ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศาสนาฮินดูในประเทศไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 116:
'''พระราชพิธีฉัตรมงคล''' หมายถึง พระราชพิธีฉลองพระเศวตฉัตรสิริ[[ราชกกุธภัณฑ์]] พระแสงประจำรัชกาล ทำในวันซึ่งตรงกับวันบรมราชาภิเษกเสวยราชสมบัติตามราชประเพณี ในพระราชพิธี พราหมณ์อ่านประกาศพระราชพิธีฉัตรมงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจุดเครื่องบูชาเทพยดาประจำ[[นพปฏลมหาเศวตฉัตร]] โดยมีพราหมณ์เบิกแว่นเวียนเทียนและเจิมนพปฏลมหาเศวตฉัตร<ref>{{cite web |url= http://www.culture.go.th/culture_th/ewt_news.php?nid=586&filename=index|title= ฉัตรมงคล วันมหามงคลสมัย |author= กรกมล ทิมแถวสุต |date=|work= กรมส่งเสริมวัฒนธรรม |publisher= |accessdate= 21 ตุลาคม 2563}}</ref><ref>{{cite web |url= https://news.thaipbs.or.th/content/252151 |title= สมเด็จพระบรมฯ เสด็จฯ ในการพระราชพิธีฉัตรมงคล |author=|date= 5 พฤษภาคม 2559 |work= ไทยพีบีเอส |publisher= |accessdate= 21 ตุลาคม 2563}}</ref>
 
'''พระราชพิธีพระบรมศพหรือพระศพเจ้านาย''' มีการก่อสร้าง[[พระเมรุมาศ]]สำหรับประดิษฐานพระบรม[[โกศ]]หรือพระโกศเจ้านาย ซึ่งเกี่ยวพันกับความเชื่อเรื่อง[[เขาพระสุเมรุ]]ของฮินดู และความเชื่อเรื่องพระมหากษัตริย์เป็นการแบ่งภาคของพระเป็นเจ้าลงมาบำรุงโลก เมื่อสวรรคตหรือสิ้นพระชนม์จะถือว่าขึ้นไปจุติเป็นเทวดาบนชั้นฟ้า<ref>{{cite web |url= https://www.silpa-mag.com/history/article_12166 |title= พระเมรุมาศ พระเมรุ ในความเชื่อสังคมไทย |author=|date= 14 ตุลาคม 2560 |work= ศิลปวัฒนธรรม |publisher= |accessdate= 21 ตุลาคม 2563}}</ref> ในอดีตข้าราชบริพารและราษฎรต้องโกนศีรษะไว้อาลัย ซึ่งเป็นธรรมเนียมการปลงศพของชาวอินเดียฮินดู<ref>{{cite web |url= https://www.matichonweekly.com/column/article_13069 |title= พิธีเกี่ยวกับความตายในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู |author= คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง |date= 28 ตุลาคม 2559 |work= มติชนสุดสัปดาห์ |publisher= |accessdate= 24 ตุลาคม 2563}}</ref>
 
นอกจากนี้ยังมีพิธีบวงสรวงพระบรมรูปของพระราชบุพการี ตั้งโต๊ะเครื่องบวงสรวงสังเวยตามคติพราหมณ์ โดยมีพระมหาราชครูพิธี ประธานพระครูพราหมณ์อ่านโองการบวงสรวงหน้าพระบรมรูป โดยมีโหรหลวงลั่นฆ้องชัย พราหมณ์เป่า[[สังข์]] ภูษามาลาแกว่ง[[บัณเฑาะว์]]<ref>{{cite web |url= https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/874742 |title= 'ในหลวง-พระราชินี' ทรงประกอบพิธีบวงสรวงพระบรมรูป ร.9 |author=|date= 6 เมษายน 2563 |work= กรุงเทพธุรกิจ |publisher= |accessdate= 22 ตุลาคม 2563}}</ref> และพิธีในอดีตอีกอย่างคือ '''พิธีกลบบัตรสุมเพลิง''' เป็นพิธีที่ทำให้พื้นดินบริสุทธิ์ หากมีใครเลือดตกยางออกหรือตายในพระราชฐานชั้นในนับว่าเป็นเสนียดจัญไร ต้องแก้ไขด้วยการปลูกศาลเพียงตา ขุดดินบริเวณที่มีเลือดหรือคนตายกว้างสองศอก ยาวสองศอก และลึกศอกเศษ จากนั้นนำแกลบกลบลงในหลุมสูงหนึ่งศอกแล้วก่อไฟ หยิบเครื่องสังเวยใส่ในกองเพลิงแล้วอ่านโองการ เสร็จแล้วเกลี่ยดินกลบหลุม<ref>{{cite web |url= https://www.thairath.co.th/news/politic/1534408 |title= กลบบัตรสุมเพลิง |author= กิเลน ประลองเชิง |date= 2 เมษายน 2562 |work= ไทยรัฐออนไลน์ |publisher= |accessdate= 20 ตุลาคม 2563}}</ref>