ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กราวด์ (ไฟฟ้า)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
WindowMaker (คุย | ส่วนร่วม)
→‎ระบบสายดิน: เพิ่มลิงก์ข้ามภาษาไปที่ en:Earthing system (สายดิน)
WindowMaker (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 32:
สายกราวด์ของอุปกรณ์ใช้เชื่อมต่อทางไฟฟ้าระหว่างชิ้นส่วนของอุปกรณ์ที่เป็นโลหะที่ไม่มีกระแสไหลกับพื้นดินตามรหัสไฟฟ้าแห่งชาติสหรัฐ (NEC) เหตุผลในการทำเช่นนี้เพื่อการจำกัดแรงดันไฟฟ้าที่เกิดจากฟ้าผ่า, ไฟกระชาก และการสัมผัสกับสายไฟฟ้าแรงสูง สายตัวนำกับอุปกรณ์มักจะเชื่อมต่อถึงกันด้วยการใช้วิธี bonding (ดูด้านล่าง)
 
อุปกรณ์ที่ทำการบอนดิ้งเข้าด้วยกันทำให้เส้นทางไหลของกระแสไฟฟ้าระหว่างชิ้นส่วนโลหะที่ไม่มีกระแสไหลของอุปกรณ์หลายๆส่วนกับแท่งดินมีความต้านทานต่ำมาก เพื่อที่ว่าหากส่วนหนึ่งของชิ้นส่วนนั้นมีกระแสไหลผ่านด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม เช่นสายไฟชำรุด [[ไฟฟ้าลัดวงจร|การลัดวงจร]]จะเกิดขึ้นและทำให้เซอร์กิตเบรกเกอร์หรือฟิวส์ทำงานเพื่อตัดการเชื่อมต่อกับวงจรที่ทำงานผิดพลาด โปรดสังเกตว่า ดินเองไม่ได้มีบทบาทในกระบวนการล้างความผิดพลาดนี้<ref>Jensen Transformers. Bill Whitlock, 2005. Understanding, Finding, & Eliminating Ground Loops In Audio & Video Systems. Retrieved February 18, 2010.</ref> เนื่องจากกระแสต้องไหลกลับไปยังแหล่งที่มาของมันเอง ไม่ได้กลับไปที่ดินตามที่เข้าใจกันในบางครั้ง (ดู กฎของวงจร Kirchhoff) โดยการบอนดิ้ง(เชื่อมต่อ)โลหะที่ไม่มีกระแสไหลทั้งหมดเข้าด้วยกัน จุดเหล่านั้นควรจะอยู่ใกล้จุดที่มีศักย์เดียวกันซึ่งจะช่วยลดโอกาสของการช็อก นี้เป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้องน้ำ ที่คนคนหนึ่งอาจจะสัมผ้สกับหลายระบบโลหะที่แตกต่างกัน เช่น ท่อจ่ายน้ำและท่อระบายน้ำ และฝาเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ตัวนำที่ทำการบอนดิ้งมักจะถูกใช้เป็นสายกราวด์({{lang-en|grounding electrode conductor}})ด้วย (ดูด้านบน)
 
สายกราวด์เชื่อมต่อขาข้างหนึ่งของระบบไฟฟ้า(สายนิวทรัล)เข้ากับขั้วดิน({{lang-en|ground electrode}})หนึ่งขั้วหรือหลายขั้ว สิ่งนี้เรียกว่า "ระบบกราวด์" และ ระบบไฟฟ้าส่วนใหญ่จะต้อง มีการต่อสายกราวด์. NEC ของสหรัฐอเมริกา และ BS 7671 ของสหราชอาณาจักร มีรายชื่อของระบบที่จะต้องมีการต่อสายกราวด์ นอกจากนี้ สายกราวด์ยังมักจะยึดติดกับท่อน้ำและโครงสร้างเหล็กในโครงสร้างอาคารขนาดใหญ่ ตามที่กำหนดไว้ใน NEC วัตถุประสงค์ของการต่อสายกราวด์ให้ระบบไฟฟ้าก็คือการจำกัดแรงดันไฟฟ้าเมื่อเทียบกับดินในกรณีที่เกิดฟ้าผ่าและกรณีที่มีการสัมผ้สกับสายไฟฟ้าแรงสูง และยังมีวัตถุประสงค์ในการคงแรงดันไฟฟ้าเมื่อเทียบกับดินให้คงที่ในระหว่างการดำเนินการตามปกติ ในอดีตที่ผ่านมาท่อน้ำประปามักจะถูกนำมาใช้เป็นขั้วดิน แต่ต่อมาไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้เมื่อท่อพลาสติกเป็นที่นิยมใช้ สายกราวด์ชนิดนี้ใช้กับเสาอากาศวิทยุและระบบป้องกันฟ้าผ่า