ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประธานศาลฎีกา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mda (คุย | ส่วนร่วม)
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ต้องการอ้างอิงประเด็นประมุขฝ่ายตุลาการ และบทบาทหลังปี 43
บรรทัด 23:
}}
{{การเมืองไทย}}
'''ประธานศาลฎีกาไทย''' เป็นประมุขฝ่ายตุลาการในทาง[[นิตินัย]] มีศักดิ์ศรีเทียบเท่า[[นายกรัฐมนตรีไทย|นายกรัฐมนตรี]] และ[[ประธานรัฐสภาไทย|ประธานรัฐสภา]]{{อ้างอิง}} ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน คือ [[เมทินี ชโลธร]] ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563
 
== ประวัติ ==
บรรทัด 30:
ตำแหน่งอธิบดีศาลฎีกาหรือตำแหน่งประธานศาลฎีกานี้ ไม่ใช่เป็นตำแหน่งแต่หัวหน้าส่วนราชการในศาลฎีกาเท่านั้น ยังเป็นประธานใน[[ข้าราชการฝ่ายตุลาการ (ประเทศไทย)|ราชการฝ่ายตุลาการ]]และเป็นอิสระจากเสนาบดีหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม มีอำนาจวางระเบียบราชการฝ่ายตุลาการของศาลทั้งหลาย เพื่อให้กิจการของศาลดำเนินไปโดยเรียบร้อยและเป็นระเบียบเดียวกัน ภายใต้เงื่อนไขตามที่กฎหมายบัญญัติ และมีเสียงอันสำคัญในการแต่งตั้งโยกย้ายและเลื่อนตำแหน่งผู้พิพากษาทั้งกระทรวงด้วย [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์]] ได้ทรงเรียกตำแหน่งนี้ว่า "ประมุขตุลาการ" ในสมัยที่[[เจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์)]] เป็นอธิบดีศาลฎีกานั้น หนังสือพิมพ์บางกอกไทม์ ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ของชาวอังกฤษเรียกตำแหน่งนี้ว่า "Lord Chief Justice" ซึ่งแปลว่า ประมุขตุลาการ*
 
นับจากอดีตถือได้ว่า ประธานศาลฎีกา มีบทบาทอย่างสำคัญต่ออำนาจตุลาการของประเทศ เนื่องจากประธานศาลฎีกามีฐานะเป็นประมุขของฝ่ายตุลาการที่มีหน้าที่ในการคานและดุลกับอำนาจบริหารและอำนาจนิติบัญญัติ และนับจากวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา บทบาทของประธานศาลฎีกามีความโดดเด่นและชัดเจนยิ่งขึ้น{{อ้างอิง}} จากการที่[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย]] มาตรา 275 ได้บัญญัติให้[[ศาลยุติธรรม]]มีหน่วยธุรการที่เป็นอิสระ บทบาทเบื้องต้นของประธานศาลฎีกาที่ชัดเจน ได้แก่ การรักษาตามพระราชบัญญัติสำคัญรวม 3 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 พระราชบัญญัติให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 และพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543
 
==อ้างอิง==