ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ดาวเฮาเมอา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ย้อนการแก้ไขที่ 9118148 สร้างโดย 115.87.76.4 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 109:
'''เฮาเมอา''' ({{Lang-en|Haumea}}; {{IPA2|haʊˈmeɪə}}) มีชื่อเดิมว่า '''136108 เฮาเมอา''' เป็น[[ดาวเคราะห์แคระ]]ดวงหนึ่งใน[[แถบไคเปอร์]] มีมวลขนาดหนึ่งในสามของ[[ดาวพลูโต]] ถูกค้นพบในปี [[พ.ศ. 2547]] โดย[[ไมเคิล อี. บราวน์]] (Michael E. Brown) และทีมค้นหาจาก[[สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย]] (แคลเทค) และ[[หอดูดาวเมานาเคอา]]ใน[[สหรัฐอเมริกา]] และในปี [[พ.ศ. 2548]] โดย[[โฆเซ ลุยส์ ออร์ติซ โมเรโน]] (José Luis Ortiz Moreno) และทีมค้นหาจาก[[หอดูดาวซิเอร์ราเนบาดา]]ใน[[ประเทศสเปน]] (แต่การอ้างว่าเป็นผู้ค้นพบของฝ่ายหลังถูกโต้แย้ง) ในวันที่ [[17 กันยายน]] [[พ.ศ. 2551]] [[สหภาพดาราศาสตร์นานาชาติ]]ได้จัดดาวดวงนี้ให้อยู่ในกลุ่มของดาวเคราะห์แคระ และตั้งชื่อตาม[[เฮาเมอา (เทพปกรณัม)|เฮาเมอา]] เทพีแห่งการให้กำเนิดของชาวฮาวาย
 
เฮาเมอามีลักษณะพิเศษต่างจาก[[วัตถุพ้นดาวเนปจูน]]เท่าที่ค้นพบแล้วดวงอื่น ๆ เนื่องจากทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์กว้างมาก แม้ว่ายังจะไม่มีการสำรวจรูปร่างของมันโดยตรง แต่จากการคำนวณจาก[[เส้นความสว่าง]] (light curve) ทำให้สันนิษฐานได้ว่าดาวเคราะห์แคระดวงนี้เป็นวัตถุทรงรี มีแกนหลักยาวเป็นสองเท่าของแกนรอง แต่กระนั้นก็เชื่อว่ามันมี[[แรงโน้มถ่วง]]มากพอที่จะดึงดูดตัวเองให้อยู่ในภาวะ[[สมดุลอุทกสถิต]] (hydrostatic equilibrium) ได้ ดังนั้นดาวดวงนี้จึงมีลักษณะตรงตามคำจำกัดความของดาวเคราะห์แคระ สันนิษฐานว่าการทำมุมเช่นนี้ รวมทั้งลักษณะอื่น ๆ เช่น การหมุนรอบตัวเองเร็วผิดปกติ ความหนาแน่นสูง และ[[อัตราส่วนสะท้อน]] (albedo) สูง (ซึ่งเชื่อว่าเป็นเพราะชั้นน้ำแข็งบนพื้นผิว) เป็นผลมาจากการชนกันครั้งใหญ่ซึ่งทำให้เฮาเมอากลายเป็นสมาชิกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของตระกูลวัตถุที่เกิดจากการชนกัน (collisional family) ของมันเองซึ่งรวมดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 2 ดวงของมันไว้ด้วย Microsoft ร่วมมือ Nasa
 
== การตั้งชื่อ ==