ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ธีรยุทธ บุญมี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
บอต: แทนที่หมวดหมู่ สมาชิกเหรียญจักรพรรดิมาลา ด้วย ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
บรรทัด 2:
 
== ชีวประวัติโดยย่อ ==
ธีรยุทธ บุญมี เกิดในครอบครัวที่ยากจน มีบิดาเป็นทหาร<ref>http://www.14tula.com/activity/book14tula13kabod.pdf</ref> เขารับศึกษาระดับมัธยมที่[[โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย]] บิดาชื่อนายฉิม บุญมี มารดาชื่อนางสมจิตร บุญมี มีนิสัยรักการอ่านมาแต่เด็ก หัวดี และเรียนเก่ง มีความสนใจด้าน[[วิทยาศาสตร์]]เป็นพิเศษ ด้วยความสนใจเขาได้เขียน[[นิยายวิทยาศาสตร์]]ส่งนิตยสารอย่าง[[วิทยาสาร]]และ[[ชัยพฤกษ์]]ตอนอยู่ ม.ศ. 4-5{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}} เขาได้รู้จักกับนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียง เช่น [[ระวี ภาวิไล|ศ.ดร. ระวี ภาวิไล]] ซึ่งเป็นรุ่นพี่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และ [[สิปปนนท์ เกตุทัต|ศ.ดร. สิปปนนท์ เกตุทัต]] และได้มีโอกาสสนทนากับนักวิทยาศาสตร์ทั้งสอง ส่วนด้านงานเขียนเขาก็สนิทสนมคลุกคลีกับ [[สุจิตต์ วงษ์เทศ]] และ [[เสถียร จันทิมาธร]] ซึ่งเป็นนักเขียนแถว[[สยามรัฐ]]
 
=== ชีวิตนักศึกษา ===
บรรทัด 10:
 
=== เหตุการณ์ 14 ตุลา ===
ในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ธีรยุทธ บุญมี เป็นหนึ่งในสมาชิกก่อตั้งกลุ่มเพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญจำนวน 100 คน มีวัตถุประสงค์เพื่อขอ[[รัฐธรรมนูญ]]คืนจากรัฐบาลเผด็จการซึ่งนำโดย[[ถนอม กิตติขจร|จอมพลถนอม กิตติขจร]] เมื่อ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ซึ่งวันนั้นเป็นวันเสาร์ สมาชิกกลุ่มจำนวน 25 คน ได้ไปถือโปสเตอร์ แจกใบปลิว หนังสือ และบัตรลงประชามติที่ตลาดนัด[[สนามหลวง]] ในวันนั้นเป็นหนึ่งใน 11 คนที่ถูกตำรวจสันติบาลจับกุม ตรวจค้นบ้านและยึดเอกสารใบปลิว
 
เมื่อมีการเรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้ที่ถูกจับกุม จนกระทั่งมีการเดินขบวนในวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ในที่สุด ธีรยุทธและผู้ที่ถูกจับกุมคนอื่น ๆ ก็ได้รับการปล่อยตัว และหลังจากนั้น ธีรยุทธยังได้เป็นหนึ่งในแกนนำของผู้ชุมนุมเข้าเจรจากับทางรัฐบาล จนได้ข้อสรุปเพียงพอที่จะยุติการชุมนุม แต่ทว่าสถานการณ์ในส่วนของผู้ชุมนุมเริ่มที่จะควบคุมความสงบไม่อยู่แล้ว เนื่องจากรอคอยผลการเจรจาเป็นเวลานาน ประกอบกับจำนวนผู้ชุมนุมที่มาก ทำให้เกิดอุปสรรคในการสื่อสาร เมื่อทางธีรยุทธออกมา และพบกับสถานการณ์เช่นนี้ ก็ได้ขอผู้ที่ทำการนำผู้ชุมนุม ขึ้นรถปราศรัยชี้แจงกับผู้ชุมนุมด้วยตนเอง เพื่อที่จะให้ยุติการชุมนุมลงโดยสงบ แต่ทว่าในที่สุดก็เกิดการปะทะและนองเลือดกันในรุ่งเช้าวันต่อมา <ref>ประวัติศาสตร์การศึกษา วันมหาวิปโยค 14 ตุลา 16 - 6 ตุลา 19 โดย แปลก เข็มพิลา ISBN 974-7753-87-1</ref>