ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระยาวิไชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Narutzy (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บั้นปลายชีวิตของพระยาวิไชเยนทร์
บรรทัด 33:
| battles = [[สงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สอง]]<br>[[กบฏมักกะสัน]]<br>สงครามอังกฤษ-สยาม<br>[[การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2231]] {{Executed}}
}}
'''พระยาวิไชเยนทร์''' หรือ '''คอนสแตนติน ฟอลคอน''' ({{lang-gr|Κωνσταντίνος Γεράκης}}, ''กอนสตันตีโนส เยราจิส''; {{lang-en|Constantine Phaulkon}}) ในจดหมายของเจ้าพระยาศรีธรรมราช (ปาน) หรือ โกษาปาน ส่งถึงบาทหลวง เดอ ลาแชส (Père François d’Aix de la Chaise) เรียกชื่อเขาในภาษาไทยว่า '''กาศตัน''' (มาจาก Constans ซึ่งเป็นชื่อที่ชาวต่างประเทศเรียกคอนสแตนติน ฟอลคอน<ref>https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1705214696208660/</ref>) เป็นนักผจญภัยชาวกรีก ผู้กลายมาเป็น[[สมุหนายก|สมุนหนายก]]ในรัชสมัย[[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]]แห่ง[[กรุงศรีอยุธยา]]
 
นอกจาก[[ภาษากรีก]]ซึ่งเป็นภาษาแม่แล้ว ฟอลคอนยังสามารถพูดภาษาต่าง ๆ มากมาย ได้แก่ [[ภาษาไทย]], [[ภาษาอิตาลี]], [[ภาษาอังกฤษ]], [[ภาษาโปรตุเกส]] และ[[ภาษามลายู]] ฟอลคอนไม่สามารถพูด[[ภาษาฝรั่งเศส]]ได้ แต่พอฟังเข้าใจ<ref>https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1683824765014320/</ref>
บรรทัด 43:
พ.ศ. 2218 เดินทางมายัง[[กรุงศรีอยุธยา]]ในฐานะพ่อค้า เนื่องจากฟอลคอนมีความสามารถพิเศษในการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศอย่างง่ายดาย ฟอลคอนจึงเรียนรู้การใช้ภาษาไทยอย่างคล่องแคล่วในเวลาไม่กี่ปีและเข้ารับราชการในราชสำนัก[[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]]ในตำแหน่ง[[ล่าม]] นับเป็นชาวตะวันตกคนแรกที่เข้ามารับราชการในสมัยอยุธยา เป็นตัวกลางการค้าระหว่างอยุธยากับฝรั่งเศส ฟอลคอนได้กลายมาเป็นสมุหนายกในสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่ง[[กรุงศรีอยุธยา]]ในเวลาอันรวดเร็ว
 
พ.ศ. 2225 ฟอลคอนแต่งงานกับดอญญามารี กีมาร์ ([[ท้าวทองกีบม้า]])หรืออีกนามนึงเรียกว่า ทองกิมา
 
ความใกล้ชิดระหว่างพระยาวิชเยนทร์วิไชเยนทร์และสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทำให้เกิดความริษยาขึ้นในหมู่ราชนิกุล ซึ่งส่งให้เกิดผลเสียต่อตัวพระยาวิชเยนทร์เองในเวลาต่อมา เมื่อสมเด็จพระนารายณ์ทรงพระประชวรหนักใกล้สวรรคต ก็มีข่าวลือว่าพระยาวิชเยนทร์ต้องการใช้องค์รัชทายาทเป็นหุ่นเชิดและเข้ามาเป็นผู้ปกครองกรุงศรีอยุธยาเสียเอง ซึ่งแม้เหตุดังกล่าวจะมีความเป็นไปได้น้อย แต่ก็เป็นข้ออ้างให้[[สมเด็จพระเพทราชา|พระเพทราชา]]ซึ่งเป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ที่ไม่พอใจกับนโยบายด้านต่างประเทศที่ส่งผลให้มีชาวต่างชาติมาอยู่ในกรุงศรีอยุธยามากมาย วางแผนให้สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จไปประทับที่[[พระนารายณ์ราชนิเวศน์]]ใน[[ลพบุรี]] และสมเด็จพระนารายณ์มหาราชก็ได้ไว้ใจมอบอำนาจการสำเร็จราชการแผ่นดินให้พระเพทราชาใน พ.ศ. 2231
 
== บั้นปลายชีวิต ==
เมื่อพระเพทราชากุมอำนาจการสำเร็จราชการแผ่นดินแล้ว ก็จับกุมพระยาวิชเยนทร์และผู้ติดตามรวมถึงราชนิกุลองค์ต่าง ๆ และนำไปประหารชีวิตในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2231 ในวัยเพียง 40 ปี เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงทราบถึงเหตุดังกล่าว พระองค์กริ้วมาก แต่ไม่มีพระวรกายแข็งแรงเพียงพอที่จะทำการใด ๆ และเสด็จสวรรคตในอีกไม่กี่วันต่อมา บรรดาท่านขุนนางได้อัญเชิญ พระเพทราชา ขึ้นครองราชย์โดยการปราบดาภิเษก ทรงพระนามว่า '''สมเด็จพระมหาบุรุษวิสุทธิเดชอุดม''' หรือ '''[[สมเด็จพระเพทราชา]]''' และปกครองโดยมีนโยบายต่อต้านชาวต่างชาติ ส่งผลให้เกิดการขับไล่ชาวต่างชาติแทบทั้งหมดออกจากราชอาณาจักร[[กรุงศรีอยุธยา]] การตีความกันไปต่าง ๆ นานาถึงเหตุจูงใจที่ทำให้สมเด็จพระเพทราชาสั่งจับกุมและประหารชีวิตพระยาวิชเยนทร์เป็นผลให้จุดยืนของกรีกในประวัติศาสตร์ไทยเป็นเรื่องที่ยังหาข้อสรุปมิได้มากนัก ดังนั้นนักประวัติศาสตร์ที่เห็นด้วยกับการกระทำของพระองค์มองพระยาวิชเยนทร์วิไชเยนทร์ว่าเป็นชาวต่างชาติที่ฉวยโอกาสมาใช้อิทธิพลเข้าควบคุมพระราชอาณาจักรในนามของผลประโยชน์จากชาติตะวันตก{{อ้างอิง}} แต่นักประวัติศาสตร์อีกกลุ่มหนึ่งมองว่าพระยาวิชเยนทร์วิไชเยนทร์เป็นแพะรับบาป เป็นช่องว่างให้สมเด็จพระเพทราชาสามารถเข้ายึดอำนาจจากองค์รัชทายาทได้โดยนำเอาความริษยา อิจฉาและความระแวงที่มีต่อพระยาวิชเยนทร์มาเป็นมูลเหตุสนับสนุน{{อ้างอิง}}
 
== อ้างอิง ==