ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอเขมราฐ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
PepeBonus (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 26:
 
ชื่อบ้านนามเมือง '''เขมราษฎร์ธานี''' หรือ '''เขมราฐ''' แต่ก็มีความหมายเดียวกันคือ
* '''เขม''' เป็นคำมาจากภาษาบาลี หมายถึง ความเกษมสุข โดยคำที่เทียบเคียงคือคำว่า "เกษม" ที่มาจากภาษาสันสกฤต
* '''ราษฎร''' เป็นคำที่มาจากภาษาลีสันสกฤตมีความหมายตรงกับ “รัฐ” หรือ “รัฏฐ” ซึ่งมาจากภาษาบาลี หมายถึง แว่นแคว้น หรือดินแดนนั้นเอง
ดังนั้น คำว่า "เขมราษฎร์ธานี" หรือ "เขมราฐ" จึงมีความหมายรวมว่า '''ดินแดนแห่งความเกษมสุข'''
 
ระหว่างปี พ.ศ. 2369 เกิดศึกระหว่างกรุงเทพมหานครกับนครเวียงจันทน์ เจ้าอนุวงศ์ ได้บัญชาการให้เจ้าราชบุตรแห่งนครจำปาศักดิ์ ยกทัพมายึดเมืองเขมราษฎร์ธานี แลขอให้พระเทพวงศา (เจ้าก่ำ) เข้าร่วมตีกรุงเทพฯ ด้วย แต่ทว่าพระเทพวงศานั้นไม่ยินยอมจะเข้าด้วยกับแผนการ และการศึกครั้งนี้ จึงเป็นเหตุให้พระเทพวงศาถูกจับประหารชีวิต คล้ายกับเหตุการณ์ของพระยาภักดีชุมพล (แล) แห่งเมืองชัยภูมิ จึงทำให้เมืองเขมราษฎร์ธานีว่างเว้นเจ้าผู้ครองเมือง โดยพระเทพวงศา (เจ้าก่ำ) นั้น ท่านมีบุตร และบุตรี 4 คน คือ
* 1.# ท้าวบุญจันทร์
* 2.# ท้าวบุญเฮ้า
* 3.# ท้าวชำนาญไพรสณฑ์ (แดง) ต่อมาเป็นที่พระกำจรจาตุรงค์ (แดง) เจ้าเมืองวารินทร์ชำราบ คนที่ 1
* 4.# นางหมาแพง
 
ปี พ.ศ. 2371 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวบุญจันทร์ บุตรพระเทพวงศา (เจ้าก่ำ) เป็นที่พระเทพวงศา (บุญจันทร์) เจ้าผู้ครองเมืองเขมราษฎร์ธานี คนที่ 2 (พ.ศ. 2371-2395) ซึ่งพระเทพวงศา (บุญจันทร์) ท่านมีบุตรชาย 2 คน คือ ท้าวบุญสิงห์ และท้าวบุญชัย และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เมืองโขงเจียม และเมืองเสมี๊ยะ ขึ้นตรงต่อเจ้าเมืองจำปาสัก มาขึ้นตรงต่อเมืองเขมราษฎร์ธานี