ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นวนิยาย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
'''นวนิยาย''' เป็นรูปแบบหนึ่งของ[[วรรณกรรม]]ลายลักษณ์ แต่งในรูปของ[[ร้อยแก้ว]] มีลักษณะแตกต่างจากเรื่องแต่งแบบเดิม ที่เรียกว่า[[นิทาน]]
 
''นว'' มีความหมายว่า "ใหม่" ''นิเยย'' (និយាយ) เป็นภาษาเขมรมีความหมายว่า "เล่า" ซึ่งมีความหมายเดียวกับคำว่า ''นิทาน'' ของภาษาบาลี ดังนั้นคำว่านวนิยายจึงมีความหมายว่า "เรื่องเล่าหรือนิทานแบบใหม่" ซึ่งตรงกับคำว่า Novella ใน[[ภาษาอิตาลี]]<ref name="ram"/> คำนี้ถูกใช้เป็นครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 14 กับวรรณกรรมเรื่อง ''[[ตำนานสิบราตรี]]'' ของ[[โจวันนี บอกกัชโช]] ซึ่งมีข้อแตกต่างจากนิยายที่เคยแต่งกันมาอยู่หลายประการ อย่างไรก็ตาม
 
นิยาย/นิทานแบบดั้งเดิมมักพยายามโน้มน้าวให้ผู้อ่านเชื่อว่าเป็นเรื่องจริง อาทิ [[รามเกียรติ์]] หรือ[[อีเลียด]] ขณะที่นวนิยายใช้กลวิธีให้ผู้อ่านเห็นว่าไม่ใช่เรื่องจริง<ref name="ram"/> นักวิจารณ์และปัญญาชน กิลเบิร์ต ไฮอิต (Gilbert Highet) ได้อธิบายความหมายของคำว่านวนิยายไว้ว่า "นวนิยายคือเรื่องเล่าขนาดยาวที่เกี่ยวกับบุคคลที่ไม่มีตัวตนจริง นวนิยายเป็นทั้งเรื่องจริงและเท็จ กล่าวคือ แม้ว่าบุคคลและตัวละครต่างๆไม่เคยมีอยู่จริง แต่ตัวละครในนวนิยายนั้นก็เป็นที่ยอมรับว่าเป็นแบบฉบับของบุคคลที่มีชีวิตจริง และพฤติกรรมของตัวละคนก็สอดคล้องกับลักษณะความเป็นที่ปรากฎขึ้นจริงในสถานที่และยุคสมัยนั้นๆ"<ref name="ram">{{อ้างหนังสือ
| ผู้แต่ง = รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง | จังหวัด = กรุงเทพฯ | ชื่อหนังสือ = วรรณกรรมปัจจุบัน | พิมพ์ที่ = สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง | ปี = 2540 | ISBN = 974-501-541-5 | จำนวนหน้า = 272}}</ref>