ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปริภูมิ-เวลา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:General relativity time and space distortion extract.gif|330px|thumb|'''แผนภาพปริภูมิ-เวลา''' เส้นระหว่างนาฬิกาทุกเรือนมีความยาวเท่ากันที่หนึ่งชั่วโมงแสง (1.07 ล้านล้านกิโลเมตร) แต่หากเรามองแผนภาพนี้ในฐานะผู้สังเกตการณ์ เราจะรู้สึกว่าลำแสงที่เดินทางผ่านแนวสีน้ำเงินฟ้าจะได้ระยะทางกระจัดไกลกว่าลำแสงที่เดินทางผ่านแนวสีน้ำเงินเขียวในระยะเวลาเท่ากัน]]
 
ในวิชา[[ฟิสิกส์]] '''ปริภูมิ-เวลา''' ({{lang-en|spacetime}}) เป็น[[แบบจำลองทางคณิตศาสตร์]]ใด ๆ ที่รวม[[ปริภูมิ]]และเวลาเข้าด้วยกันเป็น[[ความต่อเนื่อง]]ประสานเดียว ปริภูมิ-เวลาของเอกภพนั้นเดิมตีความจากมุมมอง[[ปริภูมิแบบยุคลิด]] (Euclidean space) ซึ่งถือว่าปริภูมิประกอบด้วย[[ปริภูมิสามมิติ|สามมิติ]] และเวลาประกอบด้วยหนึ่งมิติ คือ "มิติที่สี่" โดยการรวมปริภูมิและเวลาเข้าไปใน[[แมนิโฟลด์]] (manifold) เดียวที่เรียกกันว่า [[ปริภูมิ-เวลาแบบมินคอฟสกี]] (Minkowski space) นักฟิสิกส์ได้ทำให้[[ฟิสิกส์ทฤษฎี|ทฤษฎีทางฟิสิกส์]]จำนวนมากดูมีความเรียบง่ายขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ตลอดจนอธิบายการทำงานของเอกภพทั้งระดับ[[จักรวาลวิทยาเชิงกายภาพ|ใหญ่กว่าดาราจักร]]และ[[กลศาสตร์ควอนตัม|เล็กกว่าอะตอม]]ได้อย่างเป็นรูปแบบเดียวกันมากยิ่งขึ้น