ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะนิติราษฎร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
PointlessUsername (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ย้อนด้วยมือ
บรรทัด 1:
'''คณะนิติราษฎร์''' เป็นกลุ่มอาจารย์ประจำ[[คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] ซึ่งมีข้อเสนอทางวิชาการด้านนิติศาสตร์ต่อสังคมไทย เริ่มจากเสนอให้ลบล้างผลพวงของการ[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549|รัฐประหาร พ.ศ. 2549]] เมื่อวัน 19 กันยายน พ.ศ. 2553 อันเป็นวันครบรอบ 4 ปีของรัฐประหารดังกล่าว
 
คณะนิติราษฎร์ยังมีชื่อจากการเสนอแนวทางแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่ว่าด้วย[[ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย]]
== ประวัติ ==
 
=== ความนำ ===
[[คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข]] (คปค.) ซึ่งมี[[สนธิ บุญยรัตกลิน|พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน]] เป็นหัวหน้าคณะ และมีทหาร ตำรวจ และพลเรือน เป็นสมาชิก ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาล [[ทักษิณ ชินวัตร|พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร]] เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ภายหลังการทำรัฐประหารแล้ว “คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” ได้เปลี่ยนสภาพมาเป็น “[[คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ]]” (คมช.) อันเป็นไปตาม[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557|บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549]] (มาตรา 34) โดยมีหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงแห่งชาติ ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ แต่งตั้งและถอดถอนนายกรัฐมนตรี ประธานสภา และรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งยังสามารถประชุมร่วมกับคณะรัฐมนตรีได้อีกด้วย เมื่อ คมช. ได้เข้าบริหารประเทศ สถานการณ์ของประเทศในขณะนั้นอยู่ภายใต้การบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เป็นไปตามหลักนิติรัฐ ทั้งกระบวนการบัญญัติกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมายและการตีความกฎหมายล้วนไม่สอดคล้องกับหลักนิติรัฐและหลักประชาธิปไตย จึงได้เกิดการรวมตัวของคณาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จำนวน 5 คน โดยแสดงความเห็นเกี่ยวกับกระบวนการกฎหมายผ่านแถลงการณ์สาธารณะ การวิพากษ์วิจารณ์เหตุการณ์และสถานการณ์การบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เป็นไปตามหลักนิติรัฐอย่างสม่ำเสมอ เช่น การออกแถลงการณ์คัดค้านผลต่อเนื่องจากการทำรัฐประหาร การแสดงความเห็นต่อคำวินิจฉัยคดียึดทรัพย์นายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร คำพิพากษาของศาลปกครองในคดีมาบตาพุด คำพิพากษาในคดียุบพรรคการเมือง เป็นต้น<ref>“เกี่ยวกับคณะนิติราษฎร์,” นิติราษฎร์ นิติศาสตร์เพื่อราษฎร. เข้าถึงจาก <<nowiki>http://www.enlightened-jurists.com/about</nowiki>>. เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559</ref> จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการก่อตั้ง "กลุ่มนิติราษฎร์" ที่มีบทบาทนำเสนอประเด็นอภิปรายเกี่ยวด้วยข้อกฎหมายและหลักการขั้นพื้นฐานในระบอบเสรีประชาธิปไตย คณะนิติราษฎร์ยังมีชื่อจากการเสนอแนวทางแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่ว่าด้วย[[ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย]]
 
=== จุดเริ่มต้น ที่มา และการเคลื่อนไหวของนิติราษฎร์ ===
กลุ่มนักวิชาการชื่อ ''5 อาจารย์นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์'' เกิดขึ้นภายหลังรัฐประหารเมื่อ พ.ศ. 2549<ref> [http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1-5-%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C-%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C กลุ่ม 5 อาจารย์นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์] ประชาไท</ref> เพื่อแสดงความคิดเห็นและวิพากษ์วิจารณ์การบังคับใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมภายใต้การบริหารของ คมช. และรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ มาเป็นระยะ ๆ ด้วยการนำเสนอบทความทางวิชาการ โดยออกแถลงการณ์ที่ใช้ชื่อว่า “แถลงการณ์คณาจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ฉบับที่ 1”<ref>“แถลงการณ์ของคณาจารย์คณะนิติฯ มธ. ฉบับที่ 1,” นิติราษฎร์ นิติศาสตร์เพื่อราษฎร. เข้าถึงจาก <<nowiki>http://www.enlightened-jurists.com/directory/35/Statement-1.html</nowiki>>. เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559).</ref> ซึ่งแสดงให้เห็นจุดยืนทางการเมืองและทางวิชาการที่สำคัญ คือ
 
ประการแรก คัดค้านและประณามการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เพราะถือเป็นการกระทำที่ไม่เคารพและเป็นการย่ำยีอำนาจการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกผู้บริหารประเทศตามครรลองของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
 
ประการที่สอง คัดค้านและประณามการยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 เพราะถือว่าเป็นการทำลายสัญญาประชาคมของประชาชนโดยวิถีทางที่มิอาจรับได้อย่างยิ่งตามกระบวนการประชาธิปไตย
 
ประการที่สาม คัดค้านและประณามการทำลายเสรีภาพในการแสดงความเห็นของประชาชน
 
ประการที่สี่ คัดค้านและประณามการจำกัดสิทธิในร่างกายของประชาชน ที่มีการจับกุมผู้ที่ประท้วงการกระทำรัฐประหารไปคุมขัง
 
ประการที่ห้า เรียกร้องให้การบริหารประเทศกลับไปสู่ครรลองของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขโดยเร็วที่สุด
 
แถลงการณ์ดังกล่าว มีผู้ลงนามท้ายแถลงการณ์ ประกอบไปด้วย วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช ปิยบุตร แสงกนกกุล และ ธีระ สุธีวรางกูร จนกระทั่งในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2553 กลุ่ม 5 อาจารย์นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ และเพื่อนอาจารย์ เปิดตัวเว็บไซต์คณะนิติราษฎร์<ref> [http://www.thairath.co.th/content/pol/112425 เปิดตัวเว็บ'นิติราษฎร์'จวกยับปฏิวัติ19กันยาฯ] ไทยรัฐ </ref><ref>“ภายหลังการเปิดตัวเว็บไซด์ของกลุ่มนิติราษฎร์นั้น ได้มีการนำเสนอความคิดเห็นออกสู่สังคมอย่างสม่ำเสมอซึ่งล้วนเกี่ยวข้องกับการเมืองไทยและสถาบันเบื้องสูง อย่างไรก็ตาม เมื่อช่วงปลายปี 2555 พบว่าข้อมูลบางส่วนของเว็ปไซด์ฯ คือ ประกาศคณะราษฎรฉบับที่ 1 ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ไม่สามารถเข้าถึงได้</ref> โดยมีวัตถุประสงค์ให้เว็บไซต์ดังกล่าวเป็นแหล่งรวบรวมผลงานและบทวิเคราะห์ทางวิชากา รพร้อมทั้งจัดงานเสวนาวิชาการ ในหัวข้อ ''4 ปีรัฐประหาร 4 เดือนพฤษภาอำมหิต อนาคตทางสังคมไทย'' โดยมีคณะนิติราษฎร์เป็นองค์ปาฐก ต่อมาในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554 คณะนิติราษฎร์แถลงข้อเสนอทางวิชาการ ในหัวข้อ ''5 ปีรัฐประหาร 1 ปีนิติราษฎร์'' จนก่อให้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์ในสังคม ทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย จนกระทั่งวันที่ 19 กันยายน 2553 (ภายหลังเกิดเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 มาแล้ว 4 ปี) กลุ่มคณาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีการเปิดตัวชื่อกลุ่มในชื่อใหม่ว่า “นิติราษฎร์” ทั้งมีการออก '''ประกาศนิติราษฎร์ ฉบับที่ 1 (วรเจตน์ ภาคีรัตน์)''' โดยมีเนื้อหาสำคัญ คือ
 
''“เมื่อสมาชิกผู้ก่อตั้งกลุ่มนิติราษฎร์คิดการที่จะสร้างชุมชนทางวิชาการเล็ก ๆ ในทางนิติศาสตร์เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจทางกฎหมายที่ถูกต้อง เพื่อสนับสนุนการสร้างสรรค์ประชาธิปไตย และเพื่อเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งนิติรัฐและความยุติธรรมให้เจริญงอกงามในสังคมไทย เรื่องหนึ่งที่พวกเราคิดกันนอกเหนือจากวัตถุประสงค์ที่กล่าวมาแล้วก็คือ เว็บไซต์ที่เราจะตั้งขึ้นนั้น ควรจะมีชื่อว่าอะไร มีชื่อที่เราคิดกันหลายชื่อ ในที่สุดเราก็ได้ชื่อที่อยู่หรือที่ตั้งของเว็บไซต์ว่า www.enlightened-jurists.com”''
 
จากข้อมูลในเวปไซต์ของกลุ่มนิติราษฎร์ได้แสดงให้เห็นความหมายของคำว่า "นิติราษฎร์" อันมาจากการผสมของคำว่า “นิติศาสตร์” กับ “ราษฎร” ส่วนชื่อภาษาอังกฤษใช้คำว่า “enlightened-jurists” หมายถึง "(นักกฎหมายผู้)...ปฏิเสธความเชื่อ จารีตอันงมงายอันปรากฏในวงวิชาการนิติศาสตร์ และอยู่บนหนทางของการตั้งคำถาม วิพากษ์วิจารณ์ และท้าทายสถาบันทั้งหลายทั้งปวงในทางกฎหมายที่ไม่ตั้งอยู่บนรากฐานของเหตุผล ที่สามารถยอมรับได้"มีความหมายโดยรวมว่า นิติศาสตร์เพื่อราษฎร ด้วยมุ่งหวังให้เป็นฟันเฟืองหนึ่งในการสถาปนาอุดมการณ์กฎหมาย-การเมือง นิติรัฐ-ประชาธิปไตย เพื่อให้ “อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย” และ “มนุษย์ทั้งปวงเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในศักดิ์ศรีและสิทธิ”<ref>“เกี่ยวกับคณะนิติราษฎร์,” นิติราษฎร์ นิติศาสตร์เพื่อราษฎร. เข้าถึงจาก <<nowiki>http://www.enlightened-jurists.com/about</nowiki>>. เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559.</ref> โดยนับวันที่ 19 กันยายน 2553 เป็นวันก่อตั้งนิติราษฎร์อย่างเป็นทางการ ซึ่งต่อมาเว็บไซต์ดังกล่าวถือเป็นจุดรวมตัวและจุดเคลื่อนไหวที่สำคัญของคณะนิติราษฎร์ และเป็นฐานสำคัญในการเผยแพร่แนวคิดและผลงาน ซึ่งเนื้อหาของเว็บไซต์ประกอบไปด้วย ประกาศนิติราษฎร์ บทความ รวบรวมการสัมมนาและบทสัมภาษณ์ บทความจากผู้อ่าน แถลงการณ์ เอกสารทางประวัติศาสตร์ เอกสารประกอบการสอน ประชุมกฎหมาย และไฟล์บันทึกเสียงและภาพ ทั้งนี้ ในปัจจุบัน (กุมภาพันธ์ 2559) เว็บไซต์ www.enlightened-jurists.com ได้ถูกกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารระงับและจำกัดการเข้าถึงด้วยเหตุผลว่าเว็บไซต์ดังกล่าวมีเนื้อหาและข้อมูลที่ไม่เหมาะสม
 
== สมาชิกของนิติราษฎร์ ==
สมาชิกของนิติราษฎร์ในปัจจุบันประกอบด้วยกลุ่มคณาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จำนวน 7 คน โดย รองศาสตราจารย์ [[ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช]] ซึ่งเป็นผู้ร่วมกิจกรรมในนามของคณาจารย์คณะนิติศาสตร์ มาตั้งแต่ต้นไม่ได้ปรากฏชื่อเป็นสมาชิกปัจจุบันของคณะนิติราษฎร์ แต่ก็ยังมีผลงานเป็นบทความทางวิชาการเผยแพร่อยู่ในเว็บไซต์ของนิติราษฎร์อยู่เสมอ โดยสมาชิกปัจจุบันของนิติราษฎร์ ได้แก่
 
== สมาชิกของคณะนิติราษฎร์ ==
* ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.[[จันทจิรา เอี่ยมมยุรา]]
* อาจารย์ ดร.[[ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล]]
เส้น 36 ⟶ 12:
* ผู้ช่วยศาสตราจารย์ [[สาวตรี สุขศรี]]
 
== ประวัติ ==
สมาชิกผู้มีบทบาทสำคัญและถือเป็นผู้นำของกลุ่มนิติราษฎร์ คือ ศาสตราจารย์ ดร.[[วรเจตน์ ภาคีรัตน์]] บทบาทของ[[วรเจตน์ ภาคีรัตน์]] เริ่มโดดเด่นและชัดเจนมากขึ้นภายหลังเป็นผู้เสนอความคิดเห็นคัดค้านการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีด้วยมาตรา 7 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 (ขณะนั้นยังไม่มีการจัดตั้งกลุ่มนิติราษฎร์) ในระหว่างการบรรยายพิเศษเรื่อง “หลังการเลือกตั้ง 2 เมษายน จะปฏิรูปการเมืองครั้งใหม่อย่างไร” เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2549 มีใจความสำคัญ ว่า
กลุ่มนักวิชาการชื่อ ''5 อาจารย์นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์'' เกิดขึ้นภายหลังรัฐประหารเมื่อ พ.ศ. 2549<ref> [http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1-5-%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C-%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C กลุ่ม 5 อาจารย์นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์] ประชาไท</ref> ด้วยการนำเสนอบทความทางวิชาการ ออกมาเป็นระยะ แต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก จนกระทั่งในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2553 กลุ่ม 5 อาจารย์นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ และเพื่อนอาจารย์ เปิดตัวเว็บไซต์คณะนิติราษฎร์<ref> [http://www.thairath.co.th/content/pol/112425 เปิดตัวเว็บ'นิติราษฎร์'จวกยับปฏิวัติ19กันยาฯ] ไทยรัฐ </ref> พร้อมทั้งจัดงานเสวนาวิชาการ ในหัวข้อ ''4 ปีรัฐประหาร 4 เดือนพฤษภาอำมหิต อนาคตทางสังคมไทย'' โดยมีคณะนิติราษฎร์เป็นองค์ปาฐก ต่อมาในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554 คณะนิติราษฎร์แถลงข้อเสนอทางวิชาการ ในหัวข้อ ''5 ปีรัฐประหาร 1 ปีนิติราษฎร์'' จนก่อให้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์ในสังคม ทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย
 
''“ขณะนี้ประชาชนในประเทศแตกออกมาเป็น 2 ฝ่าย โดยฝ่ายหนึ่งต้องการที่จะใช้รัฐธรรมนูญมาตรา 7 เพื่อขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งต้องการให้มีการเปิดสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งทั้งสองฝ่ายทำให้บ้านเมืองเกิดความไม่แน่นอนเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ก็มีอีกฝ่ายหนึ่งต้องการปฏิรูปทางการเมือง ทั้งนี้ในความคิดของเขานั้น การใช้มาตรา 7 เพื่อขอนายกฯพระราชทานไม่ควรทำ”''
 
จากนั้น วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ก็ได้ร่วมกับอาจารย์นิติศาสตร์อีก 4 คน (ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช, ธีระ สุธีวรางกูร, ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล, และปิยบุตร แสงกนกกุล) แสดงการคัดค้านการรัฐประหารเมื่อ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 และมีบทบาทอีกครั้งเมื่อมีการออก “แถลงการณ์ของคณาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ฉบับที่ 5-2 เรื่องการปฏิเสธร่างรัฐธรรมนูญฉบับออกเสียงประชามติ” และออกแถลงการณ์อีกหลายฉบับเพื่อแสดงความเห็นแย้งต่อกรณีมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญกรณียุบพรรคการเมือง<ref>“แถลงการณ์คณะนิติราษฎร์,” นิติราษฎร์ นิติศาสตร์เพื่อราษฎร. เข้าถึงจาก <<nowiki>http://www.enlightened-jurists.com/directory/11/Statement-and-Petition.html</nowiki>>. เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559.</ref> บทบาทการเคลื่อนไหวที่โดดเด่นของวรเจตน์ ภาคีรัตน์ ได้สร้างความไม่พอใจให้กับบุคคลบางกลุ่ม โดยวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2555 มีชายสองคนเข้าทำร้ายร่างกายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ แต่ได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย<ref>“ทำร้าย ‘วรเจตน์’ กลาง มธ. รู้ตัว 2 มือชกเคยร่วมม็อบต้าน ม.112,” มติชน, (1 มีนาคม 2555), 14, 15.</ref>
 
== ข้อเสนอการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ==
เส้น 54 ⟶ 27:
 
ต่อมาในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2555 คณะนิติราษฎร์ ร่วมกับ กลุ่มนักวิชาการ คณาจารย์ นักเขียน ศิลปิน และปัญญาชน จัดตั้ง "คณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112" (ครก. 112) เพื่ออธิบายรายละเอียด ของข้อเสนอแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และรวบรวมรายชื่อ เสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 112 ฉบับที่คณะนิติราษฎร์จัดทำขึ้น เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา<ref>[http://www.enlightened-jurists.com/blog/61 สารถึงผู้อ่าน - ข้อเสนอฯ ของนิติราษฏร์ยืนอยู่บนหลักการแห่งกฎหมาย]</ref>
== ข้อกล่าวหา ==
 
โทนี คาตาลัคซี นักค้นคว้าวิจัยทางการเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวหาว่านักวิชาการกลุ่มดังกล่าวรับเงินจากองค์กร National Endowment for Democracy ในประเทศสหรัฐอเมริกา<ref>http://www.isranews.org/isranews-scoop/item/26133-tk_26133.html</ref>
== กลุ่มผู้คัดค้านการกระทำของนิติราษฎร์ ==
'''กลุ่มนักรบเมืองย่า''' ในวันที่ 22 มกราคม 2555 ที่บริเวณด้านหน้าอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี (ย่าโม) อ.เมือง จ.นครราชสีมา ประชาชนชาวโคราชในนาม “กลุ่มนักรบเมืองย่า” กว่า 50 คน นำโดย นายประทีป ณ นคร รวมตัวกันชุมนุมแสดงพลังคัดค้านการเคลื่อนไหวผลักดันแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 (ม.112) ของ “กลุ่มนิติราษฎร์” โดยกลุ่มผู้ชุมนุมได้ชูพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, ธงชาติไทย, ธงตราสัญลักษณ์เฉลิมพระเกียรติฯ และป้ายข้อความคัดค้านการแก้ไขมาตรา 112 เช่น “ใครหมิ่นสถาบันต้องประหารชีวิตอย่างเดียว”, “ม.112 ทำไมต้องแก้ มันผิดตรงไหน มึงถึงต้องแก้”, “นิติราษฎร์ คนคิดคด ทรยศต่อแผ่นดิน” เป็นต้น
 
ต่อมานายประทีป ณ นคร ประธานกลุ่มนักรบเมืองย่า แกนนำผู้ชุมนุมได้อ่านแถลงการณ์คัดค้านการแก้กฎหมายคุ้มครองสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยมีเนื้อหาระบุว่าสืบเนื่องจากกรณีคณะบุคคลที่ใช้ชื่อว่า “กลุ่มนิติราษฎร์” อันประกอบด้วยผู้มีความรู้ในระดับครูอาจารย์หลายคน เช่น [[วรเจตน์ ภาคีรัตน์|ศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์]] [[สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล|ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล]] อาจารย์ในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง ได้ร่วมกันนำเสนอแนวคิดในการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยเฉพาะ การยกเลิก ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 โดยอ้างว่า เป็นต้นเหตุแห่งความเหลื่อมล้ำทางชนชั้น ความเป็นที่ทราบโดยทั่วกันแล้วนั้น
 
กลุ่มนักรบเมืองย่า ซึ่งเป็นกลุ่มพลังประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพิทักษ์ปกป้องความถูกต้อง ความเป็นธรรมในสังคม และเหนืออื่นใดเพื่อการเทิดทูนและถวายความจงรักภักดี ตลอดจนการพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ กลุ่มนักรบเมืองย่า ไม่เห็นด้วยกับการดำเนินการต่าง ๆ ของกลุ่มนิติราษฎร์ ดังกล่าว จึงขอประกาศโดยแถลงการณ์นี้ เพื่อคัดค้านและต่อต้านการกระทำของกลุ่มนิติราษฎร์ ดังจะกล่าวต่อไปนี้
 
ข้อ 1 ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ความปรากฏตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับที่ออกใช้บังคับมาโดยตลอด จึงต้องมีกฎหมายคุ้มครองสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยเฉพาะประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งแม้แต่ประเทศที่มิได้มีสถาบันพระมหากษัตริย์ อย่างเช่น สหรัฐอเมริกา หรือประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก ก็ล้วนมีกฎหมายให้ความคุ้มครองประมุข หรือผู้นำของประเทศ เฉกเช่นเดียวกันกับกฎหมายมาตรา 112
 
ข้อ 2 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เป็นกฎหมายที่ให้ความคุ้มครอง และปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยมีบทบัญญัติเพียงมิให้ พระมหากษัตริย์ พระราชินี องค์รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ มิให้ถูกล่วงละเมิด โดยเพียงแต่ห้ามมิให้ผู้ใด ดูหมิ่น หมิ่นประมาท หรือการแสดงความอาฆาตมาดร้าย เท่านั้น ซึ่งแม้แต่ในบุคคลธรรมดาทั่วไป ก็ยังได้รับความคุ้มครองในลักษณะเช่นนี้ เหมือนกัน ประมุขของชาติ มีความสำคัญ เพราะเป็นหน้าตา ศักดิ์ศรี และเป็นเสาหลักของบ้านเมือง จึงควรได้รับการคุ้มครอง และพิทักษ์ปกป้อง เพื่อให้ทรงไว้ซึ่งพระเกียรติยศ และศักดิ์ศรีของคนไทยทั้งชาติ กฎหมายดังกล่าว จึงมิใช่การแสดงความเหลื่อมล้ำทางชนชั้นแต่อย่างใด
 
ข้อ 3 คุณูปการของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย มีความยิ่งใหญ่ไพศาล และเป็นพระคุณอันประเสริฐสูงสุดของชาติไทยมายาวนานนับพันปี ดังจะเห็นได้จากประวัติศาสตร์ชาติไทย อันเกี่ยวกับการรักษาแผ่นดิน การปกป้องเอกราชของชาติจากการรุกรานของอริราชศัตรู นับครั้งไม่ถ้วน ไม่ว่าจะเป็นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือแม้แต่องค์พระปิยะมหาราช พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่ทรงพิทักษ์รักษาชาติไทยให้ยืนยงอยู่ได้มาจนทุกวันนี้ ทั้งนี้ด้วยพระบารมี และพระปรีชาสามารถของพระมหากษัตริย์ในแต่ละยุคสมัยทั้งสิ้น แม้แต่ในรัชสมัยขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบันนี้ จะเห็นได้ว่าแม้สภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไป แต่พระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณแก่พี่น้องปวงชนชาวไทยอย่างมากมาย และยิ่งใหญ่ไพศาล เป็นพระมหากรุณาธิคุณที่ยากจะหาผู้ใดมาเทียบเทียมได้ ถือเป็นพระคุณอันยิ่งใหญ่ที่คนในชาติต้องสำนึก ต้องกตัญญู และเทิดไว้เหนือเกล้าเหนือกระหม่อม
 
ข้อ 4 ด้วยเหตุปัจจัยทั้งหลายที่กล่าวมาข้างต้น สถาบันพระมหากษัตริย์ จึงเป็น “ศูนย์รวมจิตใจ” ของคนไทยทั้งชาติ ยามใดที่ประเทศชาติ และประชาชนต้องประสบภัยพิบัติ ไม่ว่าจะเป็นภัยธรรมชาติ หรือภัยการเมือง คนไทยก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากองค์พระมหากษัตริย์ที่จะช่วยขจัดปัดเป่า ความทุกข์ยากเดือดร้อน จากภัยทั้งหลายทั้งปวงนั้น ให้บรรเทาเบาบางและหมดสิ้นลงได้
 
เรากลุ่ม “นักรบเมืองย่า” สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ไพศาลของสถาบันพระมหากษัตริย์ เราขอแสดงความสำนึก และขอเทิดสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้เหนือเกล้าเหนือกระหม่อม และพร้อมที่จะพิทักษ์ปกป้องไว้ด้วยชีวิต เราเห็นว่า การกระทำของกลุ่มนิติราษฎร์ นอกจากจะแสดงความไม่สำนึก ความไม่กตัญญูรู้คุณแล้ว ยังเป็นพฤติกรรมแห่งการเนรคุณแผ่นดินอย่างไม่สามารถให้อภัยให้ได้
 
เราขอให้กลุ่มนิติราษฎร์ ยุติบทบาทที่เป็นการแสดงความเนรคุณแผ่นดิน ดังกล่าวนั้นเสียโดยสิ้นเชิง มิฉะนั้น เราจะตอบโต้การกระทำของกลุ่มนิติราษฎร์อย่างถึงที่สุด จึงขอประกาศแถลงการณ์ให้พี่น้องประชาชนชาวไทยได้โปรดรับทราบ และร่วมแรงร่วมใจกันลุกขึ้นปกป้องแผ่นดิน และสถาบันอันเป็นที่เคารพเทิดทูนของเราต่อไป
 
จากนั้นกลุ่มนักรบเมืองย่าได้ร่วมกันนำหุ่นฟางที่มีรูปภาพนายวรเจตน์ และนักวิชาการในกลุ่มนิติราษฎร์ มาวางก่อนใช้เท้าถีบกระทืบหุ่นฟางด้วยความโกรธแค้น และใช้มีดดาบที่เตรียมมาตัดหัวหุ่นประจาน ก่อนลงมือเผาหุ่นดังกล่าวด้วยท่ามกลางประชาชนที่มามุงดูเป็นจำนวนมากก่อนสลายการชุมนุมไป<ref>http://www.koratforum.net/politics/1682.html</ref>
 
'''กลุ่ม "วารสารศาสตร์ต้านนิติราษฎร์"''' ศิษย์ปัจจุบันและคณาจารย์ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประมาณ 100 คน ภายใต้ชื่อกลุ่มวารสารต้านนิติราษฎร์ ได้ไปรวมตัวกันที่บริเวณลานปรีดี พนมยงค์ เมื่อเวลา 14.00 น. ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ เพื่อชุมนุมแสดงพลังคัดค้านกลุ่มนิติราษฎร์ ทั้งนี้ ทางกลุ่มวารสารฯ เข้าชื่อยื่นหนังสือถึงอธิการบดี ให้ตั้งกรรมการสอบความเหมาะสมของกลุ่มนิติราษฎร์'''โดยได้มีการเสนอข้อเรียกร้อง จำนวน 5 ข้อ ได้แก่'''
 
# ให้ประชาคมธรรมศาสตร์รวมตัวกันคัดค้านการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ของ'''คณะนิติราษฎร์''' รวมถึงการใช้ชื่อมหาวิทยาลัย ไปสร้างความชอบธรรมให้กับการเคลื่อนไหวที่เป็นการล่วงละเมิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
# เรียกร้องให้อธิการบดี มีคำสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนคณาจารย์คณะ'''นิติราษฎร์''' ในการกระทำที่อาจจะมีความผิดทั้งทางวินัยและทางกฎหมาย ให้เป็นที่กระจ่างแก่มหาชน พร้อมทั้งลงโทษตามมูลความผิด
# เรียกร้องให้รัฐบาลแสดงจุดยืนในการปกป้องสถาบันอย่างเป็นรูปธรรม
# ให้สื่อมวลชนใช้วิจารณญาณอย่างรอบคอบในการนำเสนอข่าวสาร อันเกี่ยวกับการแก้ไข '''ม.112'''
# เรียกร้องให้ประชาชนชาวไทยทุกหมู่เหล่าร่วมกันแสดงพลังคัดค้านการแก้ไขกฎหมาย '''ม.112''' รวมทั้งต่อต้านแนวคิดใด ๆ ที่ส่อและแสดงถึงการล่วงละเมิดและลบล้างสถาบันพระมหากษัตริย์
 
นายยุทธนา มุกดาสนิท ผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดัง ในฐานะตัวแทนศิษย์เก่าคณะวารสารศาสตร์ฯ เปิดเผยว่า การออกมารวมตัวในครั้งนี้ เพื่อประกาศจุดยืน แสดงให้เห็นว่า ยังคงมีกลุ่มธรรมศาสตร์อีกกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับการเคลื่อนไหวของกลุ่มนิติราษฎร์ ซึ่งส่วนตัวก็มองว่า การที่กลุ่มนิติราษฎร์ออกมาเรียกร้องให้มีการแก้ไข ม.112 เป็นการก้าวล่วงสถาบันมากเกินไป เกินขอบเขตของการแสดงความคิดเห็นในทางวิชาการ<ref>https://www.thairath.co.th/content/235431</ref>
 
== การยกย่องในสื่อ ==
* บุคคลผู้ทรงอิทธิพลแห่งปี 2553 สาขา วิชาการ จากมติชน <ref> [http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1293624786 วรเจตน์ ภาคีรัตน์ และกลุ่มนิติราษฎร์ : บุคคลผู้ทรงอิทธิพลแห่งปี 2553 สาขา "วิชาการ"] มติชน </ref>
* บุคคลผู้ทรงอิทธิพลแห่งปี 2554 จาก วอยซ์ทีวี <ref> [http://news.voicetv.co.th/thailand/26839.html นิติราษฎร์ : นิติศาสตร์เพื่อราษฎร ] วอยซ์ทีวี </ref>
 
== อ้างอิง ==
เส้น 94 ⟶ 39:
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* [http://www.enlightened-jurists.com/ เว็บไซต์คณะนิติราษฎร์]
* [http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%A3%E0%B9%8C เว็บไซต์จากฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า]
* [http://www.enlightened-jurists.com/blog/2 นิติราษฏร์ ฉบับที่ ๑ (วรเจตน์ ภาคีรัตน์)] เว็บไซต์คณะนิติราษฎร์
 
[[หมวดหมู่:คณะนิติราษฎร์|คณะนิติราษฎร์]]