ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชัยทรัถ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัด 8:
 
วันที่สิบสี่ ฝ่ายปาณฑพจัดทัพเป็นรูปพระขรรค์(ขัฑคะพยุหะ) ฝ่ายเการพจัดทัพรัดกุมมาก ถึงสามชั้นคือ ชั้นที่หนึ่ง เป็นรูปกงจักร(จักรพยุหะ) ชั้นที่สอง เป็นรูปตะกร้าเหล็ก(ศกฏะพยุหะ) ชั้นที่สาม เป็นรูปรูของเข็มเย็บผ้า(ศูจิมุขพยุหะ) เพื่อปกป้องชัยทรัถ อรชุนแค้นถึงกับบุกทะลวงเข้าไปเข่นฆ่าทหารฝ่ายเการพไปถึง 1 อักเษาหิณี การรบล่วงเลยจนถึงใกล้จะเย็นแล้ว ทุรโยชน์ก็ยิ้มอย่างดีใจเพราะเวลาก็ใกล้เพียงอึดใจก็สามารถปกป้องชัยทรัถ และอรชุนก็จะกระโดดลงเข้ากองไฟให้ม้วยมรณาสิ้นตามสัตย์สาบาน ชัยชนะก็จะเป็นของพวกตน พระกฤษณะที่เห็นท่าไม่ดีจึงใช้จักรสุทรรศนะบดบังดวงสุริยะ ทำให้เกิดสุริยคราส ฝ่ายเการพเข้าใจว่าสุริยะลับขอบฟ้าไปแล้ว ชัยทรัถจึงออกมาจากแนวป้องกัน เมื่อพระกฤษณะเรียกจักรกลับมา แสงสว่างส่องอีกครั้ง อรชุนจึงแผลงศรปาศุปัตเข้าไปตัดศีรษะชัยทรัถจนขาดกระเด็น และศีรษะของชัยทรัถได้ลอยตรงไปยังหน้าตักของพระฤาษีวฤธเกษตร ผู้เป็นบิดาที่กำลังนั่งสมาธิบำเพ็ธเพียรอยู่ พระฤาษีวฤธเกษตรก็ตกใจจนทำศีรษะของชัยทรัถตกลงพื้นและถูกไฟเผาจนถึงแก่ความตาย เนื่องจากพระฤาษีวฤธเกษตรได้สาปเอาไว้ว่า ผู้ใดที่ทำให้ศีรษะของบุตรตนตกลงพื้น ผู้นั้นก็จะถูกไฟเผาจนถึงแก่ความตาย
 
 
 
ชัยทรัถ มีพระโอรสองค์หนึ่งที่ชื่อว่า Surath{{มหาภารตะ}}{{โครงวรรณกรรม}}