ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เหตุการณ์ 6 ตุลา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Dolkungbighead (คุย | ส่วนร่วม)
Dolkungbighead (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 361:
ในปี 2520 มีภาพยนตร์ที่สะท้อนทัศนะฝายขวา ''เก้ายอด'' โดยสุพรรณ พราหมณ์พันธุ์ ที่นำภาพข่าวชุมนุมมาสื่อว่าต้องการล้มล้างประชาธิปไตย<ref name="voice"/> แต่ในปีเดียวกัน ก็มีชาวญี่ปุ่น โอโอกะ เรียวโออิจิ เรียบเรียงฟุตเทจภาพเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ตั้งแต่เหตุการณ์ 14 ตุลาถึง 6 ตุลา เป็นภาพยนตร์ชื่อ ''จักจำไว้จนวันตาย'' (''They Will Never Forget'')<ref>[https://www.matichon.co.th/entertainment/news_680149 หอภาพยนตร์จัด ‘ลืมเสียเถิดอย่าคิดถึง’ รำลึก 6 ตุลา 19 ฉาย ‘จักจำจนวันตาย’ ให้ดูการต่อสู้สำคัญทางการเมือง]</ref> ในปี 2552 มีภาพยนตร์ที่เนื้อหาว่าด้วยเหตุการณ์ 6 ตุลา หลายเรื่อง เช่น ''[[ฟ้าใส ใจชื่นบาน]]'' เล่าเรื่องของนักศึกษาที่หนีเข้าป่าในเชิงขบขัน, ''มหาลัยสยองขวัญ'' ตอนลิฟท์แดง และ ''October Sonata: รักที่รอคอย'' ที่นำเสนอผ่านความรัก การรอคอย และนวนิยายเรื่อง ''สงครามชีวิต'' ของศรีบูรพา<ref name="voice"/>
 
ภาพยนตร์เรื่อง ''[[ดาวคะนอง (ภาพยนตร์)|ดาวคะนอง]]'' (2559) เล่าถึงผู้สร้างภาพยนตร์ที่ต้องการสร้างเกี่ยวกับเหตุการณ์ 6 ตุลา เป็นภาพยนตร์ได้รับทุนสนับสนุนจากกระทรวงวัฒนธรมวัฒนธรรม<ref name="bbcดาว">[https://www.bbc.com/thai/thailand-42270293 “ดาวคะนอง” ชวด ออสการ์รอบสุดท้าย]</ref> ได้รับรางวัลสุพรรณหงส์ และชมรมวิจารณ์บันเทิง และเป็นตัวแทนภาพยนตร์ไทยเข้าชิง[[รางวัลออสการ์]]<ref name="voice"/> แต่ตำรวจสั่งงดฉายในประเทศไทย<ref name="bbcดาว"/> ภาพยนตร์สั้น ''พิราบ'' (2560) กำกับโดยบัณฑิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ว่าด้วยเรื่องราวของนักศึกษาที่ถูกปราบปรามในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ได้รับรางวัลพิราบขาว จากมูลนิธิ 14 ตุลา และรางวัลชมเชย สาขาช้างเผือก<ref>[https://prachatai.com/journal/2017/10/73574 '6 ตุลา' มองผ่านหนัง#2: ภาษิต พร้อมนำพล ‘พิราบ’ ในความทรงจำของพ่อ]</ref>
 
ภัทรภร ภู่ทองเป็นผู้กำกับสารคดีบทสัมภาษณ์ญาติและเพื่อนของผู้เสียชีวิต ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง ''ด้วยความนับถือ'' (''Respectfully Yours'', 2559) ฉายครั้งแรกในวันครบรอบ 40 ปีของเหตุการณ์ นำเสนอบทสัมภาษณ์ของญาติผู้เสียชีวิต พวงทอง ภวัครพันธุ์ ผู้ผลิต กล่าวว่า เป็นความพยายามขับเน้นใบหน้าของผู้เสียหาย ไม่ใช่ถูกทำให้เป็นตัวเลข<ref>{{cite web |last1=Rithdee |first1=Kong |title=Massacre's memory |url=https://www.bangkokpost.com/life/social-and-lifestyle/1290455/massacres-memory |website=Bangkok Post |accessdate=4 April 2020}}</ref> เป็นจุดเริ่มต้นของโครงการหอจดหมายเหตุดิจิทัล<ref name="tyrell"/>{{rp|273}} ''สองพี่น้อง'' เป็นภาพยนตร์สั้นที่นำเสนอนิยายของนักกิจกรรมสองพี่น้องช่างไฟฟ้านักกิจกรรมที่ถูกลงประชาทัณฑ์เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2519 ภาพยนตร์แสดงบทสัมภาษณ์ชีวประวัติของญาติผู้เสียชีวิต ชุมพรและวิชัย ภาพยนตร์ยังแสดงที่เกิดเหตุซึ่งเป็นประตูทางเข้าที่ดินว่างเปล่าแปลงหนึ่งในจังหวัดนครปฐม ที่เรียก "ประตูแดง"<ref name="bkp">{{cite web |last1=Rithdee |first1=Kong |title=The inciting incident |url=https://www.bangkokpost.com/life/arts-and-entertainment/1337603/the-inciting-incident |website=Bangkok Post |accessdate=4 April 2020}}</ref> อีกเรื่องหนึ่งคือ ''ความทรงจำ-ไร้เสียง'' (2557)<ref name="voice"/>