ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเสด็จหนีไปวาแรน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 32:
เมื่อพระราชวงศ์เสด็จนิวัตปารีสภายใต้การคุ้มกัน ฝูงชนฝ่ายปฏิวัติมองดูขบวนรถม้าหลวงด้วยท่าทีนิ่งสงัดอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ทั้งหมดตกอยู่ในความตะลึงงันสุดขีดเมื่อได้เห็นกษัตริย์ของพวกเขาในสถานการณ์เช่นนี้ พระราชวงศ์ทุกพระองค์ทรงถูกคุมขัง ณ พระราชวังตุยเลอรี และจากเหตุการณ์นี้เป็นต้นไป แนวคิดล้มล้างระบอบกษัตริย์และสถาปนา[[สาธารณรัฐ]]ดูจะมีความเป็นไปได้มากอย่างที่ไม่เคยมาก่อน ความน่าเชื่อถือในตัวพระเจ้าหลุยส์ในฐานะพระมหากษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญถูกลดทอนลงอย่างร้ายแรงจากความพยายามหลบหนีในครั้งนี้
 
หลังจากนำพระราชวงศ์เสด็จนิวัตปารีสแล้ว สภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งชาติก็ตกลงว่าจะฟื้นฟูพระเจ้าหลุยส์คืนสู่พระราชอำนาจได้หากทรงยอมรับรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตาม กลุ่มการเมืองหลายกลุ่มเช่นฝ่ายกอเดอลิแยร์และฝ่ายฌากอแบ็งอลิแยร์และ[[ฌากอแบ็ง|ฝ่ายฌากอแบ็ง]]ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว จนนำไปสู่การประท้วงที่สวนช็อง เดอ มาร์ และบานปลายกลายเป็น[[เหตุสังหารหมู่ช็อง เดอ มาร์|เหตุสังหารหมู่]]ขึ้น<ref>{{Cite book|title = Lafayette|last = Woodward|first = W.E.|publisher = |year = |isbn = |location = |pages = }}</ref>
 
นับแต่ฤดูใบไม้ร่วงปี ค.ศ. 1791 เป็นต้นมา พระเจ้าหลุยส์ทรงฝากความหวังในการรื้อฟื้นพระราชอำนาจทางการเมืองไว้กับแนวทางอันน่าแคลงใจอย่างการแทรกแซงจากต่างชาติ ถึงขนาดที่ทรงสนับสนุนนโยบายสงครามกับออสเตรียของ[[ฌีรงแด็ง|ฝ่ายฌีรงแด็ง]]ในสภานิติบัญญัติ โดยทรงคาดหมายว่ากองทัพฝรั่งเศสที่พ่ายแพ้ย่อยยับจะช่วยปูทางไปสู่การฟื้นฟูพระราชอำนาจของพระองค์ ทรงปฏิเสธคำแนะนำของนักรัฐธรรมนูญนิยมสายกลางอย่างอ็องตวน บาร์แนฟ ที่ให้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1791 เต็มรูปแบบ ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่พระเจ้าหลุยส์ทรงปฏิญาณว่าจะดำรงไว้ หากแต่ลับ ๆ แล้วพระองค์เองกลับทรงเข้าไปมีส่วนแอบแฝงในนโยบายการปฏิวัติต่อต้าน
 
== ล้มเลิกราชาธิปไตย ==