ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศาสนาฮินดูในประเทศไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 158:
การบวชของพราหมณ์หลวงต่างจากอินเดีย เพราะทำอย่างการอุปสมบทของ[[พระสงฆ์]]ในศาสนาพุทธ กล่าวคือผู้ที่จะขอบวชพราหมณ์ต้องเอาบริขารไปกราบขอบวชกับพระครูพราหมณ์ เปรียบพระอุปัชฌาย์ แล้วพระครูพราหมณ์จะมอบสายธุรำหรือธุหร่ำ (คือสาย[[ยัชโญปวีต]]) คล้องอย่างอังสะ<ref>''ภารตะ-สยาม ? ผี พราหมณ์ พุทธ ?'', หน้า 43-44</ref> ศึกษาษัฎศาสตร์หรือ[[เวทางค์|เวทางคศาสตร์]] 6 ประการ ได้แก่ ศึกษาศาสตร์, ฉันทศาสตร์, ไวยากรณศาสตร์, นิรุกติศาสตร์, โชยติษศาสตร์ และกัลปศาสตร์<ref name="สารคดี/> และเมื่อเป็นพราหมณ์หลวงแล้ว ก็ต้องไว้ผมมวย ไม่ตัดหรือเล็มผมออก หากทำก็จะถือว่าขาดจากการเป็นพราหมณ์ และจะต้องมัดผมไว้ตลอด ไม่ปล่อยผมในที่สาธารณะนอกเสียจากพระราชพิธีพระบรมศพหรือพระศพเท่านั้น<ref>{{cite web |url= https://www.matichonweekly.com/column/article_63861 |title= นาลิวัน (พราหมณ์) สยายผมทำไม? |author= คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง |date= 9 พฤศจิกายน 2560 |work= มติชนสุดสัปดาห์ |publisher= |accessdate= 12 พฤษภาคม 2563}}</ref> พราหมณ์หลวงยังคงธรรมเนียมกราบพระอย่างโบราณมาตั้งแต่กรุงเก่า เช่นการนุ่งห่มผ้า การใช้ผ้ากราบ และการนั่งกระหย่งไหว้<ref>{{cite web |url= https://www.matichonweekly.com/column/article_77978 |title= ช้าหงส์และพราหมณ์ “ยองๆ ไหว้” ในพระราชพิธีตรีปวายตรียัมปวาย |author= คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง |date= 25 มกราคม 2561 |work= มติชนสุดสัปดาห์ |publisher= |accessdate= 13 พฤษภาคม 2563}}</ref> ใน พ.ศ. 2560 มีพราหมณ์หลวงจำนวน 16 คน<ref name="จารุวรรณ"/><ref name="คณะ"/> พราหมณ์หลวงจะเกษียณออกจากราชการเมื่ออายุ 60 ปี สามารถต่ออายุราชการได้ หรือขอลาออกจากราชการก็ได้ หากประกอบความดีความชอบก็จะได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และบรรดาศักดิ์ชั้นต่าง ๆ<ref name="สารคดี/>
 
นอกจาก[[ภาษาไทย]] พราหมณ์หลวงจะต้องศึกษา[[ภาษาทมิฬ]]และ[[ภาษาสันสกฤต|สันสกฤต]]สำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ตำหรับตำรับตำราทางศาสนาปรากฏทั้ง[[อักษรไทย]] และ[[อักษรคฤนถ์]] บ้างเรียกอักษรเฉียงพราหมณ์ ในอดีตพราหมณ์มีหน้าที่ถวายพระอักษรแก่พระบรมวงศานุวงศ์ รวมทั้งแต่งตำรา และวรรณคดี เช่น ''[[จินดามณี]]'' ซึ่งเป็นตำราเรียนภาษาไทยแบบแรกของไทย<ref name="หน้าที่"/>
 
พราหมณ์หลวงทั้งหมดนับถือ[[ศาสนาพุทธ]] หากแต่บูชาเทพเจ้าฮินดูไปด้วย<ref name="หมี"/> รวมทั้งต้องแสดงความเคารพพระสงฆ์อย่างสูง<ref name="พราหมณ์"/> ปฏิบัติบูชาตาม[[ลัทธิไศวะ]]เป็นหลักเช่นเดียวกับพราหมณ์เพชรบุรีและนครศรีธรรมราช<ref name="พัทลุง"/> ทั้งนี้พราหมณ์หลวงจะมีข้อห้ามในการรับประทานอาหารต่างจากพราหมณ์อินเดียซึ่งส่วนใหญ่เป็น[[มังสวิรัติ]] แต่พราหมณ์ไทยสามารถรับประทานเนื้อสัตว์ได้<ref>{{cite web |url= https://www.matichonweekly.com/column/article_22645 |title= “ตรียัมปวาย – ตรีปวาย” คืออะไร ของสยามและอินเดีย เป็นไฉน |author= คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง |date= 27 มกราคม 2560 |work= ไทยรัฐออนไลน์ |publisher= |accessdate= 20 ตุลาคม 2563}}</ref> พราหมณ์หลวงมีอาหารเฉพาะกลุ่มเช่น [[ปายาส|ข้าวเวทย์]] คือข้าวที่หุงด้วยน้ำอ้อยและนม หรือหุงด้วยกะทิ<ref>{{cite web |url= https://www.matichonweekly.com/column/article_82436 |title= อาหารกับศาสนา : ข้าว |author= คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง |date= 31 กรกฎาคม 2562 |work= มติชนสุดสัปดาห์ |publisher= |accessdate= 12 พฤษภาคม 2563}}</ref> รับประทานเนื้อสัตว์อย่างปลา ไก่ หรือหมู และอาหารห้าธาตุ<ref>{{cite web |url= https://www.facebook.com/UrbanEatTH/posts/897335820619781 |title= พราหมณ์กินอะไร ? |author= Adcharawadee S. |date= 31 กรกฎาคม 2562 |work= Urban Eat |publisher= |accessdate= 12 พฤษภาคม 2563}}</ref> แต่ห้ามกิน[[ปลาไหล]] [[วัว]] [[หนู]] และสัตว์ต้องห้ามตามพระธรรมวินัยของพระสงฆ์ในพุทธศาสนา<ref name="พราหมณ์"/> ในช่วงพระราชพิธีตรียัมพวาย พราหมณ์จะต้องถือพรตรับประทานอาหารมังสวิรัติตลอดพิธีนาน 15 วัน<ref name="สารคดี/>