ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศาสนาฮินดูในประเทศไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 121:
 
=== ประเพณีราษฎร์ ===
ศาสนิกชนจะประกอบพิธีกรรมในศาสนสถาน เพราะเชื่อว่าเทวสถานเป็นที่สิงสถิตของพระเป็นเจ้า มีการประกอบพิธีประจำวันเรียกว่า '''[[ยัชญะ]]''' เช่น การบูชาตามคำสอนพระเวทหรือการศึกษาพระเวท และการบูชาไฟด้วยการเผาสิ่งต่าง ๆ ลงไป เป็นต้นว่า [[เนย]] [[งาดำ]] [[กำยาน]] ผง[[ไม้จันทน์]] เพื่อบูชาเทวดา<ref name="ประเพณี"/> หรือปรากฏพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น การทำขวัญ การไหว้ครู และการบวงสรวงสังเวย จะมีการทำ[[บายศรี]] หากเป็นการบวงสรวงสังเวยจะมีเครื่องมัจฉมังสาหาร คืออาหารที่ทำจากเนื้อสัตว์ปรุงสุก หรือกระยาบวช คืออาหารที่ไม่ปรุงด้วยเนื้อสัตว์ บางพิธีจะต้องมีพราหมณ์มาประกอบพิธีให้ โดยการอ่านชุมนุมเทวดาและคำประกาศบวงสรวง ส่วนการไหว้ครูจะมีการตั้งเครื่องบูชา เครื่องมือช่างหรือหัวโขน บายศรี และกระยาบวช ในพิธีจะมีบูชาและสรงน้ำเทวรูป อัญเชิญเทพเจ้าและครูผู้ล่วงลับมารับเครื่องสังเวย <ref name="บายศรี">{{cite web |url= http://saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=38&chap=2&page=t38-2-infodetail10.html |title= ชนิดของบายศรีที่ใช้ในพิธี |author=|date=|work= มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน |publisher= |accessdate= 21 ตุลาคม 2563}}</ref>
 
ธรรมเนียมเรื่องการไว้[[จุก]]ของเด็กไทย หลังผ่านพิธีโกนผมไฟ จะเว้นผมบริเวณส่วนกระหม่อม เพราะถือเป็นส่วนที่บางที่สุด จะปล่อยให้ยาวแล้วขมวดมุ่นไว้กลางศีรษะเหมือนผมของเทพเจ้า เพราะคติพราหมณ์เชื่อว่าเด็กจะได้รับการคุ้มครองจากพระผู้เป็นเจ้า เมื่ออายุได้ 11-13 ปี จึงเข้าพิธีโกนจุก เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการก้าวข้ามสู่วัยผู้ใหญ่ ในราชสำนักจะเรียก'''[[พระราชพิธีโสกันต์]]''' (สำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป) และ'''พิธีเกศากันต์''' (สำหรับพระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า) โดยจะมีพิธีพราหมณ์และพิธีสงฆ์พร้อมกันเพื่อความเป็นสิริมงคล แต่ปัจจุบันไม่มีแล้ว คงเหลือแต่การโกนจุกของชาวบ้านที่เทวสถานสำหรับพระนคร<ref>{{cite web |url= http://www.artbangkok.com/?p=30848 |title= ธรรมเนียมการแต่งกายในพระราชพิธีโสกันต์ |author=|date=|work= Art Bangkok |publisher= |accessdate= 22 ตุลาคม 2563}}</ref>
 
ในคติพราหมณ์ไทย พราหมณ์เป็นผู้ตั้ง[[ศาลพระภูมิ]] อิงจากแนวคิดที่[[พระอิศวร]]ประทับอยู่ในวิมานบน[[เขาพระสุเมรุ]]ดุจมณฑลจักรวาล ซึ่ง[[พระภูมิ]]เป็นเทวดาเหมือนกัน จึงตั้งด้วยเสาเดียว ผิดกับศาลเจ้าที่ของ[[ศาสนาผี]]ซึ่งมีสี่เสา<ref>{{cite web |url= https://www.m-culture.go.th/young/ewt_news.php?nid=340&filename=index |title= ความเชื่อเรื่องการตั้งศาลพระภูมิ |author=|date= 13 มกราคม 2559 |work= กระทรวงวัฒนธรรม |publisher= |accessdate= 20 ตุลาคม 2563}}</ref>