ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผู้ใช้:Miwako Sato/ทดลองเขียน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 11:
==ความเห็นทางประวัติศาสตร์==
 
''พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ฯ'' ดังกล่าว เกิดจากการที่รัชกาลที่ 1 ไม่พอพระทัยบางอย่างในพงศาวดารที่ชำระก่อนหน้า คือ ''ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)'' จึงรับสั่งให้สมเด็จพระพนรัตน์แห่งวัพระเชตุพนนำพนรัตน์แห่งวัดพระเชตุพนนำ ''ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)'' ไปแก้ไขปรับปรุง หรือที่เรียกว่า "ชำระ" ใหม่<ref>[[#นธ|นิธิ เอียวศรีวงศ์ (ม.ป.ป.]], น. 190)</ref> [[นิธิ เอียวศรีวงศ์]] ตั้งข้อสังเกตว่า พงศาวดารที่ผ่านการชำระนั้น มีการตัดเนื้อหายกย่อง[[ราชวงศ์บ้านพลูหลวง]] ราชวงศ์สุดท้ายของกรุงศรีอยุธยา ออกไป และเพิ่มการโจมตีราชวงศ์นี้เข้ามาอย่างมาก<ref>[[#นธ|นิธิ เอียวศรีวงศ์ (ม.ป.ป.]], น. 181)</ref> โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับพระเจ้าเสือนั้น ''ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ฯ'' เพิ่มเนื้อหาเชิงประณามเข้ามามากมาย ซึ่งไม่ปรากฏในพงศาวดารก่อน ๆ หน้า เช่น ระบุว่า "ครั้งนั้น สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินมิได้เสด็จอยู่ในพระนครนาน... เสด็จด้วยเรือพระที่นั่ง...ทรงเบ็ดตกนานามัจฉาชาติทั้งปวงต่าง ๆ ทรงสร้างแต่อกุศลทุจริตผิดพระราชประเพณีมาอย่างแต่ก่อน และพระองค์ฆ่าเสียซึ่งหมู่มัจฉาชาติทั้งหลายด้วยเบ็ดแลข่ายล้มตายเป็นอันมาก" และ "มักยินดีในการอันสังวาสด้วยนางกุมารีอันยังมิได้มีระดู... ถ้านางใดอดทนมิได้ไซร้ ก็ทรงพระพิโรธ และทรงประหารลงที่มัจฉิมุราประเทศให้ถึงแก่ความตาย"<ref>[[#นธ|นิธิ เอียวศรีวงศ์ (ม.ป.ป.]], น. 197–198)</ref> ซึ่งนิธิเห็นว่า เป็นความพยายามในสมัยรัตนโกสินทร์ที่จะ "สร้าง" ความเสื่อมทั้งให้ทั้งแก่ตัวบุคคลและรัฐอยุธยา<ref>[[#นธ|นิธิ เอียวศรีวงศ์ (ม.ป.ป.]], น. 198)</ref> ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ชนชั้นนำสมัยรัตนโกสินทร์เพิ่งผ่านเหตุการณ์อันน่าตระหนกมา คือ ความล่มสลายของกรุงศรีอยุธยา และพยายามเหลียวกลับไปมองอดีตเพื่อหาสาเหตุของเหตุการณ์นั้น<ref>[[#นธ|นิธิ เอียวศรีวงศ์ (ม.ป.ป.]], น. 176)</ref>
 
สำหรับพันท้ายนรสิงห์นั้น กำพล จำปาพันธ์ เห็นว่า เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ชนชั้นนำสมัยรัตนโกสินทร์หยิบยกมาใช้ "บั่นทอนบุญบารมีของพระเจ้าเสือที่ไปประหารคนดี ผลักให้พระเจ้าเสือเป็นผู้ร้ายไปอย่างสมบูรณ์"<ref name = "กพ"/> กำพลกล่าวว่า เนื่องจากเหตุผลในการปรับปรุงคลองโคกขามของพระเจ้าเสือนั้นไม่เป็นทราบกันแพร่พลาย จึงเกิดช่องว่างให้ผู้เขียนพงศาวดารสามารถสร้าง "วีรบุรุษบ้าน ๆ ซื่อ ๆ อย่างพันท้ายนรสิงห์" มาใส่เป็นเหตุผล ทั้งที่ตามกฎหมายสมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว การทำศีรษะเรือพระที่นั่งหัก ไม่ถือเป็นความผิดของนายท้ายเรือแต่เพียงผู้เดียว<ref name = "กพ"/> และกำพลเห็นว่า ถึงแม้บทกฎหมายอาจมีปัญหา แต่ความตายของพันท้ายนรสิงห์นั้นก็เป็นผลมาจากบทกฎหมาย ไม่อาจโทษว่าเป็นความผิดของพระเจ้าเสือดังที่พงศาวดารซี่งผ่านการชำระโดยมีวัตถุประสงค์แอบแฝงเป็นการทำลายเกียรติราชวงศ์บ้านพลูหลวงพยายามจะให้เป็น<ref name = "กพ"/>