ทำลายเมืองถลางบ้านดอนลงอย่างสิ้นเชิง ชาวเมืองถลางจำนวนมากหลบหนีพม่าขึ้นมาที่ฝั่งกราภูงา ในเวลานั้นเองทางพระยาทศโยธาสามารถยกทัพเรือจากกราภูงามายังเมืองถลางได้ และทางฝ่ายเมืองตรังเจ้าพระยานครฯ (พัฒน์) ส่งบุตรชายบุญธรรมของตนคือ[[เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร)|พระบริรักษ์ภูเบศร์ (น้อย)]] ยกทัพเรือจากตรังและทัพมลายูไทรบุรีข้ามมาเมืองถลาง ฝ่ายพม่าขณะกำลังกวาดต้อนผู้คนและทรัพย์สินเมืองถลาง ได้ยินเสียงคลื่นลมทะเล<ref name=":1" />เข้าใจว่าทัพฝ่ายไทยได้ยกมาถึงแล้ว แยคองจึงให้จึงรีบรุดจับตัวพระยาถลาง (เทียน) และกวาดต้อนผู้คนทรัพย์สินกลับไปยังพม่า ฝ่ายพระยาทศโยธาและพระบริรักษ์ภูเบศร์มาถึงเมืองถลางพบว่าทัพพม่าได้ถอยกลับไปแล้ว แต่ยังสามารถจับเชลยชาวพม่าบางส่วนที่กลับไม่ทัน และเมื่อเรือเสบียงพม่าซึ่งไม่ทราบว่าฝ่ายพม่าได้ถอยไปแล้วมาส่งเสบียงที่เมืองถลาง ฝ่ายไทยจึงจับเรือเสบียงนั้นไว้ได้
 
=== การรบที่ชุมพร ===
ดุเรียงสาระจอยกทัพจำนวน 3,000 คน ยกทัพเข้าโจมตีเมืองระนอง เมืองกระบุรี และเข้ายึดเมืองชุมพรได้สำเร็จ ฝ่ายกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ฯเสด็จยกทัพออกจากกรุงเทพฯในเดือนธันวาคมพ.ศ. 2352 ไปยังเมืองเพชรบุรี มีพระราชบัณฑูรให้พระยาจ่าแสนยากร (บัว) ยกทัพจากเพชรบุรีเข้าโจมตีทัพพม่าที่ชุมพร นำไปสู่'''การรบที่ชุมพร''' พระยาจ่าแสนยากร (บัว) สามารถเอาชนะทัพพม่าที่ชุมพรแตกพ่ายไปได้ ทัพของพระยาจ่าแสนยากรยกติดตามพม่าไปจนถึงเมืองตะกั่วป่า ได้ทราบว่าฝ่ายพม่าได้ยึดทำลายเมืองถลางและถอยกลับไปแล้ว ผู้คนชาวเมืองถลางหลบหนีมาอยู่ที่กราภูงาบนฝั่ง จึงมีพระราชบัณฑูรให้พระยาจ่าแสนยากรประจำอยู่ที่ชุมพร คอยรวบรวมราษฎร์ที่หลบหนีกระจัดกระจายมาตั้งเมืองถลางอยู่ชั่วคราวอยู่ที่กราภูงา เพื่อที่จะกลับไปฟื้นฟูเมืองถลางขึ้นใหม่อีกครั้ง แล้วกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ฯจึงเสด็จกลับพระนครฯทางชลมารค
 
== บทสรุป ==
สงครามพม่าตีเมืองถลางในพ.ศ. 2352-53 นี้ เป็นการรุกรานของพม่าที่เกิดขึ้นจริงครั้งสุดท้ายใน[[ประวัติศาสตร์ไทย]] ฝ่ายพม่าสามารถเข้ายึดเมืองถลางได้ เมืองถลางบ้านดอนถูกทำลายลงอย่างสิ้นเชิง พระยาถลาง (เทียน) เจ้าเมืองถลางถูกจับตัวเป็นเชลยกลับไปยังพม่า ทำให้ตอนเหนือของเกาะภูเก็ตได้รับความเสียหายมากสูญเสียประชากรและทรัพย์สิน ชาวเมืองถลางจำนวนมากหลบหนีขึ้นฝั่งไปรวมกันที่กราภูงา เมืองถลางย้ายไปอยู่ที่กราภูงาชั่วคราวพระยาถลางคนต่อมาปกครองเมืองถลางที่กราภูงา นำไปสู่การจัดตั้งเมืองพังงาขึ้นในที่สุด เกาะภูเก็ตทั้งเมืองถลางเดิมและเมืองภูเก็ตถูกโอนไปอยู่ภายใต้การปกครองของเมืองนครศรีธรรมราช เมืองถลางเดิมยังคงเป็นเมืองร้างไปเป็นระยะเวลาสิบห้าปี มีเพียงเมืองภูเก็ตทางตอนใต้ของเกาะที่ยังดำรงอยู่ จนกระทั่งในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] จึงมีการฟื้นฟูเมืองถลางขึ้นที่เกาะภูเก็ตอีกครั้งในพ.ศ. 2367<ref>http://student.cba.ac.th/2560/503/witsanee503/history.html</ref>
 
== อ้างอิง ==